เมื่อวันที่ 12 เม.ย. บีบีซีรายงานคดีสะเทือนขวัญ ด.ญ. อาซิฟะ บาโน เด็กหญิงชาวมุสลิมวัย 8 ขวบ จากชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ถูกข่มขืนฆ่าอย่างทารุณ ขยายความลุกลามเป็นคดีความขัดแย้งระหว่างชนต่างศาสนาในแคว้นจัมมู-แคชเมียร์ พื้นที่พิพาทระหว่างอินเดียกับปากีสถาน เมื่อเจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยเป็นชายชาวฮินดู 8 คน

คดีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี นายมูฮัมเหม็ด ยูซูฟ ปูจะวาละ วัย 52 ปี พ่อเหยื่อ ได้รับข่าวสารจากเพื่อนบ้านเมื่อวันที่ 17 ม.ค. ว่า เจอศพลูกสาววัย 8 ขวบ นอนตายอยู่ในพงหญ้า ใต้ร่มไม้ของป่าใหญ่ หลังจากครอบครัวตามหาลูกตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค.

พื้นเพของครอบครัวนี้เป็นสมาชิกชนเผ่ากุจจาร์ ซึ่งเป็นเผ่าเร่ร่อน เลี้ยงสัตว์เดินทางข้ามไปมาระหว่างหุบเขาในแคว้นจัมมู แคชเมียร์ ซึ่งนายปูจะวาละ

นายมูฮัมเหม็ดกล่าวทั้งน้ำตาว่า ไปแจ้งความตำรวจตั้งแต่ทีแรก ตำรวจไม่ให้ความร่วมมือ หนำซ้ำยังพูดไมดีว่า ลูกสาวตนอาจจะหนีตามเด็กชายคนอื่นไปแล้วก็ได้

/Free Press Kashmir

เมื่อเรื่องราวถูกแพร่ขยายออกไปได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ชนเผ่าชาวกุจจาร์พากัรรวมตัวกันมาปิดถนนหลวงเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเหยื่อ และหลังจากนั้น 5 วันก็เจอศพของเด็กหญิง บาโน ในสภาพที่ถูกทรมาน ขาหัก

ทนายฮินดูพยายามรวมตัวกันขวางไม่ให้ตำรวจยื่นส่งเรื่องแก่ศาล / SAMEER YASIR

ต่อมาวันที่ 23 ม.ค. มุขมนตรีของแคว้นจัมมู แคชเมียร์สั่งให้หน่วยตำรวจพิเศษของรัฐดูแลเรื่องนี้ จนกระทั่งสามารถจับกุมชายได้ 8 คน ประกอบด้วย นายสานจี รัม อดีตข้าราชการวัย 60 ปี ผู้วางแผน รวมไปถึงหลานชายไม่ระบุชื่อ ลูกชายของนายรัม คือนายวิชัล และนายประเวช เพื่อนนายวิชัล

นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 คนมีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นายซูเรนเดอร์ เวอร์ม่า นายอนันต์ ดุตตะ นายทิลัก ราช และนายคาจูเรีย

แต่หลังจากจับกุมผู้ต้องสงสัยแล้ว กลับมีชาวฮินดูมาชุมนุมประท้วง รวมไปถึงมีนักการเมืองหนุนหลัง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทนายที่พยายามประท้วง ขวางไม่ให้ตำรวจเดินทางยื่นสำนวนคดีต่อศาล

ชาวกุจจาร์รวมตัวประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรม

คดีดังกล่าวถูกตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีต้นตอมาจากเรื่องที่ดินด้วย นายตาลิบ ฮุสเซน นักเคลื่อนไหวจากชนเผ่าและนักกฎหมาย ระบุว่า กลุ่มคนผู้ต้องสงสัยกำลังไล่ที่ชาวกุจจาร์ให้ออกไปจากแคว้นจัมมู ซึ่งสัตว์ที่ชนเผ่านี้เลี้ยงไปรบกวนบรรดาชาวบ้านฮินดูที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนก ตกใจให้กับชุมชนพื้นที่ รวมไปถึงผู้รับข่าวในปากีสถานและอินเดียเป็นอย่างมาก และสั่นสะเทือนไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างปากีสถานกับอินเดีย เนื่องจากแคว้นจัมมู ซึ่งมีประชากรชาวฮินดูส่วนใหญ่ และแคชเมียร์ที่มีชาวมุสลิมอยู่จำนวนมาก เป็นพื้นที่พิพาทของทั้งสองประเทศ และมีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอินเดียตั้งแต่ปี 2532

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน