กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี แจ้งประชาสัมพันธ์ เตือนประชาชนท้ายเขื่อน เตรียมรับมือน้ำหนุนสูง เพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อน

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี ออกประกาศลงวันที่ 26 ก.ย.64 ได้รับแจ้งจากกรมชลประทาน ว่าที่ผ่านมามีฝนตกสะสม ต่อเนื่องบริเวณประเทศไทยตอนบน และกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ในช่วงวันที่ 26 – 30 กันยายน 2564 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ทําให้ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคกลาง และส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราเพิ่มมากขึ้น

โดยคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลผ่าน สถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 2,400 – 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งกรมชลประทาน ได้ใช้การบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งตัดยอดน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำทั้งสองฝั่ง แต่ยังคงจําเป็นต้องปรับเพิ่มปริมาณน้ำ ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ระหว่าง 2,000 – 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะค่อยๆ ทยอยเพิ่มการระบายน้ำเป็นลําดับ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 0.30 – 1.00 เมตร ในช่วงวันที่ 26 – 29 กันยายน 2564

ภาพ เขือนเจ้าพระยาจากกรมชลประทาน

ภาพ เขือนเจ้าพระยาจากกรมชลประทาน เช้าวันนี้ (27ก.ย.64)

ซึ่งพิจารณาแล้วเพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว ขอให้ท่านดําเนินการ ดังนี้

1.) ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เกษตรกร ที่ประกอบอาชีพประมง เพาะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริษัทห้างร้าน ที่ประกอบกิจการ ในแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิเช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น ร่วมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทราบถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบัน และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ประตูระบายน้ำ จุฬาลงกรณ์ (27ก.ย.)

ประตูระบายน้ำ จุฬาลงกรณ์ (27ก.ย.)

2.) กําชับผู้อํานวยการท้องถิ่นในพื้นที่ให้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ข้อมูลข่าวสารตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ที่น้ำตอนบนไหลผ่าน (น้ำเหนือ) และมีฝนตกสะสม พร้อมทั้งประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในพื้นที่เตรียมความพร้อม กําลังพล วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร และยานพาหนะ ให้พร้อมปฏิบัติงาน อํานวยความสะดวก และให้ความช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง

2.) หากเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ให้รายงานสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทราบทันที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-581-3120

3.) ให้แจ้งผู้อํานวยการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทราบ และถือปฏิบัติ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน