กลุ่มคนรักแมวในญี่ปุ่น – วันที่ 14 ก.ย. เอเอฟพี รายงานว่า บรรดาคนรักแมวชาวญี่ปุ่นผู้ปรารณาให้น้องเหนียวแมวมีชีวิตยื่นยาวขึ้น ร่วมกันบนโลกออนไลน์ บริจาคเงินเป็นยอดมากกว่า 60 ล้านบาท ให้คณะนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกรุงโตเกียว เดินหน้าวิจัยการป้องกันโรคไตในแมว หลังคณะนักวิจัยดังกล่าวไม่ได้รับเงินทุนมหาวิทยาลัยเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่ดีอันเป็นผลการระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว

(Photo by Yoko AKIYOSHI / AFPBB News / AFP) / Japan OUT / TO GO WITH JAPAN-ANIMAL-SCIENCE-CATS-OFFBEAT — RESTRICTED TO EDITORIAL USE – MANDATORY CREDIT – “AFP PHOTO / AFPBB News / Yoko AKIYOSHI”

ชะตากรรมทางสุขภาพของน้องเหมียวมีการเขียนเป็นบทความโดยสำนักข่าวจีจี เพรส ของญี่ปุ่น ที่กลายเป็นไวรัลตั้งแต่เดือนก.ค.ปีนี้ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังบทความดังกล่าวเผยแพร่ออกไป มีคนบริจาคเงินแบบไม่ประสงค์ออกนาม แก่คณะนักวิจัยไปแล้วราว 3,000 รายการ

จากนั้น มีการบริจาคเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 รายการ ในเวลาเพียงไม่กี่วัน มากกว่าจำนวนรายการบริจาคทั้งหมดที่มหาวิทยาลัยมักได้รับในแต่ละปี และจนถึงตอนนี้คือกลางเดือนก.ย. ยอดบริจาคแตะ 207 ล้านเยน หรือเกือบ 62 ล้านบาท

 

ผู้หญิงคนหนึ่งบริจาคเงิน 20 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 650 บาท โพสต์ข้อความว่า “ฉันสูญเสียแมวที่ฉันรักจากโรคไตเมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว… ฉันหวังว่า การวิจัยนี้จะคืบหน้าและช่วยแมวหลายชีวิตอยู่ได้โดยไร้โรคภัย”

ส่วนอีกคนบริจาคเงิน 90 ดอลลาร์ หรือราว 3,000 บาท บอกว่า “ฉันเพิ่งได้ลูกแมว ฉันบริจาคเงินด้วยความหวังว่า จะทันเวลาสำหรับแมวตัวนี้”

(Photo by Yoko AKIYOSHI / AFPBB News / AFP) / Japan OUT / TO GO WITH JAPAN-ANIMAL-SCIENCE-CATS-OFFBEAT — RESTRICTED TO EDITORIAL USE – MANDATORY CREDIT – “AFP PHOTO / AFPBB News / Yoko AKIYOSHI”

แมวที่เลี้ยงในบ้านและแมวสายพันธุ์ลูกพี่ลูกน้องที่มีขนาดใหญ่กว่าในป่า มักมีปัญหาเกี่ยวกับไต เนื่องจากพันธุกรรมไม่สามารถกระตุ้นโปรตีนหลักที่ค้นพบโดยนักวิจัยในกรุงโตเกียว โปรตีนดังกล่าวเรียกว่า apoptosis inhibitor of macrophage (ตัวยับยั้งการตายของเซลล์มาโครฟาจ) หรือมีชื่อย่อ AIM ช่วยขจัดเซลล์ตายแล้ว และของเสียงอื่นๆ ในร่างกาย ป้อนกันไตจากการอุดตัน

คณะนักวิจัยนำโดยศาสตราจารย์ภูมิคุ้มกันวิทยา โทรุะ มิยาซากิ กำลังหาวิธีผลิตโปรตีนดังกล่าวในปริมาณและคุณภาพคงที่ โดยแสดงความหวังที่จะพัฒนาวิธีรักษาแบบใหม่ที่สามารถเพิ่มอายุคาดเฉลี่ยของแมวในปัจจุบันเป็นสองเท่าได้ราว 15 ปี

 

“ผมหวังว่าในที่สุดสัตวแพทย์จะฉีดโปรตีนแบบนี้ทุกปีเหมือนฉีดวัคซีน จะดีหากฉีดปีละ 1-2 โดส เป็นครั้งแรกที่ผมเข้าใจว่างานวิจัยประเดิมของผมเป็นที่คาดหวังมากเพียงใด” ศ.มิยาซากิกล่าว

ทั้งนี้ คณะนักวิจัยของศ.มิยาซากิเคยการวิจัยการทำงานของ AIM ในร่างกาย และเผยแพร่เมื่อปี 2559 ในวารสารเนเจอร์ เมดิซีน และตอนนี้ยังพัฒนาอาหารสัตว์ที่มีสารช่วยกระตุ้น AIM ที่ไม่ทำงานในเลือดของแมวด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สุดระทึก! น้องแมวห้อย เตรียมร่วง สุดท้ายรับทัน เฮลั่นทั้งสนาม ยิ่งกว่าบอลเข้าประตู

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน