ยุโรปกดดัน – วันที่ 1 มิ.ย. บีบีซี รายงานว่า บรรดามหาอำนาจยุโรปกำลังกดดันเดนมาร์กและสหรัฐอเมริกา เพื่อต้องการคำตอบจากทั้งสองชาติซึ่งตกเป็นข่าวร่วมกันสอดแนมเหล่านักการเมืองยุโรป รวมถึงนายกรัฐมนตรีเยอรมนี นางอังเกลา แมร์เคิล ซึ่งต้องการคำตอบเช่นกัน

นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ใช้โทรศัพท์ก่อนเข้าร่วมประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ เมื่อ 9 ธ.ค. 2011

REUTERS คำบรรยายภาพ, มีการกล่าวหาว่า นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ตกเป็นเป้าหมายของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ

หลังสื่อท้องถิ่น เดนมาร์ก เรดิโอ กล่าวว่า สำนักข่าวกรองกลาโหมเดนมาร์ก (FE) ร่วมกับสำนักความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NSA) เพื่อรวบรวมข้อมูลจากปี 2555-2557 จากเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ทั้งเยอรมนี ฝรั่งเศส สวีเดน และนอร์เวย์ ซึ่งต่างเรียกร้องคำชี้แจงเช่นกัน แต่ทั้ง FE และ NSA ยังไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ

น.ส.ทรีเนอ บรัมเซิน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์ก ไม่ยืนยันหรือปฏิเสธรายงานดังกล่าว แต่บอกสำนักข่าวเอเอฟพีว่า “การดักฟังอย่างเป็นระบบของพันธมิตรใกล้ชิดเป็นสิ่งยอมรับไม่ได้” ทั้งนี้ น.ส.บรัมเซินไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมในช่วงเวลาที่มีข้อครหาการสอดแนม

French President Emmanuel Macron is seen on a video screen during a joint press conference with German Chancellor Angela Merkel, as part of a virtual Plenary Session of the Franco-German Council of Ministers in Berlin, Germany, May 31, 2021. Michael Sohn/Pool via REUTERS

นางอาร์นา ซูลแบร์ก นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ NRK ว่า “นี่เป็นสิ่งยอมรับไม่ได้ หากประเทศต่างๆ ที่มีความร่วมมือพันธมิตรใกล้ชิดรู้สึกจำเป็นต้องสอดแนมกัน”

ขณะที่ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส กล่าวหลังพูดคุยกับนางแมร์เคิลว่า “นี่เป็นสิ่งยอมรับไม่ได้ระหว่างพันธมิตร และระหว่างพันธมิตรและหุ้นส่วนยุโรปแม้แต่น้อย” ส่วนนางแมร์เคิลเห็นด้วยกับนายมาครง แต่ยังรู้สึกสบายใจที่รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กประณามการกระทำดังกล่าว

 

ทั้งนี้ เดนมาร์กส์ เรดิโอ สัมภาษณ์แหล่งข่าว 9 คน ซึ่งทั้งหมดถูกระบุมีการเข้าถึงข้อมูลลับที่สำนักข่าวกรองกลาโหมเดนมาร์กครอบครอง เปิดเผยว่า NSA เข้าถึงข้อความและการสนทนาทางโทรศัพท์ของบุคคลสำคัญจำนวนหนึ่งด้วยการดักฟังทางเคเบิลอินเตอร์เน็ตเดนมาร์ก ด้วยความร่วมมือกับ FE ภายใต้รหัส “ปฏิบัติการดันแฮมเมอร์” (Operation Dunhammer) ที่อนุญาตให้ NSA ได้ข้อมูลจากการใช้หมายเลขโทรศัพท์ของนักการเมืองเป็นตัวแปรในการค้นหา

นอกจากนางแมร์เคิลแล้ว อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี นายฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ และอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี นายเพียร์ ชไตน์บรึค ผู้นำฝ่ายค้านในเวลานั้น ตกเป็นเป้าสอดแนมเช่นกัน

ข่าวฉาวใกล้เคียงดังกล่าวเคยแดงมาแล้วเมื่อปี 2556 เมื่อนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน หนุ่มอเมริกัน ตีแผ่ข้อมูลรั่วไหลช็อกโลกว่า NSA ดักฟังโทรศัพท์นางแมร์เคิล สะเทือนความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาในสมัยอดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา ต่อมา ทำเนียบขาวไม่ได้ปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมา แต่กล่าวว่า โทรศัพท์ของนางแมร์เคิลไม่ได้ถูกดักฟัง และเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต

สำหรับรายงานข่าวล่าสุด นายสโนว์เดนกล่าวหาประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ อดีตรองประธานาธิบดีในสมัยอดีตประธานาธิบดีโอบามา มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับข่าวฉาวนี้เป็นครั้งแรก “ควรมีข้อกำหนดชัดเจนสำหรับการเปิดเผยต่อสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ ไม่เพียงจากเดนมาร์กแต่ยังรวมถึงพันธมิตรระดับสูงของเดนมาร์กด้วย” นายสโนว์เดนทวีตข้อความ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สื่อเดนมาร์กรายงาน หน่วยข่าวกรองของรัฐช่วยสหรัฐฯ สอดแนมนักการเมืองในยุโรป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน