สสจ.จันทบุรี แจงแล้ว ปมพบ ท้องเสียทั้งจังหวัด เผย จากอากาศเปลี่ยนแปลง-น้ำดื่ม-อาหาร เตรียมส่งชุดเฉพาะกิจสุ่มตรวจ แนะ ปชช. 5 ข้อป้องกันตนเอง

วันที่ 29 ธ.ค.2564 ที่ห้องรับรองสำนักงานสาธารณสุขจันทบุรี นพ.อภิรักษ์ พิศุทธ์อาภรณ์ นายแพทย์สาธารณสุข แถลงชี้แจงกรณีพบผู้ป่วยมีอาการท้องเสียพร้อมกันเป็นจำนวนมาก จนเกิดวิกฤตเตียงเต็มเกือบทุกโรงพยาบาลในเขตอ.เมือง จ.จันทบุรี จนมีการแชร์ข่าวว่าเป็นปรากฏการณ์ท้องเสียหมู่
โดยไม่ทราบสาเหตุ ว่า สาเหตุหลักเกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ตลอดจนน้ำดื่ม น้ำแข็ง และอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุ

นพ.อภิรักษ์ กล่าวต่อว่า โดยผู้ป่วยท้องเสียที่พบจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ที่พบส่วนหลักจะเป็นในกลุ่มเด็ก กลุ่มคนวัยทำงาน และกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยจะมีตัวเลขการพบผู้ป่วยท้องเสียในระยะนี้ เฉลี่ยวันละประมาณ 200 คน รวมทั้งจังหวัด แต่ในปีนี้อาจจะมีตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละกว่า 200 คน และพบมากในเขต อ.เมือง ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่วัยทำงาน และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด

สสจ.จันทบุรี แจงแล้ว ปมพบ ท้องเสียทั้งจังหวัด เผย จากอากาศเปลี่ยนแปลง-น้ำดื่ม-อาหาร เตรียมส่งชุดเฉพาะกิจสุ่มตรวจ

สสจ.จันทบุรี แจงแล้ว ปมพบ ท้องเสียทั้งจังหวัด เผย จากอากาศเปลี่ยนแปลง-น้ำดื่ม-อาหาร เตรียมส่งชุดเฉพาะกิจสุ่มตรวจ

นพ.อภิรักษ์ กล่าวอีกว่า ส่วนโรงพยาบาลต่างอำเภอ ยังไม่พบรายงานมีผู้ป่วยท้องเสียเป็นกลุ่มใหญ่ ส่วนสาเหตุที่มีวิกฤตเตียงเต็มเกือบทุกโรงพยาบาล ในเขตอำเภอเมือง เนื่องจากมีผู้ป่วยอาการท้องเสียเข้ามารับการรักษาพร้อมกัน โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน

ทั้งนี้ เป็นในส่วนของผู้ป่วยที่มีประกัน ซึ่งมีกำลังพอที่จะใช้สิทธิ์เข้ารับการักษาในโรงพยาบาลเอกชน แต่ทั้งนี้ในส่วนของโรงพยาบาลพระปกเกล้า ซึ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลต่างอำเภอใกล้เคียง ยังมีเตียงว่างรองรับผู้ป่วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย หากแพทย์วินิจฉัยพบว่ามีอาการหนักก็จะให้นอนพักรับการรักษาตามสิทธิ

อ่านข่าว : เกิดอะไรขึ้น ? จันทบุรี ประชาชนในหลายพื้นที่ พร้อมใจกัน “ท้องเสีย”

“และเพื่อเป็นการหาความชัดเจน ในวันนี้จะมีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่เฉพาะกิจ ลงพื้นที่ตรวจสอบแหล่งผลิตน้ำดื่ม น้ำแข็งทุกแห่งใน จ.จันทบุรี ซึ่งกำลังของเจ้าหน้าที่จะสามารถเข้าตรวจสอบได้ทั่วถึง แต่ในส่วนของร้านค้าขายอาหารสด อาหารทะเล จะมีการลงพื้นที่สุ่มตรวจ เนื่องจากกำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ทั้งนี้ เพื่อนำผลตรวจสอบมาวินิจฉัยหาสาเหตุ” นพ.อภิรักษ์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังแนะนำประชาชนป้องกันการเกิดโรคท้องเสียเฉียบพลันการ คือ 1.ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ อย่างน้อย 20 วินาที 2.ดื่มน้ำ/น้ำแข็งที่สะอาด 3.รับประทานอาหารที่ปรุงสุก 4.ควรอุ่นอาหารที่ค้างมื้อก่อนรับประทาน และ 5.ล้างผักผลไม้ก่อนนำมารับประทานเสมอ

และหากพบว่ามีอาการท้องเสีย การรักษาเบื้องต้นให้รักษาตามอาการ เช่น ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าใกล้บ้าน

หากมีอาการรุนแรงโดยมีการอาเจียนร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อป้องกันภาวะช็อกจากการขาดน้ำ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน