ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและสถาบันวิจัยมะเร็งลุดวิกที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal for Immuno Therapy of Cancer ทำให้เกิดความหวังครั้งใหม่แห่งการรักษาโรคมะเร็ง

เมื่อวันที่ 3 กันยายน เดอะไทมส์ รายงาน นักวิจัยที่อยู่เบื้องหลังการผลิตวัคซีนต้านไวรัสโควิด 19 ได้พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับวัคซีนที่สามารถ “ปฏิวัติ” วงการรักษามะเร็งได้

ผลการวิจัยหลังจากทดสอบการฉีดวัคซีนในหนูพบว่า วัคซีนสามารถเพิ่มที-เซลล์ที่ต้านการเติบโตของมะเร็งและเพิ่มอัตราการรอดชีวิต เมื่อควบคู่ไปกับการบำบัดอื่น ๆ สามารถเปลี่ยนระบบภูมิคุ้มกันให้ต่อต้านมะเร็งได้ ซึ่งจะทำทดลองวัคซีนชนิดนี้ครั้งแรกกับผู้ป่วย 80 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก (Non-small cell lung cancer) 2 โดสในปลายปีนี้

ทีมวิจัยกล่าวว่า วัคซีนรักษามะเร็ง ใช้เทคโนโลยีไวรัสเป็นพาหะ ซึ่งเป็นการตัดต่อทางพันธุกรรมของไวรัสหรือเรียกว่า ไวรัลเวกเตอร์ (Viral Vector) เช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโควิด 19 อย่าง อ็อกซ์ฟอร์ด-แอสตราเซนากา

วัคซีนต้านโควิดจะดัดแปลงพันธุกรรมพร้อมส่งไวรัสที่ไม่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างโปรตีนและภูมิต้านท้านต่อสู้กับเชื้อไวรัส แต่ในส่วนของวัคซีนต้านมะเร็งจะดัดแปลงสารพันธุกรรม เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มที-เซลล์และตอบสนองต่อโมเลกุลที่เรียกว่า MAGE Proteins ซึ่งพบได้ในเซลล์มะเร็ง

ศาสตราจารย์เอเดรียน ฮิลล์ นักวัคซีนวิทยา ผู้อำนวยการสถาบันกล่าวว่า “วัคซีนใหม่นี้มีศักยภาพที่จะปฏิวัติการรักษาโรคมะเร็ง

เบอนัวต์ ฟานเดน ไอน์ ศาสตราจารย์ด้านภูมิคุ้มกันต่อมะเร็งแห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดกล่าวว่า “โปรตีนประเภท MAGE เป็นโมเลกุลบนผิวเซลล์มะเร็งจะเข้ามาทำลายเซลล์ภูมิคุ้มกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการทำให้แอนติเจนประเภท MAGE ไม่ปรากฏบนผิวของเซลล์ปกติ เพื่อจะช่วยลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันโจมตีเซลล์ที่แข็งแรง

ขอบคุณที่มาจาก The Times News Sky

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน