เมื่อวันที่ 17 ม.ค. การ์เดียนและเดลี่เมล์รายงานผลการศึกษาวิจัยถึงสาเหตุการทำลายล้างครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เผ่าพันธุ์มนุษย์ อย่างชาวชนเผ่าแอสเท็ค ที่คุมพื้นที่บริเวณเม็กซิโกถึงโคลัมเบียตั้งแต่ช่วงต้นคริตส์ศตวรรษที่ 14 จนสิ้นสุดในช่วงต้นคริสตส์ศตวรรษที่ 16 หลังสเปนเข้ามายึดครอง

นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันค้นพบว่าในช่วงปีค.ศ.1545-1550 หรือราวพ.ศ.2088-2093 (ตรงกับช่วงหลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1) ชาวเเอสเท็คต้องเผชิญหน้ากับโรคระบาดชื่อ cocoliztli ใน 5 ปี คร่าชีวิตผู้คนไป 15 ล้านคนหรือร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรโบราณนี้ล่มสลาย ไม่ใช่เพียงเพราะสเปนเข้ามายึดครอง

พื้นที่ขุดซากโครงกระดูก /ภาพ Daily Mail

จากการศึกษาชิ้นใหม่ของนักวิทยาศาสตร์พบว่า หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อาณาจักรนี้ล่มสลายมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่าซัลโมเนลลา Salmonella enterica มีส่งผลให้เกิดอาหารอาหารเป็นพิษ ขณะที่ชาวแอสเท็คไม่มีภูมิคุ้มกันกับเชื้อดังกล่าว

หลักฐานที่ชี้ชัดถึงการเกิดขึ้นของแบคทีเรียชนิดนี้คือหลักฐานที่พบจากฟันของชาวแอสเท็คที่ค้นพบในเม็กซิโก

แบคทีเรียซัลโมเนลล่า/ภาพ Daily Mail

สมัยนั้นเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเม็กซิโก และกัวเตมาลา

น.ส.โอชิลด์ โวเกน์ นักวิจัยจากภาควิชาโบราณคดี สถาบันมักซ์ พลังก์ จากเยอรมนี ระบุว่าในบริบท หรือหน้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี ของเมืองเตโปสโกลูบา ยูกุนดาอา ในเม็กซิโก มีหลักฐานที่บอกกับนักวิจัยว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียอยู่ โดยมีการขุดซากโครงกระดูก 5 โครงจากสุสานสำหรับคนตายจากโรคระบาดขึ้นมาศึกษาและพบว่าทั้งหมดได้รับเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว

/ภาพ Daily Mail

ทีมงานใช้วิธีระบุการเรียงตัวของดีเอ็นเอที่ได้จากฟันและค้นพบหลักฐานเป็นโมเลกุลของแบคทีเรีย ซึ่งวิธีนี้แตกต่างไปจากเดิมที่นักวิจัยมักจะมุ่งเป้าไปหาเชื้อโรคโดยเฉพาะ

ตัวอย่างกระโหลกที่นำมาวิจัย/ภาพ Reuter

นายอเล็กซานเดอร์ แฮร์บิก จากสถาบันเดียวกันนี้ระบุว่า กุญแจสำคัญของการค้นพบคือเราไม่ได้เจาะจงหาเชื้อโรคตัวไหนเป็นพิเศษ เราตั้งสมมุติฐานขึ้นมาจากกรณีการแพร่ระบาดในวงกว้าง และค่อยหาที่มาของมัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน