ชี้แอฟริการ้อนจัดเป็น “ฝีมือมนุษย์” – บีบีซี รายงานการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่า “คลื่นความร้อน” ที่ปกคลุมภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกและภูมิภาคซาเฮล ตอนกลางของทะเลทรายสะฮารา จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศอันเป็นผลจากการกระทำจากมนุษย์
เมื่อเดือนที่แล้วประเทศมาลีในทวีปแอฟริกาตะวันตกวัดอุณหภูมิได้สูงถึง 48 องศาเซลเซียสและโรงพยาบาลแห่งหนึ่งรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตเพราะอากาศร้อนจัดกว่า 100 ราย
นักวิจัยชี้ว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิสูงกว่าปกติ 1.4 องศาเซลเซียสเกิดจากจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ส่วนการวิจัยอีกฉบับหนึ่งระบุว่าด้วยความแห้งแล้งในแอฟริกาตอนใต้ระบุว่าปรากฏการณ์เอลนีโญเป็นสาเหตุใหญ่มากกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ชี้แอฟริการ้อนจัดเป็น “ฝีมือมนุษย์” -An old woman hospitalized for dehydration during the recent record heat wave, receives IV drip while she is being consulted at an hospital in Niamey, Niger April 13, 2024. REUTERS/ Mahamadou Hamidou
ตั้งแต่สิ้นเดือนมี.ค.2567 ถึงต้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา หลายประเทศในภูมิภาคซาเฮลและทั่วภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกถูกคลื่นความร้อนถาโถมอย่างหนัก โดยเฉพาะทางใต้ของมาลีและบูร์กินาฟาโซที่ผู้คนต้องทนอยู่ท่ามกลางความร้อนรุนแรง
ขณะที่กรุงบามาโก เมืองหลวงของมาลี โรงพยาบาลกาเบรียลทูเรระบุว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 102 รายช่วงวันแรกของเดือนเม.ย. ทำลายสถิติที่ผ่านมา สำหรับผู้เสียชีวิตครึ่งหนึ่งมีอายุเกิน 60 ปีและส่วนใหญ่เสียชีวิตเนื่องจากความร้อน นักวิจัยเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดคลื่นความร้อนเป็นนานถึง 5 วันในภูมิภาคดังกล่าว
ส่วนผลการวิจัยใหม่จากนักวิทยาศาสตร์กลุ่มสภาวะอากาศโลกระบุว่าอากาศร้อนจัดในตอนกลางวันและกลางคืนเป็นผลจากการใช้ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซเป็นเวลานาน

ภาพประกอบ – Researchers say human activities like burning fossil fuels made temperatures up to 1.4C hotter than normal. A separate study on drought in Southern Africa said El Niño was to blame, rather than climate change. REUTERS/Stephane Mahe/File Photo
รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ เช่น การตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกรวนที่ทำให้อุณหภูมิในมาลีและบูร์กินาฟาโซสูงกว่าปกติ 1.5 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิตอนกลางคืนร้อนกว่าค่าเฉลี่ย 2 องศาเซลเซียส ขณะอุณหภูมิเฉลี่ยตลอด 5 วันในช่วงอากาศร้อนจัดพบว่าอุณหภูมิสูงขึ้น 1.4 องศาเซลเซียส
นายคิสเวนด์สิดา กูอิกมา นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศจากศูนย์สภาพอากาศกาชาดในบูร์กินาฟาโซ กล่าวว่าบางคนอาจจะคิดว่าคลื่นความร้อนทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 1.4-1.5 องศาเซลเซียส ไม่น่าจะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นมากนัก
แต่ความร้อนที่สูงขึ้นส่งผลต่อความแตกต่างระหว่างการมีชีวิตและความตายสำหรับหลายๆ คน แม้คลื่นความร้อนรุนแรงเกิดขึ้นยากมากในภูมิภาคนี้ แต่นักวิจัยคาดว่าจะเกิดถี่ขึ้นเมื่ออากาศอบอุ่นขึ้น
ทั้งนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกขณะนี้สูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 1.2 องศาเซลเซียสและเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เพิ่งเกิดขึ้นในมาลีซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 200 ปี แต่ถ้าอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส มาลีจะเผชิญคลื่นความร้อนรุนแรงถี่ขึ้นเป็นทุก ๆ 20 ปี

ชี้แอฟริการ้อนจัดเป็น “ฝีมือมนุษย์” – An old woman, hospitalized for dehydration during the recent record heat wave, receives IV drip while she is being consulted at an hospital in Niamey, Niger April 13 , 2024. Temperatures soared above 48C in Mali last month with one hospital linking hundreds of deaths to the extreme heat. REUTERS/ Mahamadou Hamidou
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาหลายประเทศทางใต้ของทวีปแอฟริกาต้องเผชิญกับภัยแล้งรุนแรงทำให้พืชผลการเกษตรเสียหายในหลายประเทศ ประชาชนราว 20 ล้านคนเผชิญกับความหิวโหย ประชาชนในแซมเบียและซิมบับเวขาดแคลนน้ำ ซ้ำร้ายยังเกิดอหิวาตกโรคระบาดจนต้องประกาศภาวะภัยพิบัติทั้ง 2 ประเทศ รวมทั้งเพื่อนบ้านอย่างมาลาวี
หลังจากนักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนเพื่อหาสาเหตุของภัยแล้งก็ได้คำตอบว่าภาวะโลกรวนไม่ได้มีผลมากนักต่อปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาน้อยในช่วงเดือนธ.ค. ถึงเดือนก.พ. แต่ให้น้ำหนักกับปรากฏการ์เอลนีโญมากกว่าเนื่องจากกระแสน้ำอุ่นที่ไหลเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศในหลายพื้นที่
ปรากฏการณ์เอลนีโญครั้งล่าสุดรุนแรงที่สุดเมื่อเดือนธ.ค. ส่งผลให้ฝนตกน้อยมากทั่วตอนใต้ของทวีปแอฟริกา การที่ทั่วโลกอุ่นขึ้นและภัยแล้งรุนแรงเช่นนี้มักเกิดขึ้นทุกๆ 10 ปี แต่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าความแห้งแล้งจะรุนแรงขึ้นเป็น 2 เท่าในปีที่เกิดปรากฏการ์เอลนีโญ
ด้าน น.ส.จอยซ์ คิมูไท นักวิจัยจากวิทยาลัยอิมพีเรียล ลอนดอนกล่าวว่าเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วหลายๆ กรณีเมื่อปีที่แล้วเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่วนความแห้งแล้งทางตอนใต้ของแอฟริกาเป็นตัวอย่างที่พบได้ยากมากซึ่งเป็นผลจากเอลนีโญเป็นหลัก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: