เอพี รายงานภาพชีวิตสุดพลิกผันไปมาของ นางออง ซาน ซู จี ขณะเผชิญดรามาบทใหม่ หลังจากศาลพิเศษเมียนมาตัดสินจำคุกถึง 4 ปี ในข้อหาการยุยงปลุกปั่น และการฝ่าฝืนมาตรการควบคุมโควิด-19 และยังมีอีกหลายข้อหาที่ยังไม่ได้ตัดสิน

FILE – นางซู จี ประธานาธิบดี วิน มินต์ (กลาง) และดร.มโย ออง ประธานสภาเนปยีดอว์ ถูกนำตัวขึ้นศาล เมื่อ 24 พ.ค. 2021. (Myawaddy TV via AP, File)

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อเดือน .. 2563 ซึ่ง จะทำให้ซู จีและพรรคเอ็นแอลดีกลับได้บริหารประเทศเป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี

FILE – นางซู จี และพลเอกอาวุโส มิน อ่อง ไหล่ ที่สนามบินกรุงเนปยีดอว์ เมื่อ 6 พ.ค. 2016. (AP Photo/Aung Shine Oo, File)

หลังจากบ้านเมืองเพิ่งจะมีเสถียรภาพและเริ่มมีบรรยากาศประชาธิปไตยในระยะสั้นๆ นับจากที่กองทัพปกครองมานานหลายทศวรรษ กระทั่งกองทัพยึดอำนาจอีกเมื่อวันที่ 1 .. 2564 พร้อมทั้งจับกุมซู จีและคนอื่นๆ ผลักให้เมียนมาตกอยู่ในความโกลาหล หลังจาก

สูงสุดและต่ำสุด

ชะตาชีวิตของซู จีเคยสูงสุด ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและตกต่ำที่สุด ถูกกักบริเวณในบ้าน 15 ปีในยุคที่รัฐบาลทหารปกครอง

FILE – อเล็กซานเดอร์ อริส ลูกชายนางซู จี รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แทนแม่ เมื่อ 10 ธ.ค. 1991 (พ.ศ.2534) (AP Photo/Bjoern Sigurdsoen, File)

นายพลออง ซาน บิดา ผู้เป็นวีรบุรุษปลดแอกประเทศจากอังกฤษ ถูกสังหารในปี 2490 ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเพียงไม่กี่เดือน

ซู จี ใช้ชีวิตในช่วงที่จะเริ่มผู้ใหญ่ด้วยการแต่งงานกับนายไมเคิล อริส นักวิชาการมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมีบุตรด้วยกัน 2 คน

FILE – ออง ซาน ซู จี เมื่อครั้งเป็นเด็กน้อย อายุ 2 ขวบ อยู่พร้อมหน้าครอบครัว พ่อ แม่ และพี่ชาย (Kyodo News via AP, File)

เธอเริ่มคลุกคลีในเส้นทางการเมืองเมื่อปี 2531 ขณะที่กลับมาดูแลแม่ที่ป่วยหนักซึ่งขณะนั้นเกิดการประท้วงใหญ่ต่อต้านระบอบเผด็จการทหารของนายพลเน วิน

ชนะการเลือกตั้งตามด้วยถูกขัง

ซู จี ช่วยก่อตั้งพรรคเอ็นแอลดีและชนะการเลือกตั้งถล่มทลายในปี 2533 แต่หนึ่งปีให้หลัง นางซู จีกลับถูกกักบริเวณในบ้านพักเป็นเวลา 15 ปี จาก 22 ปีนับตั้งแต่เดินทางกลับบ้านเกิด

FILE – นางซู จีนำมวลชนชุมนุมที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อ 14 ต.ค. 1991 หรือพ.ศ. 2534 (The Nation via AP, File)

ชื่อเสียงขจรขจายในปี 2534 เพราะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ต้องใช้เวลาถึง 21 ปีกว่าจะได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งได้นั่งในรัฐสภา

FILE – นางซู จี ได้รับการปล่อยตัววันแรก เมื่อ 11 ก.ค. 1995 หรือพ.ศ. 2538 (AP Photo/Stuart Isett, File)

FILE – ผู้สนับสนุนนับพันคนมายินดีที่นางซู จี ได้รับอิสรภาพ เมื่อ 11 ก.ค. 1995. AP Photo/Stuart Isett, File)

FILE – นางซู จี เปิดแถลงข่าวที่บ้านพัก หลังถูกกักบริเวณนาน 6 ปีและได้รับอิสรภาพรอบแรก เมื่อ 14 ก.ค. 1995 (AP Photo/Anat Givon, File)

FILE – นางซู จี ปีนรั้วมาพบปะผู้สนับสนุนหน้าบ้าน เมื่อ 16 ก.ค. 1995. . (AP Photo/Anat Givon, File)

FILE – นางซู จี ทักทายผู้สนับสนุนนับพันคนหน้าประตูรั้วบ้าน เมื่อ 11 ก.ค. 1995 (AP Photo/Stuart Isett, File)

FILE – นางซู จี เปิดแถลงข่าวที่บ้านพัก เมื่อ 23 พ.ค. 1996. หรือ พ.ศ. 2539 แต่จากนั้นในปีเดียวกันนี้ถูกกักบริเวณอีก (AP Photo/Richard Vogel, File). (AP Photo/Richard Vogel, File)

FILE – นางซู จี ให้สัมภาษณ์ที่บ้านพัก เมื่อ 12 ก.ค. 1996 วาระครบรอบที่พ้นจากการถูกกักบริเวณในบ้านพักครบ 1 ปี AP Photo/Richard Vogel, File)

FILE – นางซู จี เดินทางมาถึงพรรคเอ็นแอลดี เมื่อ 2 เม.ย. 2012 หรือ พ.ศ.2555 (AP Photo/Khin Maung Win, File)

การชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายปี 2558 เปิดทางให้พรรคเอ็นแอลดีทรงอำนาจ แต่ตัวเธอเองถูกกีดกันด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยกองทัพไม่ให้เป็นประธานาธิบดี จึงตั้งตำแหน่งใหม่ที่ปรึกษาแห่งรัฐให้ผู้นำประเทศ

FILE – นางซู จี ในงานแถลงข่าว หลังพบปะนายเนส์ สโตลเทนเบิร์ก นายกฯ นอร์เวย์ ที่บ้านพักรับรองของรัฐบาลนอร์เวย์ในกรุงออสโล เมื่อ 15 มิ.ย. 2012. (AP Photo/Markus Schreiber, File)

FILE – นางซู จี เมื่อครั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านเข้าประชุมสภา เมื่อ 14 ส.ค. 2012. (AP Photo/Khin Maung Win, File)

FILE – นางซู จีเยือนทำเนียบขาว และพูดคุยกับนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ เมื่อ 19 ก.ย. 2012. AP Photo/Susan Walsh, File)

ดิ่งด้วยปมโรฮิงยาก่อนถูกโค่น

เสียงชื่นชมจากนานาชาติที่ยกย่องให้เธอเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยซาลง เมื่อนางซู จี ขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เดือน .. 2562 เพื่อต่อสู้ข้อกล่าวหาว่ากองทัพสังหารชาวมุสลิมโรฮิงยาทางตะวันตกของรัฐยะไข่อย่างเหี้ยมโหดเมื่อปี 2560

FILE – นางซู จีขึ้นกล่าวต่อคณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในการไต่สวนคดีโรฮิงยา เมื่อ 11 ธ.ค. 2019 หรือ พ.ศ.2562 (AP Photo/Peter Dejong, File)

การเลือกตั้งเดือน .. 2563 พรรคเอ็นแอลดีได้ที่นั่งมากกว่าการเลือกตั้งเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่กองทัพไม่ยอมรับการเลือกตั้งและยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 .. 2564 จับนางซู จี ประธานาธิบดี วิน มินต์ และแกนนำพรรคเอ็นแอลดี ดำเนินคดี

ซัดกระบวนการศาลพม่า

มิเชล บาเชอเลต์ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวถึงกระบวนการดำเนินคดีต่อนางซู จี ว่าของปลอม

ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการกลุ่มฮิวแมน ไรตส์ วอตช์ กล่าวว่า นี่เป็นแค่การเริ่มต้นของกระบวนการที่จะเล่นงานนางซู จี ไม่ให้ได้รับอิสรภาพอีก

นายแอนโธนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า รัฐบาลทหารพม่ายังคงไม่เคารพหลักนิติธรรม และยังคงใช้ความรุนแรงต่อประชาชนชาวพม่า สิ่งเหล่านี้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนที่จะต้องฟื้นฟูให้พม่ากลับสู่เส้นทางประชาธิปไตย

ส่วนจีน ยังคงวางตนเป็นมิตรกับผู้นำทหารพม่า และไม่วิพากษ์วิจารณ์ใดๆ เกี่ยวกับคำพิพากษาครั้งนี้ แต่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันสานต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย

…………..

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ศาลจำคุกซูจี 4 ปี ประเดิมคดีแรกใน11ข้อหา ปธน.วินมินต์โดนเท่ากัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน