นายกสภาทนาย สั่งแจ้งความเอาผิด พ่อค้าไก่หมุน แอบอ้างเป็นทนายความ ดอดว่าความในศาลกำแพงเพชร คดีอาญาหลายข้อหา แถมยังละเมิดอำนาจศาล

จากกรณีมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม ทนายอาสา ปรึกษาในกลุ่มฟรี โดยทนายอาชีพและเป็นทนายความอาชีพ มีสมาชิกในกลุ่มมากกว่า 5 หมื่นคน เผยเรื่องราวที่ ชายรายหนึ่งแอบอ้างเป็นทนายความ ขึ้นว่าความในศาลหลายคดี ล่าสุดเพิ่งชนะอัยการ นอกจากนี้ ยังมีบันทึกการตรวจสอบประวัติทนายความซึ่งระบุว่าชายดังกล่าว “ไม่ปรากฏชื่อในทะเบียนทนายความ” อีกด้วย ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น อ่านข่าว : แม่ แฟรงค์ อบาเนลเมืองไทย เผย ไม่รู้ลูกปลอมเป็นทนาย ไม่อยากให้ติดคุก

ล่าสุดวันที่ 5 ต.ค.2565 ที่สภาทนายความ ถ.บางเขน นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายสุนทรพยัคฆ์ เลขาธิการสภาทนายความ และ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช รองโฆษกสภาทนายความ ร่วมกันแถลงกรณี “พ่อค้าไก่หมุน” ปลอมเป็นทนายความไปว่าความคดีในศาลจังหวัดกำแพงเพชร ว่า จากการตรวจสอบแล้วในเบื้องตันพบว่าบุคคลที่แอบอ้างไม่ได้เป็นทนายความ ดังนั้นการกระทำของบุคคลดังกล่าวเข้าข่ายการกระทำความผิดกฎหมายอยู่ในหลายบท

นายกสภาทนาย สั่งแจ้งความเอาผิด พ่อค้าไก่หมุน แอบอ้างเป็นทนายความ ดอดว่าความในศาลกำแพงเพชร

นายกสภาทนาย สั่งแจ้งความเอาผิด พ่อค้าไก่หมุน แอบอ้างเป็นทนายความ ดอดว่าความในศาลกำแพงเพชร

นายวิเชียร กล่าวต่อว่า ส่วนแรกเกี่ยวกับสภาทนายความ เข้าข่ายการกระทำความผิดมาตรา 33 ซึ่งกำหนดไว้ว่าห้ามมิให้บุคคลที่ไม่ได้เป็นทนายความหรือถูกพักหรือถูกลบชื่อจากการจะใช้ความไปว่าความในศาลรวมทั้งยื่นคำร้องคำฟ้องต่าง ๆ ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีโทษตามมาตรา 82 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นายวิเชียร กล่าวอีกว่า ในส่วนของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เข้าข่ายการกระทำความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 264 และ 268 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เนื่องจากใบอนุญาตทนายความเป็นสมาร์ทการ์ดแล้วก็ในบัตรอนุญาตทนายความนั้นจะปรากฏลายมือชื่อของนายกสภาทนายความและนายทะเบียนสภาทนายความ อ่านข่าว : สภาทนายความ ออกแถลงปมทนายพ่อค้าไก่หมุน สั่งดำเนินคดีเอาผิดซ้ำเด็ดขาด

ซึ่งเป็นลายมือชื่อหรืออิเล็กทรอนิกส์อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 269/1 มีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท และความผิดตามมาตรา 269/4 ซึ่งระหว่างโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีหรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

นายวิเชียร กล่าวว่า พฤติกรรมดังกล่าวยังเป็นการไปหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อว่าตนเองเป็นทนายความการกระทำดังกล่าวก็จะเข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกงและอาจจะส่งผลไปถึงฉ้อโกงประชาชนได้เพราะผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก กระทำดังกล่าวสภาทนายความให้ความช่วยเหลือเนื่องจากเป็นความเดือดร้อนทั้งหมด

“นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวยังเป็นการละเมิดอำนาจศาลอีกด้วย โดย ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้สั่งการให้นายทะเบียนทนายความเป็นผู้รับมอบอำนาจไปดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อให้ทางพนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่ดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างกับบุคคลทั่วไปที่จะมาแอบอ้างการประกอบวิชาชีพทนายความต่อไป” นายวิเชียร กล่าว

นายวิเชียร กล่าวอีกว่า จากประสบการณ์ครั้งนี้ถือว่ารุนแรง เป็นการกระทำที่อุกอาจและร้ายแรงมาก ส่วนผลของคำพิพากษาบางคดีทราบว่าศาลได้พิพากษาไปแล้ว บางคดีถึงที่สุด ซึ่งตรงนี้ถือเป็นดุลยพินิจของศาลว่าจะพิจารณาต่อไปแบบไหนอย่างไร ส่วนคดีที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณา ศาลสามารถเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผ่านมาได้ เพราะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณามิชอบ โดยจะให้เริ่มแต่งตั้งทนายความที่แท้จริงเข้ามาใหม่

นายวิเชียร กล่าวต่อว่า ปกติการที่ทนายความจะเข้าดำเนินการว่าความในศาลจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากลูกความและไปยื่นคำร้องต่อศาล พร้อมกับสำเนาใบประกอบวิชาชีพทนายความเป็นหลักฐานว่าเป็นทนายความถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับอนุญาตให้ว่าความเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศาลได้ตรวจสอบ

นายวิเชียร กล่าวว่า จริง ๆ แล้วเรามีความตั้งใจว่าข้อมูลของสภาทนายความและศาลยุติธรรมจะต้องเชื่อมโยงกันเพื่อให้มีการตรวจสอบเวลามีการแต่งตั้งทนายความเข้าไปในคดี ศาลสามารถตรวจสอบได้ อันนี้จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลักษณะนี้ขึ้นอีก ขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินการ แต่เป็นแนวคิดที่ตนเองจะเข้าไปพูดคุยกับทางสำนักงานศาลยุติธรรมต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน