ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น: กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ กล่าวว่ามีความกังวลใจอย่างมากว่า การขาดอายุความของ กรณีตากใบ ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 85 รายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของไทยเมื่อปี 2547 นั้นจะทำให้ความพยายามเพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษสูญเปล่า

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเมื่อเดือนตุลาคม 2547 หลังจากการเจรจาล้มเหลว หน่วยงานความมั่นคงได้เปิดฉากยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมกลุ่มใหญ่หน้าสถานีตำรวจตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมารวมตัวกันหลังจากมีการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยหกคนซึ่งถูกกล่าวหาว่า จัดหาอาวุธให้กับผู้ก่อความไม่สงบ

ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น: อายุความของคดีต้องไม่ปฏิเสธความยุติธรรมที่มีต่อเหยื่อตากใบ

ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น: Women take photos of placards calling for justice on the 20-year anniversary of the October 2004 incident known as the “Tak Bai massacre” when scores of Muslim protesters suffocated in Thai army trucks, in Thailand’s southern Pattani province on October 25, 2024. (Photo by Watsamon TRI-YASAKDA / AFP)

มีรายงานว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนเจ็ดรายและมีการจับกุมตัวผู้ชุมนุม 1,370 คนจนนำไปสู่การให้ผู้ชุมนุมนอนซ้อนทับกันในรถบรรทุกเป็นเวลาห้าชั่วโมงเพื่อเดินทางไปยังค่ายทหาร ซึ่งถือเป็นกระทำทารุณกรรม และทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกจำนวน 78 คนในเวลาต่อมา ล้วนเป็นชาวมุสลิมมาเลย์ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยทางศาสนา

“เรายินดีที่ในที่สุดก็มีการดำเนินคดีอาญาสองคดีจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยมีการออกหมายจับข้าราชการทั้งปัจจุบันและเกษียณอายุราชการแล้วที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม เรามีความกังวลอย่างยิ่งว่าหากไม่มีการดำเนินการใดๆ ต่อจากนี้ คดีความดังกล่าวจะจบลงเมื่ออายุความของคดีขาดไปในวันที่ 25 ตุลาคม 2567” กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าว

ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น: อายุความของคดีต้องไม่ปฏิเสธความยุติธรรมที่มีต่อเหยื่อตากใบ

ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น: Paridah Toleh, mother of Saroj Toleh, a victim of the October 2004 incident known as the “Tak Bai massacre” when scores of Muslim protesters suffocated in army trucks, shows pictures of her son in an old photo album in Thailand’s southern province of Narathiwat on October 24, 2024. (Photo by Madaree TOHLALA / AFP)

“เราอยากย้ำเตือนว่าหน้าที่ในการสอบสวน กำหนดบทลงโทษ และให้การเยียวยาแก้ผู้เสียหายจากคดีดังกล่าวนั้นมิอาจยุติลงเพียงเพราะเวลาผ่านพ้นไป และความล้มเหลวของการสอบสวนและนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนี้นั้นเป็นการละเมิดพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย

“กฎหมายระหว่างประเทศบัญญัติมิให้มีการกำหนดอายุความต่อการทรมาน และการกระทำทารุณกรรมอื่นๆ และหากมีการกระทำให้บุคคลสูญหาย อายุความจะเริ่มนับได้หลังจากที่ความผิดนั้นสำเร็จแล้ว นั่นหมายถึงมีการระบุชะตากรรมและถิ่นที่อยู่ของผู้สูญหายได้อย่างแน่ชัดแล้ว”

ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น: อายุความของคดีต้องไม่ปฏิเสธความยุติธรรมที่มีต่อเหยื่อตากใบ

People visit an exhibition commemorating the 20-year anniversary of the October 2004 incident known as the “Tak Bai massacre” when scores of Muslim protesters suffocated in Thai army trucks, at the Patani Artspace gallery in Thailand’s southern Pattani province on October 25, 2024. Survivors of one of Thailand’s most notorious massacres on October 25 joined the families of 78 victims who suffocated to death in army trucks to voice anger that those responsible will never be brought to justice. AFP

“ครอบครัวของผู้เสียหายต่างรอคอยเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษเพื่อความยุติธรรม เราเรียกร้องให้รัฐบาลกระทำการอย่างเร่งด่วนเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าของการรับผิดรับชอบอีกต่อไป และเพื่อให้สิทธิการรับรู้ความจริง ความยุติธรรม และการเยียวยาได้รับการเคารพ”

ผู้เชี่ยวชาญยังเรียกร้องให้มีการสอบสวนชะตากรรมและถิ่นที่อยู่ของผู้สูญหายเจ็ดคนจากเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ส่งหนังสือแสดงความห่วงกังวลต่อกรณีดังกล่าวไปยังรัฐบาลไทยด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน