ทุ่ม 500 ล้านคืนชีพ “แมมมอธ” หวังฟื้นขั้วโลกจากวิกฤตสภาพอากาศ

ทุ่ม 500 ล้านคืนชีพ – วันที่ 14 ก.ย. การ์เดียน รายงานความพยายามทางวิทยาศาสตร์ที่จะนำ “ช้างแมมมอธ” สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

รายงานระบุว่า บริษัท โคลอสซอล บริษัทด้านชีววิทยาศาสตร์และพันธุศาสตร์ที่ก่อตั้งโดยนายเบน แลมม์ เจ้าของธุรกิจด้านเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ กับดร.จอร์จ เชิร์ช ศาสตราจารย์ด้านพันธุศาสตร์จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด และผู้บุกเบิกแนวทางการตัดแต่งยีน ประกาศทุ่งงบประมาณ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 500 ล้านบาท

หวังฟื้นขั้วโลกจากวิกฤตสภาพอากาศ

The scientists also believe introducing herds of elephant-mammoth hybrids to the Arctic tundra may help restore the degraded habitat and combat some of the impacts of the climate crisis. For example, by knocking down trees, the beasts might help to restore the former Arctic grasslands. (Science Photo Library via AFP)

เบื้องต้นทีมนักวิทยาศาสตร์จะเพาะพันธุ์ลูกผสมช้างแมมมอธด้วยการสร้างตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการที่มีดีเอ็นเอของช้างแมมมอธ จุดเริ่มต้นของโครงการจะนำเซลล์เนื้อเยื่อผิวหนังจากช้างเอเชียมาปรับเปลี่ยนให้เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่หลากหลายมากขึ้น และเป็นเซลล์รองรับดีเอ็นเอของแมมมอธ

ยีนเฉพาะที่รับผิดชอบในการกำหนดลักษณะขนของแมมมอธ ชั้นไขมันที่เป็นฉนวนและระบบร่างกายส่วนอื่นที่ใช้ในการปรับตัวต่อสภาพอากาศหนาวจัดจะถูกระบุโดยเปรียบเทียบจีโนมของแมมมอธซึ่งสกัดจากซากช้างที่พบแช่แข็งอยู่ใต้ดิน

จากนั้นตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอจะถูกนำไปฝักเลี้ยงในแม่ช้างอุ้มบุญหรืออาจเพาะเลี้ยงในครรภ์เทียม และหากกระบวนการต่างๆ เป็นไปตามการคาดการณ์ นักวิจัยหวังว่าจะได้ลูกช้างแมมมอธพันธุ์ผสมกลุ่มแรกภายในระยะเวลา 6 ปี

ทุ่ม 500 ล้านคืนชีพ

In ongoing research, Dr. Church is using IDT oligonucleotides, high-quality, double-stranded DNA, to explore the de-extinction of the woolly mammoth. “We use it for just about every project,” said Dr. Church about IDT’s synthetic DNA.

“เป้าหมายของเราคือการเพาะพันธุ์ช้างที่สามารถทนต่ออากาศหนาวเย็น มันจะมีลักษณะและพฤติกรรมเหมือนแมมมอธ ไม่ใช่เพราะเราพยายามหลอกใคร แต่เพราะเราต้องการช้างในลักษณะเทียบเท่ากับช้างแมมมอธซึ่งมีความสุขอยูในอุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส และทำทุกสิ่งที่ช้างและแมมมอธทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้แรงล้มต้นไม้” ศาสตาจารย์เชิร์ชระบุ

โครงการนี้อยู่ในกรอบความพยายามเพื่ออนุรักษ์ช้างเอเชียซึ่งถูกจัดสถานะเป็นสัตว์เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ด้วยการเพิ่มคุณลักษณะที่จะช่วยให้ช้างเอเชียเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตในแถบอาร์กติกที่รู้จักกันในชื่อที่ราบกว้างใหญ่แมมมอธ

นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการนำฝูงช้างพันธุ์ผสมแมมมอธเข้าไปอยู่อาศัยในทุ่งหิมะแถบขั้วโลอาจช่วยฟื้นฟูความเสื่อมโทรมซึ่งบางส่วนเป็นผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

แต่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ทุดคนที่เชื่อว่าการคืนถิ่นช้างแมมมอธพันธุ์ผสมซึ่งเป็นการแทรกแซงระบบธรรมชาติของโลกขนาดใหญ่ หรือจีโอเอ็นจิเนียร์ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้

หวังฟื้นขั้วโลกจากวิกฤตสภาพอากาศ

Colossal cofounders Ben Lamm (left) and George Church (right) Image Credit: Courtesy of Colossal

ดร.วิกตอเรีย เฮอร์ริดจ์ นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ กล่าวว่า “ขนาดทดลองที่ต้องทำนี้มีขนาดใหญ่มาก คุณกำลังพูดถึงแมมมอธหลายแสนตัวซึ่งแต่ละตัวใช้เวลาตั้งท้อง 22 เดือน และ 30 ปีกว่าจะโตเต็มที่”

ศาสตราจารย์แกเรธ ฟีนิกซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชและนิเวศวิทยาการเปลี่ยนแปลงระดับโลก มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ กล่าวว่า

“ในขณะที่เราต้องการแนวทางต่างๆ มากมายเพื่อหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรายังจำเป็นต้องเริ่มวิธีแก้ปัญหาด้วยความรับผิดชอบเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียหายที่ไม่ได้ตั้งใจ นั่นเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ในแถบอาร์กติกซึ่งมีระบบนิเวศที่แตกต่าง”

“ตัวอย่างเช่น แมมมอธ ถูกเสนอเป็นวิธีแก้ปัญหาเพื่อชะลอการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว เนื่องจากพวกมันจะกำจัดต้นไม้ ทำให้พื้นดินแน่นขึ้น และเปลี่ยนภูมิประเทศเป็นทุ่งหญ้า ซึ่งจะช่วยให้พื้นดินเย็นลงได้ อย่างไรก็ตาม เราทราบดีว่าในพื้นที่ป่าอาร์กติกซึ่งมีต้นไม้และตะไคร่น้ำนั้น เป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องชั้นดินเยือกแข็งคงตัวเช่นกัน การกำจัดต้นไม้และทำลายตะไคร่น้ำจึงเป็นสิ่งสุดท้ายที่อยากทำ” ศาสตราจารย์ฟีนิกซ์ระบุ

ทุ่ม 500 ล้านคืนชีพ

AFP

ทุ่ม 500 ล้านคืนชีพ

This handout illustration by Nature magazine, represents a reconstruction of the steppe mammoths that preceded the woolly mammoth, based on the genetic knowledge we now have from the Adycha mammoth. (AFP)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน