มองโกเลียในพบ “อุโมงค์ใต้ดิน” ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เจอสุสาน-หยก-ของเก่าเพียบ

มองโกเลียในพบ “อุโมงค์ใต้ดิน” – วันที่ 8 ก.พ. ซินหัว รายงานว่า สถาบันวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ทางตอนเหนือของ ประเทศจีน เปิดเผยการค้นพบซากปรักหักพังของ อุโมงค์ใต้ดิน ยุคก่อนประวัติศาสตร์

มองโกเลียในพบ “อุโมงค์ใต้ดิน”

Aerial photo provided by the National Cultural Heritage Administration on Dec. 29, 2020 shows the excavation area of an ancient stone city site in north China’s Inner Mongolia Autonomous Region. (The National Cultural Heritage Administration/Handout via Xinhua)

ซากอุโมงค์ใต้ดินดังกล่าวตั้งอยู่ในเมืองหินโบราณที่อำเภอชิงสุ่ยเหอ มีพื้นที่ประมาณ 1.38 ล้านตารางเมตร เป็นของวัฒนธรรมหลงชาน อารยธรรมปลายยุคหินใหม่ในพื้นที่ตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำเหลือง

ถูกค้นพบพร้อมกับซากปรักหักพังกว่า 20 แห่ง ครอบคลุมประตูเมือง กำแพงเมือง ฐานรากสิ่งปลูกสร้าง สุสาน หยก เครื่องปั้นดินเผา และวัตถุที่ทำจากกระดูก

ซากอุโมงค์มีทางเดินยาวและแคบที่ความลึก 5-6 เมตร กว้างประมาณ 1-3 เมตร สูงราว 2 เมตร และมียอดโค้ง โดยเชื่อมระหว่างภายใน ภายนอก และคูดิน 2 แห่งของเมืองโบราณ

นอกจากนี้คณะนักโบราณคดียังพบร่องรอยของการทำเครื่องมือ และพื้นผิวร่องรอยที่ถูกเหยียบย่ำบางส่วนถูกเปลวไฟเผาทำลายจนเกิดสีแดงสด ถือเป็นการค้นพบที่มีคุณค่าอย่างมากต่อการศึกษาวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ และต้นกำเนิดอารยธรรมในหลายพื้นที่ทางตอนเหนือของจีน

มองโกเลียในพบ “อุโมงค์ใต้ดิน”

North China’s Inner Mongolia Autonomous Region has uncovered prehistoric underpass ruins, said the region’s institute of cultural relics and archaeology on Sunday. Located in an ancient stone city site in today’s Qingshuihe County, Inner Mongolia, the underpass was unearthed along with over 20 ruins, including city gates, city walls, building foundations, tombs, jade, pottery, and bone ware relics. /Credit Photo: BBC/

มองโกเลียในพบ “อุโมงค์ใต้ดิน”

Area of the Longshan culture (3000–2000 BC) in northern China, based on Liu Li and Chen Xingcan (2012), The Archaeology of China: From the Late Paleolithic to the Early Bronze Age, The stone city site, covering about 1.38 million square meters, belongs to the Longshan Culture, a late Neolithic civilization in the middle and lower reaches of the Yellow River. Cambridge University Press.

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน