ออสซี่พบ – วันที่ 27 ม.ค. บีบีซี รายงานว่า คณะนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียค้นพบวัตถุหมุน (spinning object) ที่ไม่รู้จักในทางช้างเผือก ซึ่งอ้างว่าไม่เหมือนที่เคยเห็นมาก่อน โดยสังเกตว่าวัตถุดังกล่าวปล่อยระเบิดพลังงานวิทยุมหาศาลเป็นเวลา 1 นาทีเต็ม ทุกๆ 18 นาที

ออสซี่พบ

ภาพแสดงทางช้างเผือกเมื่อมองจากพื้นโลก โดยมีไอคอนรูปดาวแสดงตำแหน่งของวัตถุที่ปล่อยพลังงานวิทยุ ICRAR/CURTIN

วัตถุดังกล่าวค้นพบครั้งแรกโดยนายไทโรน โอโดเฮอร์ตี นักศึกษาเกียรตินิยม มหาวิทยาลัยเคอร์ติน ในเขตชนบทห่างไกลของออสเตรเลียตะวันตก ที่รู้จักกันในชื่อเมอร์ชิสัน ไวลด์ฟีลด์ อาร์เรย์ (Murchison Widefield Array) โดยใช้กล้องโทรทรรศน์และเทคนิคใหม่ๆ ที่นักศึกษาคนนี้พัฒนาขึ้นมา

นายโอโดเฮอร์ตีเป็นส่วนหนึ่งของคณะนักวิจัยที่นำโดยดร.นาตาชา เฮอร์ลีย์-วอล์คเกอร์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จากโหนดมหาวิทยาลัยเคอร์ตินแห่งศูนย์วิจัยดาราศาสตร์วิทยุนานาชาติ (ICRAR)

 

ข่าวประชาสัมพันธ์ของ ICRAR เผยแพร่คำพูดของดร.เฮอร์ลีย์-วอล์คเกอร์ที่ระบุว่า “วัตถุปรากฏขึ้นและหายไปในช่วง 2-3 ชั่วโมงระหว่างการสังเกตของเรา นั่นเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดเลย นั่นค่อนข้างน่ากลัวสำหรับนักดาราศาสตร์เพราะไม่รู้อะไรเลยในท้องฟ้าที่เกิดขึ้นเช่นนั้น”

ข่าวประชาสัมพันธ์ของ ICRAR ยังเผยแพร่คำพูดของดร.เจมมา แอนเดอร์สัน นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์อีกคน ที่ระบุว่า “วัตถุที่เปิดการปล่อยพลังงานเป็นเวลา 1 นาทีเต็ม เป็นสิ่งที่แปลกจริงๆ”

 

ICRAR เสริมว่า หลังสืบค้นข้อมูลย้อนหลังหลายปี ทีมงานสามารถระบุได้ว่า วัตถุดังกล่าวอยู่ห่างจากโลกประมาณ 4,000 ปีแสง มีความสว่างอย่างไม่น่าเชื่อ และมีสนามแม่เหล็กที่แรงมาก

“การตรวจจับเพิ่มเติมจะบอกนักดาราศาสตร์ว่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียวที่หายากหรือประชากรใหม่จำนวนมากที่เราไม่เคยสังเกตมาก่อน เรารอทำความเข้าใจวัตถุนี้แล้วขยายการค้นหาข้อมูลต่อไป” ดร.เฮอร์ลีย์-วอล์คเกอร์ระบุ

 

ทั้งนี้ วัตถุที่เปิดและปิดการปล่อยพลังงานในจักรวาลไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่สำหรับนักดาราศาสตร์ซึ่งเรียกวัตถุดังกล่าวว่า transients หมายถึงการเกิดขึ้นชั่วพริบตา

ทฤษฎีเกี่ยวกับวัตถุลักษณะนี้ยังมีดาวนิวตรอน หรือดาวแคระขาว ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกซากของดาวที่ยุบตัว แต่การค้นพบส่วนใหญ่ยังเป็นปริศนาจนถึงวันนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

นักดาราศาสต์คาด “ขยะขิ้นส่วน” จรวดสเปซเอ็กซ์ “ชนดวงจันทร์” เดือนมีนาคมนี้

กล้องเจมส์เว็บบ์เข้าสู่วงโคจรสุดท้ายที่ตำแหน่ง L2 เดินทางถึงจุดหมายโดยสวัสดิภาพ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน