ชะตากรรมผู้นำที่ถูกรัฐประหารเอเอฟพี รายงานอัพเดตชะตากรรมผู้นำหลายประเทศที่ถูกรัฐประหาร โค่นอำนาจ ผู้นำเหล่านี้ทั้งคนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และผู้นำทหารที่ครองอำนาจมายาวนานจนกองทัพเข้าแทรกแซง

ออง ซาน ซู จี

ผู้นำเมียนมาที่อยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา นางออง ซาน ซู จี ถูกเล่นงานต่อเนื่องนับจากเหตุรัฐประหาร 1 ก.พ. 2564 แม้ประชาชนลุกฮือต่อต้านกองทัพอย่างกล้าหาญแต่ยังไม่อาจพลิกสถานการณ์ได้

ชะตากรรมผู้นำที่ถูกรัฐประหาร

เคยจับมือกันอยู่ดีๆ มิน อ่อง ไหล่ โค่นอำนาจซู จี จนได้ / (FILES) In this file photo taken on December 02, 2015 (Photo by STR / AFP)

กองทัพยัดเยียดข้อหาพิลึกพิลั่นให้นางซู จี รวมทั้ง ละเมิดมาตรการป้องกันการระบาดของโควิด-19 นำเข้าวิทยุสื่อสารอย่างผิดกฎหมาย รับเงินผิดกฎหมายจำนวน 600,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 1,860,000 บาทและทองคำจำนวนหนึ่ง ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลและละเมิดกฎหมายความลับของราชการ

ชะตากรรมผู้นำที่ถูกรัฐประหาร

นางซู จี ถูกนำตัวขึ้นศาล

ศาลเริ่มไต่สวนพิจารณาคดี ที่กรุงเนปยีดอว์ เบิกตัวพยานตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ 14 มิ.ย. และแยกพิจารณาอีกคดีหนึ่งวันอังคารที่ 15 มิ.ย. ข้อหาปลุกปั่นมวลชน ตามกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่พม่าเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษและถูกวิจารณ์ว่าละเมิดเสรีภาพในการพูดและถูกใช้เพื่อกดขี่ทางการเมือง

นอกจากนี้นางซู จียังถูกตั้งอีกหลายข้อหา รวมถึงข้อหารับสินบน ทั้งหมดนี้จะสกัดไม่ให้นางซู จี ลงเลือกตั้งได้อีก และหากศาลตัดสินว่าผิดจริงตามข้อหาทั้งหมด ออง ซาน ซูจี อายุ 75 ปีจะต้องจำคุกกว่า 10 ปี

อ่านข่าว : ซูจีขึ้นศาลอีก-สีหน้าอาการดูไม่ดี

โอมาร์ อัล-บาเชียร์

อดีตประธานาธิบดีซูดาน ผู้ครองตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 30 ปี ถูกกองทัพรัฐประหารเมื่อ ปี 2562 หลังจากประชาชนลุกฮือประท้วงขับไล่อยู่ 4 เดือนส่งผลให้ประชาชนเสียชีวิตกว่า 250 คน
เมื่อพ้นตำแหน่ง

อดีตผู้นำเผด็จการถูกคุมขังในเรือนจำความมั่นคงสูงโกเบอร์ในกรุงคาร์ทูม และถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาคอร์รัปชันแล้ว

ชะตากรรมผู้นำที่ถูกรัฐประหาร

FILE – In this May 18, 2018, file photo, Sudan’s President Omar al-Bashir (Presidential Press Service/Pool via AP, File)

ส่วนข้อหาว่าอยู่เบื้องหลังการปฏิวัติเพิ่งเริ่มการพิจาณาคดีปีที่และความคืบหน้าอย่างล่าช้า การปฏิวัติเมื่อปี 2532 มีกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามสนับสนุนเพื่อเปิดทางให้บาเชียร์ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในประเทศ

หากศาลตัดสินว่ามีความผิดจริง บาเชียร์จะต้องโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ

นอกจากนี้ นายบาเชียร์ยังถูกศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี ตั้งข้อหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติจากการสังหารหมู่ในภูมิภาคดาร์ฟูร์ทางตะวันตกของประเทศเมื่อปี 2546 ซึ่งสหประชาชาติระบุว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 300,000 ราย

โลรองต์ บากโบ

อดีตประธานาธิบดีไอวอรี โคสต์ ถูกขับออกจากตำแหน่งปี 2554 หลังเกิดความขัดแย้งซึ่งนำไปสู่การนองเลือดทำมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 ราย เพราะดื้อแพ่งไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ศึกเลือกตั้ง

ชะตากรรมผู้นำที่ถูกรัฐประหาร

AFP PHOTO

ปัจจุบันนายบากโบถูกจับกุมและส่งคดีต่อไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและกลายเป็นผู้นำรัฐคนแรกที่ขึ้นศาลไอซีซี ถูกคุมขังในเรือนจำเกือบ 10 ปี ก่อนได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี 2562

หลังจากยื่นอุทธรณ์เมื่อต้นปีไม่สำเร็จ บากโบประกาศว่าจะกลับไอวอรี โคสต์วันพฤหัสบดีที่ 17 มิ.ย.นี้

ยาห์ยา จัมเมห์

อดีตผู้นำเผด็จการแกมเบียมายาวนาน 22 ปี ต้องหลบหนีไปอิเควทอเรียลกินี เมื่อปี 2560 หลังจากแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดี เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านขู่ว่าจะใช้กำลังทหารแทรกแซง หากไม่ยอมออกนอกประเทศ

AP PHOTO

รัฐบาลแกมเบียตั้งคณะกรรมาธิการความจริง ความปรองดองและการบูรณะเพื่อสอบสวนข้อหาต่างๆ ซึ่งผลการสอบสวนจะแล้วเสร็จในเดือนหน้า ขณะที่มีกระแสเรียกร้องให้จัมเมห์กลับมาแกมเบียและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

แบลซ กงปาออเร

อดีตประธานาธิบดีบูร์กินาฟาโซ หนีไปไอวอรี โคสต์ เมื่อปี 2557 หลังเกิดการรัฐประหารจากนายกงปาออเรพยายามขยายเวลาอยู่ในอำนาจมานาน 27 ปี

AP PHOTO

หมายจับกงปาออเรออกเมื่อปี 2559 และเมื่อเดือน เม.ย. ทนายความกล่าวว่าจะพยายามให้อดีตผู้นำถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมโธมัส ซานคารา วีรชนนักปฏิวัติที่ถูกกงปาออเรขับไล่

โมฮัมเหม็ด มอร์ซี

ประธานาธิบดีอียิปต์คนแรกที่มาจากการรเลือกตั้งเมื่อปี 2555 ถูกกองทัพโค่นลงจากตำแหน่งเพียง 1 ปีให้หลัง ระหว่างเดินเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญ

จากที่เคยชนะเลือกตั้ง มอร์ซีถูกโค่นอำนาจอย่างน่าสลดใจ – FILE – In this May 20, 2012 file photo, then Muslim Brotherhood’s presidential candidate Mohammed Morsi holds a rally in Cairo, Egypt. (AP Photo/Fredrik Persson, File)

ระหว่างที่ศาลกำลังพิจาณาคดีในปี 2562 มอร์ซีหมดสติและเสียชีวิตลง ซึ่งสหประชาชาติกล่าวว่าสภาพในเรือนจำที่โหดร้ายอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย และน้องสาวของนายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อปี 2549 ประสบชะตาเดียวกับพี่ชาย เมื่อถูกกองทัพยึดอำนาจเมื่อปี 2557 หลังเกิดการประท้วงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

FILE PHOTO: Ousted former Thai PM Yingluck Shinawatra / REUTERS/Jorge Silva/File Photo

น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกตัดสินจำคุกเมื่อปี 2560 ฐานเพิกเฉยให้มีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว แต่เจ้าตัวออกนอกประเทศไปก่อน

ต่อมา ปี 2562 นิตยสารเซอร์เบียฉบับหนึ่งเผยแพร่เอกสารราชการยืนยันว่ายิ่งลักษณ์ได้รับสิทธิเป็นพลเมืองเซอร์เบียแล้ว

……………………….

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน