เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 14 พ.ย. ที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่กองพิธีการ สำนักพระราชวัง ชี้แจงข้อมูลก่อนจะเริ่มพิธีบวงสรวงตัดไม้จันทน์หอม โดยมีนายวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง เป็นประธานพิธีประกอบพิธีบวงสรวงขอขมาเทพเทวาอารักษ์ เพื่อขออนุญาตในการตัดไม้จันทน์หอม เพื่อจัดสร้างพระโกศ ทรงพระบรมศพเหนือพระจิตกาธานบนพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง โดยการส่งมอบไม้จันทน์หอมจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนกรรมวิธีต่างๆ เป็นเรื่องที่กรมอุทยานฯ จะดำเนินการ

201611141632412-20030315182530

ทั้งนี้มีการตั้งเครื่องสังเวยเทพเทวาอารักษ์ ก่อนจะเริ่มพิธีตัดไม้จันทน์หอมจำนวน 12 ต้น จาก 19 ต้น ที่กรมอุทยานฯ ได้คัดเลือกเอาไว้ ตามฤกษ์ช่วงเวลาระหว่าง 14.09-14.39 น. โดยที่บริเวณโต๊ะเครื่องสังเวยเริ่มพิธีด้วยการหลั่งน้ำเทพมนต์จากพระมหาสังข์ จากนั้น โหรหลวงลงแป้งเจิม ลั่นฆ้องชัยบัณเฑาะว์ โหรหลวงให้ประธานหลั่งน้ำเทพมนต์ที่ขวานทอง และเจิมต้นไม้จันทน์หอมใกล้โต๊ะสังเวยพร้อมปักธูปเทียน โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที จากนั้นพรมน้ำเทพมนต์และใช้ขวานทองฟันที่ต้นไม้จันทน์หอม เป็นปฐมฤกษ์ 3 ครั้ง ประโคม และโปรยข้าวตอกดอกไม้ โดยดำเนินการตามขั้นตอนนี้ทั้ง 12 ต้นจนครบ

%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89_6398

สำหรับพระราชพิธีต่างๆ จะต้องยึดหลัก เป็นระเบียบ ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ และสะอาดเรียบร้อย เชื่อว่าเมื่อทำแล้วจะเกิดความเป็นสวัสดิมงคล อุปกรณ์ที่นำมาประกอบพิธีทุกอย่างต้องเข้าหลักการดังกล่าว ส่วนขวานทองที่ใช้ตัดต้นไม้เป็นปฐมฤกษ์ เป็นขวานทำจากโลหะพ่นสีทอง เพื่อให้เกิดความสวยงาม ซึ่งขวานด้ามดังกล่าว เคยใช้ตัดต้นไม้จันทน์หอมในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์ และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มาแล้ว

%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89_6431

ต่อมาเวลา 14.09 น. นายวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายจำลอง ยิ่งนึก ผู้อำนวยการกองราชพิธี สำนักพระราชวัง นายฉัตรชัย ปิ่นเงิน หัวหน้างานโหรพราหมณ์ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เดินทางมายังบริเวณปะรำพิธี บริเวณชายป่าใกล้อ่างเก็บน้ำย่านซื่อ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ กุยบุรี ประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อประกอบพิธีบวงสรวงตัดไม้จันทน์ตามโบราณราชประเพณี โดยมีประชาชนมาร่วมในพิธีอย่างคับคั่ง ซึ่งการประกอบพิธีเป็นไปอย่างราบรื่น

%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89_1929

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อดำเนินการตัดไม้จันทน์หอมแล้วเสร็จ กรมศิลปากรจะขอให้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช แปรรูปไม้จันทน์หอมให้ได้ตามขนาดต่างๆ ก่อนส่งมาเก็บไว้ใช้งาน ตามที่ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กำหนดแบบการจัดสร้าง เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานและการเลื่อยฉลุลวดลายไทย ซึ่งระหว่างนั้น คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเป็นผู้ตรวจสอบอายุไม้ ขนาดไม้ และความสมบูรณ์เหมาะสมของไม้จันทน์หอม

%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89_9180

ในเบื้องต้นกองราชพิธี สำนักพระราชวัง คาดว่าไม้จันทน์หอมที่ทำพิธีตัดในวันนี้ จะเพียงพอสำหรับใช้ก่อสร้างพระบรมโกศ ทรงพระบรมศพ เหนือพระจิตกาธานบนพระเมรุมาศ ทั้งนี้ ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มาจดบันทึกเหตุการณ์พิธีบวงสรวงตัดไม้จันทร์หอมในครั้งนี้ด้วย คาดว่ากรมอุทยานฯ จะแปรรูปและส่งมอบไม้ให้กรมศิลปกรประมาณปลายเดือนธ.ค.นี้ ก่อนที่กรมศิลปกรจะเริ่มสร้างพระโกศไม้จันทน์ช่วงต้นเดือนม.ค.2560

%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89_4709

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับในพื้นที่อุทยานฯ กุยบุรี เคยใช้ไม้จันทน์หอมนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระศพพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง และในงานเกี่ยวเนื่องกับพระศาสนาเท่านั้น

%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89_2036

ส่วนการจัดสร้างพระโกศสมัยโบราณ จะนำไม้จันทน์หอมมาเป็นฟืนเผาศพ แต่สำหรับพระมหากษัตริย์พระบรมวงศานุวงค์ จะถูกนำมาแปรรูปจากท่อนฟืนขึ้นเป็นลวดลายขึ้นเป็นพระโกศไม้จันทน์ มีการเลื่อยเป็นแผ่นบางๆ ติดแบบทำการฉลุลาย จากนั้นนำมาประกอบติดกับโครง ซึ่งโบราณจะใช้โครงไม้ แต่ปัจจุบันดัดแปลงมาเป็นลวดเหล็กบุตาข่าย เพื่อความสะดวกในการจัดสร้าง ลวดลายที่ใช้ประกอบมีทั้งสิ้น 35 ลาย อาทิ ลายหน้ากระดาน ลายบัว ลายท้องไม้ บัวคลำ บัวหงาย เป็นต้น โดยลายส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของแนวลายใบเทศ คือถ้าเป็นกระจังจะเป็นแบบกระจังลายใบเทศ ถ้าเป็นลายกระหนกจะเป็นลายกระหนกแบบลายใบเทศ ซึ่งโดยรวมแล้วจะให้อยู่ในลักษณะของใบลายเทศ ซึ่งเป็นลายเครื่องประดับของไทยที่มีความงดงาม และใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

201611141534072-20110713160843

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า บริเวณปะรำพิธีโดยรอบ มีประชาชนในพื้นที่จำนวนมากพร้อมใจใส่เสื้อสีดำไว้ทุกข์ และจับจองพื้นที่รอบข้างปะรำพิธี เนื่องจากให้ความสนในงานบรวงสวงครั้งนี้ โดยเจ้าหน้าที่กองพิธีการ สำนักพระราชวัง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติฯ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง มาร่วมดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่อย่างเข้มงวด มีการนำเชือกล้อมรอบบริเวณต้นไม้จันทน์หอมเป็นทางยาว เพื่อกั้นไม่ให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามาในส่วนดังกล่าว

%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89_841

ด้านนางวิภา วงษ์สนิท อายุ 33 ปี เดินทางมาพร้อมครอบครัว เปิดเผยว่า ตนทราบเรื่องว่าจะมีพิธีตัดไม้จันทน์หอมจากเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ และจากข่าว ตนและครอบครัวจึงตั้งใจมาดูพิธีการดังกล่าว ซึ่งตนภูมิใจที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านย่านซื่อแห่งนี้ เพราะเป็นแหล่งที่มีไม้จันทน์หอมมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเคยใช้ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์ และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกมาแล้ว ซึ่งหลังจากตัดไม้จันทน์หอมแล้วจะมีการปลูกไม้ทดแทนด้วย

 

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน