รายงานของรัฐบาลเนปาลที่หลุดมาถึง บีบีซี กล่าวหาจีนว่า รุกล้ำเข้าไปใน เนปาล ตามแนวชายแดนที่ใช้ร่วมกันของทั้งสองประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่มีการเรียกร้องอย่างเป็นทางการจากเนปาลเกี่ยวกับการแทรกแซงของจีนในอาณาเขตของตน

จีน สร้าง อาคาร พรมแดน เนปาล

The area where China has constructed buildings, to which Nepali officials have protested. Photo courtesy: Bishnu Bahadur Lama

รายงานฉบับดังกล่าวซึ่งไม่ได้มีการเผยแพร่ได้รับมอบหมายเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว หลังอ้างว่าจีนบุกรุกในเขตฮุมลา ทางตะวันตกสุดของ เนปาล ขณะที่สถานทูตจีนประจำกรุงกาฐมาณฑุปฏิเสธว่าไม่มีการบุกรุกใดๆ ส่วนเนปาลยังไม่ได้ตอบคำถามใดๆ จากบีบีซี

ยังไม่ชัดเจนว่าทำไมยังไม่มีการเผยแพร่รายงานฉบับดังกล่าว แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลเนปาลปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีนเพื่อถ่วงดุลความสัมพันธ์ที่มีมายาวนานกับอินเดีย ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ทางตอนใต้

เนื้อหาของรายงานฉบับนี้มีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันต่อการเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้กับกรุงปักกิ่ง

พรมแดนระหว่างเนปาลและจีนมีความยาวเกือบ 1,400 กม. ตามแนวเทือกเขาหิมาลัย มีการจัดทำเป็นสนธิสัญญาหลายฉบับที่ลงนามระหว่างสองประเทศในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและเข้าถึงยาก และพรมแดนถูกแบ่งเขตด้วยเสาหลายเสาตั้งห่างกันหลายกิโลเมตรบนพื้นดิน ซึ่งบางครั้งเป็นการยากที่จะรู้ว่า พรมแดนนั้นตั้งอยู่ที่ไหน

รัฐบาลเนปาลตัดสินใจส่งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยด้วยตัวแทนจากตำรวจและรัฐบาลไปเขตฮุมลา หลังมีรายงานเกี่ยวกับการบุกรุกของจีนที่อาจเกิดขึ้น บ้างอ้างว่าจีนสร้างอาคารหลายหลังที่พรมแดนเนปาล

ทหาร ชายแดน เนปาล

BISHNU BAHADUR TAMANG

รายงานฉบับดังกล่าวที่หลุดมาถึงบีบีซีระบุว่า คณะทำงานพบว่า กิจกรรมการสอดแนมโดยกองกำลังความมั่นคงของจีนจำกัดกิจกรรมทางศาสนาที่พรมแดนฝั่ง เนปาล ในสถานที่ที่เรียกว่า ลาลุงจง (Lalungjong) บริเวณดังกล่าวเคยเป็นที่ดึงดูดผู้แสวงบุญเนื่องจากอยู่ใกล้ภูเขาไกรลาส เพียงข้ามพรมแดนในจีน ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับทั้งชาวฮินดูและชาวพุทธ

รายงานยังสรุปว่า จีนกำลังจำกัดการเลี้ยงปศุสัตว์โดยเกษตรกรชาวเนปาล และในบริเวณเดียวกัน พบว่าจีนกำลังสร้างรั้วรอบเสาหลักพรมแดน และพยายามสร้างคลองและถนนบนพรมแดนฝั่งเนปาล แต่คณะทำงานพบว่า อาคารของจีนแต่เดิมที่คิดว่าจะก่อสร้างในเนปาล แท้จริงแล้ว ถูกสร้างขึ้นบนฝั่งพรมแดนของจีน

ผู้ตรวจสอบพบว่าชาวเนปาลในท้องถิ่นมักไม่ค่อยเต็มใจที่จะพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาชายแดน เนื่องจากบางคนต้องพึ่งพาการเข้าถึงตลาดจีนข้ามพรมแดนอย่างต่อเนื่อง

รายงานแนะนำให้กองกำลังความมั่นคงของเนปาลประจำการในพื้นที่เพื่อรับประกันความปลอดภัย และยังชี้ว่า เนปาลและจีนควรกลับมาใช้กลไกสงบความเคลื่อนไหว (dormant mechanism) ที่มีขึ้นเพื่อแก้ปัญหาชายแดนลักษณะนี้

พุทธิ นารายัน เศรษฐา นักเขียนแผนที่ชื่อดังและอดีตหัวหน้าแผนกสำรวจของเนปาล กล่าวว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ชายแดนควรได้รับการบอกอย่างชัดเจนว่าอยู่ที่ไหน เพื่อที่พวกเขาจะได้สามารถปกป้องดินแดนเนปาลได้ดียิ่งขึ้น

แม้ว่าจีนจะปฏิเสธการบุกรุก แต่ไม่ชัดเจนว่าแรงจูงใจของจีนอาจเป็นอะไรในการออกมายืนยันการควบคุมพรมแดนติดกับเนปาล แต่ความปลอดภัยอาจเป็นเหตุผลหนึ่ง

ตามประวัติศาสตร์ มีการสัญจรข้ามพรมแดนอย่างไม่เป็นทางการ รวมถึงผู้แสวงบุญและพ่อค้า แต่จีนค่อยๆ จำกัดการเคลื่อนไหวนี้

 

วิชัย กานต์ การ์นา อดีตนักการทูตเนปาลคนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันทำงานอยู่ที่คลังสมองในกรุงกาฐมาณฑุ กล่าวว่า กรุงปักกิ่งอาจกังวลเกี่ยวกับอินเดีย ซึ่งเป็นคู่แข่งในภูมิภาคที่มีปัญหาเรื่องพรมแดน “ดูเหมือนว่าจีนจะกังวลเกี่ยวกับการแทรกซึมจากกองกำลังภายนอก ดังนั้น จึงต้องการยกเลิกความสัมพันธ์ข้ามพรมแดน”

 

บีบีซีรายงานว่า จีนอาจยังกังวลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวอีกอย่าง นั่นคือภูมิภาคทิเบต ที่คนจำนวนมากหลบหนีออกจากสิ่งที่มองว่าเป็นการปราบปรามของกรุงปักกิ่ง โดยมีผู้ลี้ภัยชาวทิเบตราว 20,000 คน อาศัยอยู่ใน เนปาล ส่วนคนอื่นๆ ใช้เป็นทางผ่านไปอินเดียและที่อื่นๆ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนพยายามตัดเส้นทางหลบหนีนี้ มีรายงานการบุกรุกของจีนในเนปาลในช่วงสองปีที่ผ่านมา นำไปสู่การประท้วงเป็นครั้งคราวในกรุงกาฐมาณฑุ ครั้งล่าสุดเพิ่งเมื่อเดือนที่แล้ว และสถานทูตจีนในเนปาลออกแถลงการณ์เมื่อเดือนมกราคมว่า “ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น หวังว่าชาวเนปาลจะไม่เข้าใจผิดด้วยรายงานเท็จ”

อย่างไรก็ตาม สถานทูตจีนไม่ตอบสนองต่อบีบีซีซึ่งสอบถามถึงข้อครหาที่ระบุในรายงานฉบับดังกล่าวของรัฐบาลเนปาลที่ไม่ได้มีการเผยแพร่ เป็นที่เข้าใจว่ารัฐบาลเนปาลหยิบยกประเด็นพรมแดนหารือกับกรุงปักกิ่งแล้ว แต่ไม่ได้บอกว่าจีนตอบอะไรบ้าง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
เอเวอเรสต์ : การเมืองเรื่องยอดเขาระหว่างจีนและเนปาล หลังเห็นพ้องเพิ่มความสูงเป็น 8,848.86 เมตร
จีนใช้ “อาวุธไมโครเวฟ” ทำทหารอินเดียล่าถอย ในศึกพรมแดนพิพาทหิมาลัย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน