ไขความลับ ‘ไข่ตำนานยุคโรมันอายุ 1,700 ปี’ สภาพสมบูรณ์ ข้างในยังมีไข่ขาว-ไข่แดงอยู่ครบ?!
เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานว่า ทีมนักโบราณคดีและนักธรรมชาติวิทยาค้นพบความลับชวนทึ่งของ “ไข่เอลส์เบอรี” ไข่โบราณจากยุคโรมันอายุกว่า 1,700 ปี ที่ยังคงมีไข่ขาวและไข่แดงอยู่ครบ แม้เวลาจะผ่านมานานนับพันปีแล้วก็ตาม
การค้นพบดังกล่าวถูกขุดค้นพบที่เขตเอลส์เบอรี เมืองบักกิงแฮมเชียร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2010 โดยไข่เอลส์เบอรีเป็นไข่ขนาดประมาณ 5 เซนติเมตรนี้ พบพร้อมกับตะกร้าสาน ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา รองเท้าหนัง และกระดูกสัตว์ ในขณะที่กำลังมีการสำรวจสถานที่ก่อนการพัฒนาครั้งใหญ่
อย่างไรก็ตาม นายเอ็ดเวิร์ด บิดดุลฟ์ ผู้จัดการโครงการของ Oxford Archaeology ซึ่งดูแลการขุดค้นดังกล่าว เผยว่า ไข่เอลส์เบอรีเป็น 1 ใน ไข่ 4 ฟองที่ค้นพบ แต่ 3 ฟองที่เหลือได้รับความเสียหายถูกทำลายไป เหลือเพียงฟองเดียวเท่านั้นที่มีสภาพสมบูรณ์โดยมันเป็นการค้นพบที่น่าทึ่งมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้เรามักจะพบเศษเปลือกไข่แต่ไม่พบไข่ที่สมบูรณ์
ขณะเดียวกัน นายบิดดุลฟ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ไข่ถูกจงใจวางไว้ในหลุมที่เคยใช้เป็นบ่อหมักและการต้มเบียร์ “นี่เป็นพื้นที่เปียกชื้นติดกับถนนโรมัน อาจเป็นเพราะมีการใส่ไข่ไว้ที่นั่นเพื่อเป็นเครื่องบูชา ตะกร้าที่เราพบอาจเคยมีขนมปังอยู่”
นอกจากนี้ นักโบราณคดีเชื่อว่า ไข่เหล่านี้ถูกวางไว้เพื่อเป็นของขวัญแด่เทพเจ้าหรือเพื่อขอความโชคดี เมื่อหลุมนั้นเลิกใช้งานไปแล้ว โดยจากการศึกษาพบว่า หลุมดังกล่าวถูกใช้งานจนกระทั่งประมาณปี 270
ทั้งนี้ นายดักลาส รัสเซลล์ ภัณฑารักษ์อาวุโสฝ่ายรวบรวมไข่และรังนกของพิพิธภัณฑ์ ได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีอนุรักษ์ไข่และนำสิ่งที่อยู่ภายในออกโดยไม่ทำให้ไข่แตก
โดยเชื่อกันว่า ไข่ดังกล่าวเป็นไข่ที่เก่าแก่ที่สุดที่เก็บรักษาไว้โดยไม่ได้ตั้งใจ อาจทำรูเล็กๆ ในไข่เพื่อแยกสิ่งที่อยู่ภายในออก และพยายามค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนกที่วางไข่ต่อไป
ทางด้านกู๊ดเบิร์น-บราวน์ กล่าวว่า “ไข่ที่เพิ่งค้นพบได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในการค้นพบทางโบราณคดีที่น่าทึ่งที่สุดและท้าทายที่สุดในการสำรวจและอนุรักษ์ตลอดระยะเวลา 40 ปีในสายงานนี้