“หงเหอซอรัส” สัตว์เลื้อยคลานในทะเลพันธุ์ใหม่ อายุ 244 ล้านปี-หางยาวสุดทุบสถิติ

“หงเหอซอรัส”ซินหัว คณะนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานในทะเลสายพันธุ์ใหม่ อายุ 244 ล้านปี ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “พาคีพลูโรซอร์” (pachypleurosaur) โดยเป็นฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานในทะเลที่มีหางที่ยาวที่สุดเท่าที่เคยพบ และบ่งชี้ว่ามันอาจเป็นนักว่ายน้ำชั้นยอด

พาคีพลูโรซอร์เป็นกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานในทะเลที่มีลักษณะคล้ายจิ้งจกขนาดเล็กถึงกลางจากยุคไทรแอสซิกตอนต้นจนถึงตอนกลาง สายพันธุ์ใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า “หงเหอซอรัส” เนื่องจากถูกพบในแคว้นปกครองตนเองหงเหอ กลุ่มชาติพันธุ์ฮาหนีและอี๋ มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

หงเหอซอรัสมีความยาวจากหัวถึงปลายหางอยู่ที่ 47.1 เซนติเมตร ทว่าเฉพาะส่วนหางยาวถึง 25.4 เซนติเมตร โดยคณะนักวิทยาศาสตร์พบว่ามีกระดูกสันหลังรวม 121 ชิ้น ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนหาง 69 ชิ้น ทำลายสถิติก่อนหน้านี้ของพาคีพลูโรซอร์ตัวอื่นๆ ที่มีกระดูกสันหลังส่วนหาง 58 ชิ้น

สัตว์เลื้อยคลานในทะเลพันธุ์ใหม่ อายุ 244 ล้านปี-หางยาวสุดทุบสถิติ

This undated photo shows the fossil specimen and sketch of Honghesaurus, a new species of marine reptiles known as a pachypleurosaur.(Chinese Academy of Sciences/Handout via Xinhua)

คณะนักวิจัยจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ค้นพบฟอสซิลดังกล่าวเมื่อปี 2021 และเผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารไซเอนทิฟิค รีพอร์ตส เมื่อสัปดาห์ก่อน

นายสวี กวงฮุย หัวหน้านักวิจัย กล่าวว่าฟอสซิลดังกล่าวมีรูปร่างเหมือนจิ้งจกน้ำที่มีลำตัวยาว และหางยาวเป็นพิเศษกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โดยพาคีพลูโรซอร์ส่วนใหญ่ตัวเล็กและตัวยาวสูงสุดไม่เกิน 50 เซนติเมตร ขณะส่วนหางที่ยาวเป็นพิเศษช่วยให้ได้เปรียบด้านความคล่องแคล่วและการว่ายน้ำ

นอกเหนือจากข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับการปรับตัวทางนิเวศวิทยาของสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มนี้แล้ว การค้นพบนี้ยังเป็นหลักฐานฟอสซิลพาคีพลูโรซอร์ที่เก่าแก่ที่สุดในจีน โดยสัตว์เลื้อยคลานในทะเลตัวแรกที่ค้นพบในจีนและถูกตั้งชื่อตัวแรกเมื่อปี 1957 เป็นกลุ่มพาคีพลูโรซอร์เช่นกัน ซึ่งได้ชื่อว่า กุ้ยโจวซอรัส (Keichousaurus)

นายจ้าว ลี่จวิน ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเจ้อเจียง กล่าวว่าหงเหอซอรัสหางยาวตัวนี้มีอายุแก่กว่ากุ้ยโจวซอรัส 4 ล้านปี มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพาคีพลูโรซอร์ที่ถูกพบในยุโรป และมีอายุมากที่สุดในหมู่สัตว์ตระกูลนี้ที่ค้นพบในจีน

“หงเหอซอรัส”

Skull and mandible of Honghesaurus. Chinese scientists have discovered a fossil of a new species of marine reptiles known as a pachypleurosaur, dating back 244 million years, with the longest tail ever seen for its kind, indicating it may have been an exceptional swimmer. (Photo provided to China News Service)

“หงเหอซอรัส”

Line-drawing of girdles, limbs and vertebrae of Honghesaurus. The pachypleurosaurs were a group of small to medium-sized, lizard-like marine reptiles from the early to middle Triassic Period, and the new species has been named Honghesaurus after the discovery site Honghe Hani and Yi Autonomous Prefecture. (Photo provided to China News Service)

“หงเหอซอรัส”

Line-drawing of the whole Honghesaurus. At 25.4 cm, the tail made up more than half the length of the creature, estimated at 47.1 cm. Scientists found it had a total of 121 vertebrae, including 69 caudal, or tail, vertebrae, beating the previous record of 58 caudal vertebrae in other pachypleurosaurs. (Photo provided to China News Service)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน