7-11 ญี่ปุ่นเมินบีบีซี รายงานว่า เครือร้านสะดวกซื้อ “เซเว่น อีเลฟเว่น” ในญี่ปุ่นปฏิเสธข้อเสนอควบรวมกิจการกับเครือร้านสะดวกซื้อ “อลิมองตาซิยง โค้ช-ตารด์” คู่แข่งสัญชาติแคนาดาที่เสนอดีลมูลค่า 38,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 1.4 ล้านล้านบาท)

7-11 ญี่ปุ่นเมิน “ดีลควบกิจการ” 1.4 ล้านล้านจากยักษ์ใหญ่ร้านสะดวกซื้อในแคนาดา

ภาพประกอบ – Shoppers walk out from a Seven & I Holdings’ 7-Eleven convenience store in Tokyo, Japan, April 7, 2016. The Japanese owner of convenience store chain 7-Eleven has rejected a $38bn takeover bid from Canadian rival Alimentation Couche-Tard. REUTERS/Yuya Shino/File/File Photo

เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ซึ่งเป็นเครือเซเว่น อีเล่ฟเว่นในญี่ปุ่น ระบุในจดหมายถึงผู้จะซื้อว่าเจ้าของเครือร้านสะดวกซื้อ เซอร์เคิล เค ประเมินคุณค่าของบริษัทต่ำเกินไปและมีแต่ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ แต่เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ ยังเปิดโอกาสการเจรจาและพร้อมพิจารณาข้อเสนอที่ดีกว่านี้

หากซื้อกิจการสำเร็จจะทำให้กลายเป็นยักษ์ใหญ่เครือร้านสะดวกซื้อระดับโลกที่แข็งแกร่งเพราะจะมีร้านสาขากว่าแสนแห่งเลยทีเดียว

7-11 ญี่ปุ่นเมิน – ภาพประกอบ – Seven & i’s logo is seen at a 7-Eleven convenience store in Tokyo, Japan August 19, 2024. REUTERS/Kim Kyung-Hoon/File Photo

นายสตีเฟน ดาคัส ประธานคณะกรรมการเซเว่น แอนด์ ไอ ระบุในจดหมายว่าข้อเสนอเป็นการฉวยโอกาสเพราะยื่นข้อเสนอในเวลาที่เงินเยนอ่อนค่ากว่าดอลลาร์สหรัฐอย่างมาก ทำให้เซเว่น แอนด์ ไอ มีราคาที่ผู้ซื้อต่างชาติซื้อกิจการได้ นอกจากนี้ข้อเสนอยังประเมินค่าเซเว่น แอนด์ ไอ ต่ำเกินไปและมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้น

สำหรับอลิมองตาซิยง โค้ช-ตารด์ หรือเอซีที มีฐานอยู่ในควิเบกของแคนาดา และมีร้านสาขาประมาณ 17,000 แห่งทั่วอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ทั้งแบรนด์เซอร์เคิล เค และโค้ช-ตารด์
เอซีทียื่นข้อเสนอแรกโดยประเมินมูลค่าหุ้นเซเว่น แอนด์ ไอไว้ที่ 14.86 ดอลลาร์ต่อหุ้น (ราว 498 บาท) ซึ่งสูงกว่าราคาหุ้นก่อนการประกาศข้อเสนอเทคโอเวอร์กว่าร้อยละ 20

แต่เซเว่น แอนด์ ไอ ไม่รับข้อเสนอและยังเน้นด้วยว่าเอซีทีอาจต้องเผชิญความท้าทายหลายประการจากหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหรัฐอเมริกา

7-11 ญี่ปุ่นเมิน “ดีลควบกิจการ” 1.4 ล้านล้านจากยักษ์ใหญ่ร้านสะดวกซื้อในแคนาดา

7-11 ญี่ปุ่นเมิน – ภาพประกอบ – A man uses a mobile phone outside a 7-Eleven convenience store in Tokyo, Japan December 6, 2017. REUTERS/Toru Hanai/File Photo

ขณะที่เซเว่น อีเลฟเว่นเป็นเครือร้านสะดวกซื้อใหญ่ที่สุดในโลก มีสาขา 85,000 แห่งใน 20 ประเทศและอาณาเขต ส่วนเอทีซีในสหรัฐและแคนาดาอาจจะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าเป็น 20,000 สาขาตามข้อตกลงที่จะดำเนินการในอนาคต

ที่ผ่านมาบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ไม่เคยถูกซื้อจากบริษัทต่างชาติและในอดีต บริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นมักจะซื้อกิจการในต่างประเทศมากกว่า

7-11 ญี่ปุ่นเมิน “ดีลควบกิจการ” 1.4 ล้านล้านจากยักษ์ใหญ่ร้านสะดวกซื้อในแคนาดา

ภาพประกอบ – A pedestrian walks past Japan’s Seven & I’s 7-Eleven convenience store in Tokyo, Japan August 19, 2024. REUTERS/Kim Kyung-Hoon

ด้าน นายนีล นิวแมน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ของบริษัทแอสทริส แอดไวซอรี แจแปน ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนชั้นนำในกรุงโตเกียวกล่าวว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องคุ้มครองทรัพย์สินในประเทศและเซเว่น แอนด์ ไอ ก็เป็นทรัพย์สินหลัก จึงคาดว่าอาจต้องใช้เวลาเจรจากันนาน หากประสบความสำเร็จก็แสดงว่าญี่ปุ่นเปิดกว้างด้านธุรกิจและเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ

เมื่อปีที่แล้วรัฐบาลญี่ปุ่นออกแนวทางปฏิบัติใหม่ในการควบรวมและซื้อกิจการโดยขอร้องให้บริษัทต่างๆ อย่าเพิ่งปฏิเสธข้อเสนอเทคโอเวอร์ที่น่าเชื่อถือโดยที่ยังไม่ได้พิจารณาด้วยความจริงใจเสียก่อน
ส่วนเอซีทียังไม่แสดงความเห็นกับบีบีซี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน