ไม่ถอย !’ขนส่ง-ตร.’ ดันกฎหมาย ไม่พกใบขับขี่ปรับ 5 หมื่น ชี้คนไม่เคารพกฎกันเอง

ไม่ถอย / เมื่อเวลา 10.20 น. วันที่ 24 ส.ค. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก รศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือเอไอที นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ จากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทาง ถนน มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ ผกบ.ส.3 ในฐานะคณะทำงาน แก้ไขปัญหาจราจร และพ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รอง โฆษกตร.

ร่วมแถลงกรณี มีการปรับแก้กฎกมายด้านจราจร โดยมีการปรับพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติการขนส่ง ทางบก พ.ศ.2522 ออกเป็นร่างกฎหมายฉบับเดียวกัน โดยมีการเพิ่มโทษในความผิดเกี่ยวกับการพกพาใบอนุญาตขับขี่ โดยโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม

นายกมล กล่าวว่า การยกร่างกฎหมายนี้เป็นการปรับเนื้อหาให้มีความทันสมัยและให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีส่วนในการสร้างความตระหนักและรับผิดชอบต่อสังคม ข้อมูลศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย พบว่ากลุ่มผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ มีโอกาสการเสียชีวิตร้อยละ 34 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ถึงสองเท่า

เพื่อให้ผู้ขับขี่ตระหนักและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดและเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดอุบัติเหตุและความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของ กรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งรวมเข้าเป็นฉบับเดียวกัน โดยปรับปรุงรายละเอียดของกฎหมายให้เป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับพฤติกรรมของผู้ขับขี่ให้มากขึ้น

รวมถึงปรับบทลงโทษกรณีผู้ขับขี่กระทำผิด โดยความผิดเกี่ยวกับการขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ เสนอให้ปรับโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

จากเดิมที่ปัจจุบันตามพ.ร.บ.รถยนต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท และพ.ร.บ.ขนส่ง จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หากเปรียบเทียบกันแล้ว เมื่อควบรวมกกฎหมาย 2 ฉบับโทษเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย” รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก

นายกมล กล่าวอีกว่า ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฉบับใหม่อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา การเสนอแก้ไขปรับเพิ่มโทษกรณีความผิดดังกล่าวจะทำให้การพิจารณาโทษตามฐานความผิดอยู่ในดุลพินิจของชั้นศาล ซึ่งจะทำให้ ผู้ขับขี่ตระหนักและปฏิบัติตามกฎจราจรมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการเพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น ส่วนสำคัญอยู่ที่ผู้ขับขี่ ซึ่งต้องตระหนักถึงความปลอดภัยและนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังอย่างทั่วถึง ส่วนกรณีที่มีข้อคิดเห็นคัดค้าน วิพากษ์วิจารณ์จากประชาชน จะมีการรวบรวมข้อมูลและส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป ยืนยันการปรับแก้เพิ่มโทษผ่านศึกษารวมรวมข้อมูลทางวิชาการแล้วและปรับให้ทัดเทียมมาตรฐานสากลด้วย

พล.ต.ต.เอกรักษ์ กล่าวว่า ตำรวจมีความจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายการขับขี่สาธารณะเพื่อคุ้มครองชีวิตของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ที่ผ่านมาตำรวจก็เข้มงวดเรื่องการจับยึดใบอนุญาตชับขี้ แต่โทษปรับไม่เกิน 1 พันบาท ถือเป็นลหุโทษ ปรับในชั้นตำรวจได้ ประชาชนไม่เกรงกลัว ยึดก็เอาคืน ปรับก็ไม่สนใจ ไม่มีก็ขับรถต่อไป เรียกว่าไม่เกรงกลัว จึงต้องมีการเพิ่มโทษให้หนักขึ้น

ปรับในชั้นตำรวจไม่ได้แล้ว ต้องทำสำนวนส่งอัยการ ส่งศาล ปรับหรือจำคุกตามแต่ดุลพินิจ เพื่อประชาชนเคารพกฎหมายมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของประชาชนนั่นเอง ยอมรับว่าตลอดระยะเวลา 39 ปีที่มีการใช้กฎหมาย ประชาชนไม่มีความเกรงกลัว และฝ่าฝืนกฎหมายเรื่อยมา

ส่วนข้อครหาเป็นช่องว่างให้ตำรวจเรียกรับผลประโยชน์นั้น ยืนยันว่าสำนักงานำตำรวจแห่งชาติ มีมาตรการควบคุมและลงโทษ อย่างเด็ดขาด ล่าสุด พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.ก็ออกคำสั่งให้ตำรวจจราจรทั่วประเทศต้องเปิดเผยตัวตน ห้ามอำพรางใบหน้ากับประชาชน ห้ามซุ่มจับห้ามเป็นนินจา หากประชาชนยังพบเปิดโอกาสให้ประชาชนร้องเรียนได้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่จราจรปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใส

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน