เมื่อวันที่ 26 ก.พ. เอเอฟพีรายงานข่าวเชิงสารคดีถึงประเพณีการแต่งงานแบบ “จัดฉาก” ที่เกิดขึ้นในสังคมอนุรักษ์นิยมสุดขั้วของเวียดนาม จากกรณีตัวอย่างของสาวเวียดนามคนหนึ่งที่ท้องไม่มีพ่อ จึงเกิดจ้างวานชายเพื่อเป็นสามีเช่าชั่วคราว รวมไปถึงเช่าครอบครัวฝ่ายสามีเพื่อแต่งเป็นหน้าเป็นตา หลีกหนีข้อครหาสำหรับการเป็นซิงเกิลมัม หรือแม่เลี้ยงลูกเดี่ยว และข้อครหาจากคนในสังคม

พิธีแต่งหลอกๆ ที่กรุงฮานอย / AFP PHOTO / Nhac Nguyen

ในสังคมที่อนุรักษ์นิยมสูงของเวียดนาม การแต่งงานนับว่าเป็นหน้าตาของครอบครัว แต่สำหรับบางคนที่เจอเรื่องสุดวิสัย หรือด้วยเหตุผลต่างๆ นานา

อย่างน.ส.คา นามสมมุติ ให้เหตุผลของการจัดงานแต่งงานหลอก ว่าหากไม่จัดงานแต่งงานพ่อแม่ของตนเองจะถูกสังคมครหา จากที่ตนเองท้องไม่มีพ่อ จึงยอมว่าจ้างหนุ่มที่เป็นพ่อของลูกในท้องมาสวมบทเป็นเจ้าบ่าวถึง 1,500 ดอลลาร์ หรือเกือบ 5 หมื่นบาท แต่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันไม่ได้ เพราะฝ่ายชายแต่งงานอยู่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่าการจัดงานแต่งงานหลอกนี้ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายแต่อย่างใด

/ AFP PHOTO / Nhac Nguyen / TO GO WITH Vietnam-marriage-lifestyle-social-family-FEATURE by Tran Thi Minh Ha

ส่วนแผนต่อไปหลังจากแต่งงานหลอก ที่น.ส.คาไม่ได้เปิดเผยให้ญาติคนอื่นๆ รู้เว้นเสียแต่พ่อแม่ที่รู้ ก็จะเป็นการเปิดเผยให้กับญาติคนอื่นๆ รู้ว่าสามีที่ตนเข้าพิธีด้วยได้หนีจากไปแล้ว เหตุผลดังกล่าวก็จะเข้ากับแผนการเป็นแม่เลี้ยงลูกเดี่ยว และครอบครัวรวมถึงตัวเธอเองที่จะต้องตกเป็นขี้ปากชาวบ้าน

ไม่ใช่แค่เพียงการจ้างเจ้าบ่าว แต่ในงานแต่งงานจริงบางครั้งยังมีการจ้างญาติเทียม ทั้งพี่ ป้า น้า อา และเพื่อนให้เข้าร่วมงานแต่ง ซึ่งจำนวนแขกเหรื่อในงานเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สื่อถึงการมีตัวตนในสังคม

การว่าจ้างดังกล่าวยังเป็นการลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากครอบครัวของอีกฝั่งที่อาจไม่พอใจอย่างมากหากรู้ว่าคู่แต่งงานของลูกสาวหรือลูกชายเป็นคนไร้หัวนอนปลายเท้า

/ AFP PHOTO / Nhac Nguyen / TO GO WITH Vietnam-marriage-lifestyle-social-family-FEATURE by Tran Thi Minh Ha

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างอายุที่เป็นไปอย่างรวดเร็วในเวียดนาม ปัจจุบันนี้ประเทศนี้มีประชากรอายุต่ำกว่า 30 ปีถึงครึ่งหนึ่งของประชากร 93 ล้านคนทั้งประเทศ หลายคนแหกกฎวัฒนธรรมดั้งเดิมโดยการอยู่ก่อนแต่ง หรือกระทั่งแยกตัวออกมาอยู่คนเดียว

เช่นเดียวกันกับการทำแท้งที่เพิ่มขึ้น หลายเรื่องดูเหมือนว่าจะเป็นที่ยอมรับ เว้นเสียแต่เรื่องแต่งงานที่พ่อ แม่ต่างยอมไม่ได้

In this picture taken on January 23, 2018, Huong (R) and Quan enter the wedding hall in Hanoi. / AFP PHOTO

นักวิจัยด้านจิตวิทยาเวียดนาม เช่น นายเหงียบ ดุย เกือง อธิบายว่าคู่รักหลายคนเจอปัญหาความรักที่มีต้นเค้ามาจากวัฒนธรรม ประเพณีและบรรทัดฐานของสังคม

นอกจากการแต่งงานหลอกเพื่อหลุดออกจากข้อครหาสังคมแล้ว ยังเป็นไปเพื่อให้ถูกโฉลกต้องชะตากับดวงอีกด้วย อย่างกรณีของน.ส.เฮืองและนายกวน ซึ่งฝ่ายหญิงบอกว่าครอบครัวของฝ่ายชายไม่ชอบตนเพราะมีพื้นเพมาจากจังหวัดที่ยากจน แต่ครอบครัวของฝ่ายหญิงต่างยืนยันว่ายังไงก็ต้องแต่งงานในปีไก่ ที่ผ่านมาตามคำบอกเล่าของหมอดู ซึ่งทางเดียวที่จะให้งานแต่งเกิดขึ้นได้คือการจ้างญาติพี่น้อง พ่อแม่ให้กับฝ่ายชาย เพื่อให้งานแต่งดูสมจริง

นายเหวียน ซวน เธียน ผู้ก่อตั้งบริษัท Vinamost ผู้ให้บริการว่าจ้างจัดหาคนมาแสดงเป็นญาติ ทั้งพ่อแม่ ลุงป้าน้าอา หาให้ได้หมด / AFP PHOTO

ทั้งนี้แนวโน้มการแต่งงานหลอกที่เพิ่มมากขึ้น โดยเว็บไซต์หาคู่อย่าง วินาโมสต์ (Vinamost) ที่มีแพ็คเกจสำหรับคนที่ต้องการแต่งงานหลอก อย่างแพ็คเกจที่จัดทุกอย่างให้มีราคาอยู่ที่ 4,400 ดอลลาร์ หรือเกือบ 140,000 บาท

นายเหวียน ซวน เธียน ผู้ก่อตั้งบริษัทดังกล่าวระบุว่าทางบริษัทได้จัดงานแตกงงานหลอกกว่าหลายหมื่นครั้งในรอบหลายปีที่ผ่านมา และยอมรับว่าธุรกิจนี้เติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วเวียดนาม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน