ก้าวที่กล้า‘พลังงานบริสุทธิ์’ จาก‘รถยนต์ไฟฟ้า’สู่‘เรือไฟฟ้า’ : ยานยนต์ข่าวสด

ก้าวที่กล้า‘พลังงานบริสุทธิ์’ จาก‘รถยนต์ไฟฟ้า’สู่‘เรือไฟฟ้า’ : ยานยนต์ข่าวสด – บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ อีเอ ปัจจุบันนอกจากจะมีธุรกิจพลังงานสะอาด เป็นธุรกิจหลักแล้ว ยังต่อยอดไปสู่หลายๆ ธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม และระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าความจุสูง ภายใต้ชื่อ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย

ก้าวที่กล้า‘พลังงานบริสุทธิ์’ จาก‘รถยนต์ไฟฟ้า’สู่‘เรือไฟฟ้า’

ก้าวที่กล้า‘พลังงานบริสุทธิ์’ จาก‘รถยนต์ไฟฟ้า’สู่‘เรือไฟฟ้า’

รวมถึงธุรกิจผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า MINE Mobility ภายใต้ บริษัท ไมน์ โมบิลิตี รีเสิร์ช จำกัด

ล่าสุดประกาศเป็นผู้เล่นรายใหม่สู่ธุรกิจผลิตเรือไฟฟ้าและเดินเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นทางนนทบุรีวัดราชสิงขร ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการผลิต ซึ่งจะแล้วเสร็จพร้อมนำร่อง 20 ลำแรก จากเป้าหมายทั้งหมด 54 ลำ ด้วยงบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท พร้อมให้บริการในปลายปีนี้

ก่อนจะขยายสู่การให้บริการในเดินเรือโดยสารเส้นทางอื่นๆ ในอนาคต อย่างคลองแสนแสบ และเรือท่องเที่ยว เป็นต้น

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EA กล่าวว่าอีกธุรกิจสำคัญที่มีแนวโน้มการเติบโตในอนาคตแน่นอนคือ สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หรือเรียกง่ายๆ ว่า สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ภายใต้แบรนด์ EA Anywhere

ก้าวที่กล้า‘พลังงานบริสุทธิ์’ จาก‘รถยนต์ไฟฟ้า’สู่‘เรือไฟฟ้า’

ก้าวที่กล้า‘พลังงานบริสุทธิ์’ จาก‘รถยนต์ไฟฟ้า’สู่‘เรือไฟฟ้า’

EA เติบโตมาจากธุรกิจไบโอดีเซล ก่อนจะขยายสู่ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม ถัดมาก็เป็น EA Anywhere ธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีเป้าหมายขยายให้ได้ 1,000 จุดภายในปลายปีนี้ ในกรุงเทพฯปริมณฑล และต่างจังหวัดหัวเมือง ซึ่งเรียกว่าทุกๆ 5 กิโลเมตร มี EA Anywhere ให้เติมได้

หลังจากนั้นบริษัทเริ่มลงทุนพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า เปิดตัวโมเดลรถ 3 รุ่น เมื่อปลายปี 2561 ภายใต้แบรนด์ MINE Mobility ตั้งเป้าภายในสิ้นปีนี้จะเริ่มทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกเข้าสู่ตลาดเมืองไทย

เปิดตัวด้วยรถยนต์อเนกประสงค์ MPV ในราคาคันละไม่ถึง 1 ล้านบาท

ขณะเดียวกันบริษัทก็เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผลิตลิเทียมแบตเตอรี่ งบลงทุนเฟสแรก 5,000 ล้านบาท กำลังการผลิต 1 กิ๊กกะวัตต์อาวด์ หรือเทียบเท่ากับ 1,000 เมกกะวัตต์ และในระยะยาวจะเพิ่มเป็น 50 กิ๊กกะวัตต์ คาดว่าภายในไตรมาส 3-4 ปีนี้จะเริ่มการผลิตได้

ช่องทางการตลาดจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรก ใช้กับโรงไฟฟ้าทางเลือกไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานลม เนื่องจากประเด็นปัญหาของโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์และลม ไม่สามารถกำหนดการจ่ายไฟได้ตามตารางชัดเจน เนื่องจากธรรมชาติไม่สามารถกำหนดได้

ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าความจุสูงนี้จะเข้ามาเสริมเพื่อทำให้การจ่ายไฟของโรงไฟฟ้ามีความสม่ำเสมอและสมบูรณ์มากขึ้น และเชื่อว่าโรงไฟฟ้าประเภทนี้จะขยายตัวมากขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับการใช้งานในโรงไฟฟ้าของบริษัทได้ด้วย เนื่องจากบริษัทมีเทคโนโลยีสำหรับที่เหมาะกับการผลิตแบตเตอรี่สำหรับโรงไฟฟ้าอยู่แล้วด้วย

เรามองในรื่องของการนำเทคโนโลยีที่เรามี ทั้งเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ เทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟฟ้า และเทคโนโลยีผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้ เรานำมาประกอบร่างกันให้มาเป็นเรือไฟฟ้า ซึ่งมองว่าไม่ได้ไกลเกินความรู้ที่เรามี อีกทั้งยังดีกับภาพรวมของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นเรือที่ทันสมัย เป็นระบบปิด มีแอร์ และแม้ต้นทุนการผลิตจะสูงแต่บริษัทพยามรักษาอัตราค่าโดยสารให้เท่ากับเรือโดยสารที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน”

นายอมร กล่าวว่าในส่วนของ EA Anywhere สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ปัจจุบันติดตั้งแล้วกว่า 300 จุดทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ขณะเดียวกันตั้งเป้าภายในปี 2563 จะขยายให้ครบ 1,000 จุด แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 600-700 จุด ที่เหลืออีก 300-400 จุดอยู่ในต่างจังหวัดหัวเมือง อาทิ หัวหิน พัทยา เขาใหญ่และเชียงใหม่ เป็นต้น

นายอมร บอกอีกว่าประเทศไทยในขณะนี้ รถยนต์ไฟฟ้า ยังไม่แพร่หลาย และ EA Anywhere ก็ยังสร้างรายได้เล็กน้อยมาก แต่มั่นใจว่าเป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตแน่นอน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน