เอเอฟพีรายงานว่า บรรดาองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกเตือนรัฐบาลออสเตรเลียหลีกเลี่ยงการแสดงความใกล้ชิดกับบรรดาผู้นำเผด็จการ บนเวทีการประชุมสุดยอดอาเซียนออสเตรเลีย สมัยพิเศษ ที่นครซิดนีย์ ระหว่าง 17-18 มี.. หากควรใช้โอกาสดังกล่าวหยิบยกประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนขึ้นมาหารือ

(AP Photo/Bullit Marquez)

การประชุมสมัยพิเศษที่ทางการออสเตรเลียจะเป็นเจ้าภาพดังกล่าวจะมีผู้นำ 9 จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนเดินทางไปร่วมประชุม ยกเว้นประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ผู้นำฟิลิปปินส์ ที่อ้างว่าติดภารกิจสำคัญในประเทศ แต่เป็นที่รู้กันว่าไม่อยากฟังเสียงต่อต้านนโยบายปราบปรามยาเสพติดรุนแรงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วหลายพันราย

Philippine President Rodrigo Duterte (Mark Cristino/Pool Photo via AP)

นอกจากนี้ ยังมีนางออง ซาน ซู จี ในฐานะที่ปรึกษาแห่งชาติของพม่า ที่กำลังเผชิญแรงกดดันกรณีปฏิบัติการทางทหารในรัฐยะไข่ที่ส่งผลให้มีชาวโรฮิงยาอพยพข้ามพรมแดนไปบังกลาเทศกว่า 1 ล้านคนแล้ว ท่ามกลางรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเข้าข่ายการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

Myanmar State Counsellor Aung San Suu Kyi (AP Photo/Bullit Marquez)

รวมไปถึงนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่กำลังโดนกดดันจากบรรดาชาติประชาธิปไตยกรณีศาลกัมพูชาตัดสินยุบพรรคฝ่ายค้าน การปิดกิจการสื่อที่วิจารณ์รัฐ และการจับกุมดำเนินคดีขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม ที่บั่นทอนความมั่นคงระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น

Cambodian Prime Minister Hun Sen (AP Photo/Heng Sinith)

อีเลน เพียร์สัน ผู้อำนวยการองค์การฮิวแมน ไรต์ ว็อตช์ ออสเตรเลีย กล่าวว่า การปิดตาหนึ่งข้างและหวังให้ความร่วมมือด้านการค้ากับความมั่นคงช่วยเปลี่ยนรัฐบาลของชาติเหล่านี้ให้เป็นชาติผู้เคารพสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ได้ผล

“การประชุมอาเซียนไม่ควรเป็นโอกาสที่ออสเตรเลียจะได้ใกล้ชิดผู้นำเผด็จการ แต่ควรเป็นโอกาสที่ออสเตรเลียจะได้กดดันต่อกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่อย่างกว้างขวางในภูมิภาคนี้”

ด้าน เจมส์ โกเมซ ผอ.องค์กรนิรโทษกรรมสากล หรือแอมนาสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า ผู้นำออสเตรเลียและชาติอาเซียนจำเป็นต้องเอาจริงเอาจังต่อการแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตการณ์ในพม่า จำเป็นต้องเป็นประเด็นหลักในการหารือด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน