พบกลุ่มปะการัง “ใหญ่สุดในโลก” – บีบีซี รายงานการค้นพบ “ปะการังกลุ่มใหญ่ที่สุดในโลก” ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งอาจมีอายุยืนยาวนานกว่า 300 ปี

The largest coral ever recorded has been found by scientists in the southwest Pacific Ocean. The mega coral – which is a collection of many connected, tiny creatures that together form one organism rather than a reef – could be more than 300 years old. Photograph by Manu San Félix, National Geographic Pristine Seas
นายมานู ซาน เฟลิกซ์ ช่างภาพวิดีโอของทีมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ผู้พบปะการังยักษ์โดยบังเอิญขณะล่องเรือในทะเลไกลโพ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อศึกษาผลกระทบจากภาวะโลกรวน กล่าวว่าระหว่างที่ดำน้ำลงไปในบริเวณที่แผนที่ชี้ว่ามีซากเรืออับปางก็เห็นอะไรบางอย่างขนาดใหญ่กว่าวาฬสีน้ำเงิน จึงเรียกนายอินิโก ลูกชาย และคู่หูดำน้ำ ให้ดำลงไปดูว่าคืออะไรกันแน่
สิ่งที่เห็นคือ ก้อนปะการังขนาดมหึมาใต้ทะเลในเขตประเทศหมู่เกาะโซโลมอน ตนรู้สึกตราตรึงราวกับเห็นมหาวิหารใต้ทะเล ปะการังกลุ่มนี้คงอยู่มานานหลายร้อยปีตั้งแต่สมัยจักรพรรดินโปเลียนยังมีชีวิต

It was found by a videographer working on a National Geographic ship visiting remote parts of the Pacific to see how it has been affected by climate change. Manu San Felix, National Geographic Pristine Seas
ด้านนักวิทยาศาสตร์ในคณะสำรวจใช้เทปวัดขนาดปะการังพบว่ามีความกว้าง 34 เมตร ยาว 32 เมตรและสูง 5.5 เมตรและจัดอยู่ใน “สายพันธุ์พาโวนา คลาวุส” (Pavona clavus) ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “สถาปนิกแห่งท้องทะเล” เพราะรวมตัวกันเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของกุ้ง ปู ปลา และสัตว์ทะเลอื่นๆ ด้วย
รายงานของสภาเศรษฐกิจโลกระบุว่าปะการังหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและการทำประมง ปัจจุบันปะการังทั่วโลกได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ปะการังก้อนใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในน้ำลึกกว่าแนวปะการังบางกลุ่มจึงรอดพ้นจากอุณหภูมิน้ำในระดับผิวน้ำทะเลซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าได้

พบกลุ่มปะการัง “ใหญ่สุดในโลก” – Scientists on the expedition measured the coral using a type of tape measure under water. It is 34m wide, 32m long and 5.5m high. Globally coral is facing severe pressures as oceans warm with climate change. Manu San Felix, National Geographic Pristine Seas
ข่าวการค้นพบปะการังขนาดมโหฬารได้รับการประกาศในช่วงเวลาเดียวกันกับการประชุมสมัชชาภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 29 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน
นายเทรเวอร์ มาเนมาฮากา รัฐมนตรีกระทรวงสภาพอากาศของหมู่เกาะโซโลมอน กล่าวในการประชุมว่าโซโลมอนภูมิใจอย่างยิ่งกับการค้นพบปะการังและอยากให้โลกรู้ว่าจำเป็นต้องคุ้มครองปะการังนี้ ชาวโซโลมอนพึ่งพาทรัพยากรทางทะเลเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงประเทศ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและจะไม่แสวงหาผลประโยชน์จากปะการังอย่างแน่นอน
ประเทศหมู่เกาะเล็กๆ อย่างโซโลมอนต้องเผชิญความเสี่ยงจากภาวะโลกรวนโดยตรงเพราะทำให้เกิดพายุไซโคลนกำลังแรงขึ้นและกัดเซาะแนวชายฝั่งส่งผลให้บ้านเรือนพังพินาศตกลงไปในทะเล ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยช่วยเหลือทางการเงินเพื่อรับมือกับผลกระทบจากโลกร้อน

พบกลุ่มปะการัง “ใหญ่สุดในโลก” – Corals are made of hundreds of thousands of living organisms called polyps, each with its own body and mouth, which grow together as a colony. photograph by Manu San Félix, National Geographic Pristine Seas
นายมาเนมาฮากากล่าวด้วยว่าการเงินสนับสนุนที่หมู่เกาะโซโลมอนได้รับเพิ่มขึ้นจะช่วยให้ประชาชนมีงานทำหลากหลายมากขึ้น จนเหลือคนส่วนน้อยที่ยังทำงานในอุตสาหกรรมซึ่งทำร้ายแนวปะการังเพราะการตัดไม้เป็นรายได้หลักของการส่งออกถึงร้อยละ 50-70 แต่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำในระดับสูงซึ่งส่งผลเสียต่อปะการัง
ด้าน นายอีริก บราวน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านปะการังของทีมวิจัยแนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก กล่าวว่ากลุ่มปะการังใหญ่มีสภาพค่อนข้างดีและเป็นสัญญาณแห่งความหวัง ต่างจากแนวปะการังน้ำตื้นในบริเวณใกล้เคียงที่ทรุดโทรมเพราะน้ำทะเลอุ่นขึ้น
รายงานขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) ที่เผยแพร่สัปดาห์นี้ระบุว่าปะการังที่อยู่ในเขตน้ำอุ่นเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ซึ่งเพิ่มขึ้น 1 ใน 3 นับตั้งแต่มีการประเมินครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551

FILE PHOTO: Bleached corals are seen in a reef in Koh Mak, Trat province, Thailand, May 8, 2024. This year so far the country’s weather recorded the highest temperature at 44.2 degrees Celsius affecting the seawater temperature as well. REUTERS/Napat Wesshasartar/File Photo
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: