พบฟอสซิล “ไข่ไดโนเสาร์”ซินหัว รายงานว่า คณะนักวิจัยจีนค้นพบ “ซากฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์ชนิดใหม่” ในมณฑลเจียงซี ทางตะวันออกของ ประเทศจีน โดยฟอสซิลไข่ฟองหนึ่งมีความยาวเพียง 29 มิลลิเมตรเท่านั้น และทำให้ครองตำแหน่งซากฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เคยค้นพบในโลก

คณะนักวิจัยจากสถาบันสำรวจและวิจัยทางธรณีวิทยามณฑลเจียงซี มหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน และสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ทำการศึกษานาน 3 ปี และยืนยันว่าซากฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์ 6 ฟอง มาจาก “ยุคครีเทเชียสตอนปลาย” หรือเมื่อกว่า 80 ล้านปีก่อน

รายงานระบุด้วยว่าซากฟอสซิลไข่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์และเรียงตัวอย่างไม่เป็นระเบียบนี้ถูกค้นพบในพื้นที่ก่อสร้างในตำบลเหมยหลิน เขตก้านเซี่ยน เมืองก้านโจว ตั้งแต่ปี 2564

พบฟอสซิล “ไข่ไดโนเสาร์” เล็กสุดในโลก ยาวแค่ 29 มิลลิเมตร-เก่ากว่า 80 ล้านปี

พบฟอสซิล “ไข่ไดโนเสาร์” – Chinese researchers have discovered a new type of dinosaur egg fossils in east China’s Jiangxi Province, with one measuring just 29 mm in length, the smallest ever found globally. [Photo/Xinhua]

นายโหลว ฝ่าเซิง หัวหน้าวิศวกรประจำสถาบันสำรวจและวิจัยทางธรณีวิทยามณฑลเจียงซี กล่าวว่าทีมนักวิจัยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบกระจายกลับในการวิเคราะห์โครงสร้างระดับจุลภาคของเปลือกไข่ และตรวจพบว่าสัณฐานวิทยาและโครงสร้างจุลภาคบ่งชี้เป็น “ไดโนเสาร์เทโรพอด” ที่ไม่ใช่กลุ่มนก

ฟอสซิลไข่ที่มีสภาพสมบูรณ์มากที่สุดมีความยาว 29 มิลลิเมตร เล็กกว่าซากฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่สุดที่เคยพบก่อนหน้านี้ในมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งมีขนาดกว้าง 45.5 มิลลิเมตร ยาว 40.4 มิลลิเมตร และสูง 34.4 มิลลิเมตร

พบฟอสซิล “ไข่ไดโนเสาร์” เล็กสุดในโลก ยาวแค่ 29 มิลลิเมตร-เก่ากว่า 80 ล้านปี

พบฟอสซิล “ไข่ไดโนเสาร์” – Following a three-year study, the team comprising researchers from the Jiangxi Geological Survey and Exploration Institute (JGSEI), China University of Geosciences (Wuhan) and the Institute of Vertebrate Paleontology and Paleoanthropology of the Chinese Academy of Sciences confirmed the six egg fossils dating back to the Late Cretaceous period, over 80 million years ago, as dinosaur eggs. The relatively complete, irregularly arranged egg fossils were found in a well-preserved nest at a construction site in Meilin Township in Ganxian District in the city of Ganzhou in 2021. [Photo/Xinhua]

นายโหลวเสริมว่าการค้นพบครั้งล่าสุดที่เผยแพร่ผ่านวารสารฮิสทอรริคัล ไบโอโลจี เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ถือเป็นการเพิ่มความหลากหลายของไข่ไดโนเสาร์จากยุคครีเทเชียสตอนปลาย และมอบข้อมูลเชิงลึกอันล้ำค่าเกี่ยวกับวิวัฒนาการของไดโนเสาร์เทโรพอดในยุคครีเทเชียสตอนปลายด้วย

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยจะใช้เทคโนโลยีซีทีสแกนระดับจุลภาคมาประกอบโครงสร้างของฟอสซิลไข่ส่วนที่ถูกฝังเพื่อศึกษากระบวนการก่อตัว และเจาะจงชนิดของไดโนเสาร์ที่วางไข่ รวมถึงวิธีการสืบพันธุ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน