ชายวัย 41 ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เล่าสัญญาณเตือนขั้นแรก ควรสังเกตอย่าเพิกเฉย ไม่ควรมองข้าม
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของสมอง ทำให้เกิดการสูญเสียความทรงจำ ความสับสน และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ถือเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
แต่ใช่ว่าอายุยังน้อยจะไม่เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ โดยนายเฟรเซอร์ คุณพ่อชาวออสเตรเลียวัย 41 ปี แชร์อุทาหรณ์ หลังได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะแรก เล่าอาการสัญญาณแรก ทุกคนไม่ควรละเลย
เฟรเซอร์ เล่าว่า เขาได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่อแปดเดือนที่แล้ว และเขาคิดว่าอาการน่าจะเริ่มขึ้นก่อนหน้านั้นประมาณสองปีครึ่ง เขาจำไม่ได้ว่าเคยดูหนังเรื่องนี้ไปแล้วรึเปล่า ทั้งๆ ที่เขาดูไปแล้ว จำไม่ได้แม้กระทั่งตอนจบของเรื่อง ตอนนั้นเขาไม่ได้เอะใจคิดว่า อาจจะแค่หลงลืมของความจำ

ภาพประกอบ
อย่างไรก็ตาม ต่อมา เขาเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้โดยทั่วไปมากขึ้น จนกระทั่งไม่กี่เดือนก่อนการวินิจฉัย เขาสังเกตว่า ตัวเองมีปัญหาในการคิด หรือการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง เขาพบว่าตัวเองคิดแบบผิวเผินและแบบตื้นเขินมากขึ้น
หนึ่งในเหตุการณ์ที่น่ากังวลที่สุดสำหรับเฟรเซอร์ คือ เมื่อเขาออกจากบ้าน เพื่อตามหาลูกสาวช่วงกลางดึก เพราะเธอไม่รับโทรศัพท์ แม้ว่าเธอจะบอกเขาก่อนหน้านี้ว่าเธอจะไปดูหนังก็ตาม
“ฉันจำได้ว่าครั้งหนึ่งตอนนั้นยังเช้าอยู่ ลูกสาวบอกฉันหลายครั้งว่า เธอจะไปดูหนังกับเพื่อนในคืนนั้น และจะกลับบ้านดึกหน่อย แต่พอตกดึก ฉันก็เริ่มวิตกกังวล คิดว่า ‘ลูกสาวของฉันอยู่ไหน’ ”
“ผมกำลังขับรถไปที่เมืองใกล้ๆ เพื่อถามหาลูกสาวจากเพื่อนคนอื่นๆ ของเธอ ว่าพวกเขาเห็นเธอมั้ย เขากังวลใจถึงกระทั่งที่เกือบจะโทร.แจ้งตำรวจ เพราะเขาติดต่อเธอไม่ได้เลย สุดท้ายลูกสาวโทร.หาพ่อและพูดกับเขาว่า ‘เฮ้ พ่อ ฉันเพิ่งไปดูหนังมา จำได้ไหม ฉันบอกพ่อไปแล้ว’”
ตอนนี้เฟรเซอร์รับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกันนี้ โดยลูกสาวจะส่งข้อความให้เขา เพื่อบอกเขาว่าวันนี้เธอจะทำอะไร จะไปที่ไหนบ้าง เพื่อจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายเหมือนเช่นเดิมอีก

ภาพประกอบ
แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญสามารถระบุตัวบ่งชี้สำคัญบางอย่างได้ รวมถึงการศึกษาล่าสุดที่ชี้ให้เห็นว่า การรบกวนช่วง REM ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับช่วง REM โดยอาจมีช่วง REM ที่ลดลงหรือผิดปกติ ซึ่งถือเป็นสัญญาณเตือนอาการที่พบได้ในโรคนี้
สำหรับการเคลื่อนไหวตาอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movement หรือ REM) คือ ช่วงหนึ่งของวงจรการนอนหลับที่มีลักษณะเฉพาะ โดยมีการเคลื่อนไหวของลูกตาอย่างรวดเร็วไปมาใต้เปลือกตาที่ปิดอยู่ มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของสมอง
ในแต่ละคืน เราจะผ่านวงจรการนอนหลับประมาณ 4-6 รอบ โดยแต่ละรอบจะมีช่วง REM และช่วงที่ไม่ใช่ REM (Non-REM) สลับกันไป ช่วง REM จะเกิดขึ้นทุกๆ 90-120 นาที และมักจะยาวนานขึ้นในช่วงท้ายของการนอน
ทั้งนี้ โรคอัลไซเมอร์ที่เริ่มมีอาการตั้งแต่เนิ่นๆ อาจเกิดขึ้นได้กับคนอายุเพียง 30-40 ปี แม้จะยังไม่มีวิธีรักษา แต่การวินิจฉัยได้และได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็สามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ ซึ่งตามข้อมูลของ NHS ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 1 ใน 13 รายมีอายุต่ำกว่า 65 ปี