วันที่ 2 ก.พ. ซีเอ็นเอ็น รายงานการค้นพบ กระดูกสันหลังมนุษย์ ที่นำมาเสียบไม้ต้นกกเกือบ 200 ตัวอย่างในเปรู ประเทศในอเมริกาใต้ เผยให้รู้วิธีการรักษาสภาพร่างกายผู้วายชนม์ที่ไม่เคยมีการบันทึกมาก่อนในภูมิภาคดังกล่าว

ทีมนักวิจัยนานาชาติที่ทำงานในหุบเขา ชินชา (Chincha) บนชายฝั่งทางใต้ของเปรู พบ กระดูกสันหลังมนุษย์ เสียบไม้ในหลุมฝังศพชนพื้นเมืองขนาดใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ ชูย์ปัส (chullpas) ซึ่งมีอายุย้อนกลับไปหลายร้อยปีถึงช่วงที่เจ้าอาณานิคมยุโรปยังอยู่ในภูมิภาค

a) Chullpa with roof ;b) field stone chullpa with opening ;c) interior platform in a chullpa ;d) chullpa with field stone and adobe materials (photographs by J.L.Bongers)
Image provided as press handout from Antiquity Publications Ltd. Obtained by Hannah Ryan.

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารโบราณคดี แอนติกควิตี (Antiquity) เมื่อวันอังคารที่ 1 ก.พ. ระบุว่า ในจำนวน กระดูกสันหลังมนุษย์ เสียบไม้ทั้งหมด 192 แท่ง นักโบราณคดีพบว่า ในเกือบทุกอัน กระดูกสันหลังมาจากคนๆ เดียวกัน

คณะนักวิจัยกล่าวว่า ผู้ใหญ่และเยาวชนในชุมชนพื้นเมืองได้รับการรักษาสภาพร่างกายหลังเสียชีวิตที่ไม่เหมือนใครนี้ และคิดว่ากระดูกสันหลังเสียบไม้สร้างขึ้นระหว่างค.ศ. 1450-1650 ช่วงเวลาที่จักรวรรดิอินคาล่มสลาย และการล่าอาณานิคมของยุโรปเริ่มแพร่หลายและครอบงำในเปรู

จาค็อบ แอล. บอนเจอร์ส ผู้นำการเขียนการศึกษาดังกล่าว ระบุว่า ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นความปั่นป่วนในประวัติศาสตร์หุบเขาชินชา เนื่องจากโรคระบาดและความอดอยากทำลายล้างชาวบ้านในเวลานั้น

ก่อนยุโรปเข้ามาเปรู หุบเขาชินชาเป็นที่ตั้งราชอาณาจักรชินชาตั้งแต่ค.ศ. 1000-1400 และมีการสถาปนาพันธมิตรกับจักรวรรดิอินคาที่ทรงพลังในเวลานั้น แต่แม้ว่าเจ้าอาณานิคมจะเข้ามากวาดล้างภูมิภาคอเมริกาใต้แห่งนี้ ประชากรกลับล้มหายตายจาก โดยจำนวนหัวหน้าครัวเรือน (heads of household) ลดลงจากมากกว่า 30,000 คน ในค.ศ. 1533 เหลือเพียง 979 คน ในค.ศ. 1583

บอนเจอร์ ผู้ร่วมวิจัยอาวุโสโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยอีสแองเกลีย ในสหราชอาณาจักร ยังบันทึกข้อมูลการขโมยหลุมฝังศพหลายร้อยหลุมในภูมิภาคนี้ในการวิจัยครั้งก่อนหน้าที่ว่า “การปล้นสะดมหลุมศพของชนพื้นเมืองแพร่หลายไปทั่วหุบเขาชินชาในยุคอาณานิคม จุดประสงค์หลักคือเพื่อกำจัดของใช้ที่ทำด้วยทองคำและเงิน และเกิดขึ้นพร้อมกับความพยายามของยุโรปในการขจัดการปฏิบัติทางศาสนาชนพื้นเมืองและประเพณีงานศพ”

Vertebrae-on-post inserted into a cranium, as found within a chill-a. (Photographs by J.L. Bongers)
Image provided as press handout from Antiquity Publications Ltd. Obtained by Hannah Ryan.

ผลการวิเคราะห์ กระดูกสันหลังมนุษย์ เสียบไม้ชี้ว่า อาจถูกสร้างมาเพื่อบูรณะผู้วายชนม์จากการถูกปล้นสะดมหลุมศพ และการวัดอายุด้วยเรดิโอคาร์บอนโดยทีมนักวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีการนำ กระดูกสันหลังมนุษย์ เสียบไม้ต้นกกที่เกิดขึ้นหลังการฝังศพครั้งแรก

สำหรับชนพื้นเมืองหลายกลุ่มในหุบเขาชินชา ร่างกายสมบูรณ์หลังความตายมีความสำคัญมาก จากการศึกษาพบว่า ชนพื้นเมืองในภูมิภาคนี้เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้วายชนม์ที่ไม่เหมือนใคร เช่น ชาวชินชอร์รอ ที่พัฒนาเทคนิคที่รู้จักเป็นครั้งแรกสำหรับการทำมัมมีเทียม หลายพันปีก่อนชาวอียิปต์โบราณจะประกอบพิธีฝังศพแบบนี้

นอกจากนี้ กลุ่มชนพื้นเมืองต่างๆ กอบกู้สิ่งที่ทำได้จากร่างกายคนตายที่ถูกทำลายเพื่อสร้างวัตถุทสงพิธีกรรมขึ้นมาใหม่ หลังมัมมี่ในพื้นที่เทือกเขา แอนเดส (Andes) ถูกนักล่าอาณานิคมของยุโรปทำลาย

กระดูกสันหลังมนุษย์ เสียบไม้ที่พบในหุบเขาชินชาจึงอาจเป็นความพยายามคล้ายกัน เพื่อบูรณะร่างกายคนตายที่เสียหายหลังถูกปล้นสะดม

 

Hundreds of human spines found threaded onto posts in Peru Image provided as press handout from Antiquity Publications Ltd. Obtained by Hannah Ryan.

“พิธีกรรมมีบทบาทสำคัญในชีวิตทางสังคมและศาสนา แต่สามารถโต้แย้งกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาการพิชิตอาณานิคมต่างๆ ซึ่งจะมีการสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจใหม่ การค้นพบเหล่านี้ตอกย้ำว่า หลุมฝังศพเป็นพื้นที่หนึ่งที่ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร” บอนเจอร์สกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

คนงานวางท่อก๊าซในเปรูพบ “กระดูกมนุษย์” พร้อมข้าวของโบราณ อายุ 800 ปี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน