เมื่อวันที่ 27 มี.ค. เดลี่เมล์รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์พบซากโครงกระดูกของสิงโตดึกดำบรรพ์ในเมืองนาโตโดเมริ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเคนยา ที่มีอายุมากกว่าสองแสนปี อีกทั้งยังพบว่าสิงโตดึกดำบรรพ์มีขนาดตัวสูงใหญ่เท่ามนุษย์

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเคนยา พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยในรัฐยูทาห์ และรัฐอาร์คันซอส์ จากสหรัฐ ค้นพบซากโครงกระดูกส่วนกะโหลกของสิงโตดึกดำบรรพ์ที่เชื่อว่ามีอายุถึงสองแสนปี และสูญพันธุ์ไปแล้วจากโลกนี้

นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างกับสิงโตในยุคปัจจุบันในเรื่องความสูงที่มีเชื่อมีความสูงใหญ่เท่ามนุษย์ อีกทั้งยังเชื่อว่าสิงโตดึกดำบรรพ์พันธุ์นี้ที่อยู่อาศัยอย่างเร่ร่อนในแอฟริกา มีขนาดสูงใหญ่เพราะว่าต้องล่าสัตว์กินพืชที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก

 

ส่วนเรื่องความสูงใหญ่ที่มีข้อมูลว่า สิงโตปกติแล้วจะมีความสูงอยู่ประมาณ 120 เซนติเมตร แต่สิงโตดึกดำบรรพ์พันธุ์นี้มีขนาดตัวสูงถึง 170 เซนติเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับความสูงเฉลี่ยทั่วไปของมนุษย์

นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังระบุในงานวารสารวิชาการ เจอร์นอลออฟ ปาเลโอโทโลจี (Journal of Paleontology) ด้วยว่า กะโหลกที่ค้นพบนี้เป็นตัวชี้วัดว่าสิงโตดึกดำบรรพ์ตัวนี้เคยมีชีวิตอยู่ในยุคสมัยไพลสโตซีน 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิด และสูญพันธุ์ ไปในภายหลัง

นอกจากนี้ขนาดของหัวกะโหลกที่มีความใหญ่มาก เทียบเท่ากับขนาดของกะโหลกสิงโตถ้ำยูเรเซีย ซึ่งอยู่อีกเปลือกโลกในยุคเดียวกันนี้ และกระโหลกที่พบมีความใหญ่กว่ากระโหลกสิงโตทั่วไปในแอฟริกา

ทั้ง นี้ลักษณะทั่วไปของสิงโตมีฝ่าเท้าคล้ายกับสัตว์เลี้ยง อย่าง แมว แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า โดยน้ำหนักตัวสูงสุดของสิงโตเพศผู้ถึง 189 กิโลกรัม และเพศเมียถึ 126 กิโลกรัม ความแตกต่างระหว่างสิงโตเพศผู้และเพศเมียอยู่ที่ขนแผงคอ ซึ่งสิงโตเพศเมียจะไม่มี

จำนวนสิงโตปัจจุบันในโลกลดลง หลังมีการไล่ล่าอย่างไม่หยุดหย่อนจากกลุ่มนักล่าเพื่อรางวัล รวมไปถึงปัญหาการรุกล้ำพื้นที่อาศัยของสิงโต

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน