บทความพิเศษจาก หลวี่ เจี้ยน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

ปี พ.ศ.2562 เป็นการครบรอบ 70 ปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และก็เป็นปีที่ประเทศไทยได้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระอันแสนวิเศษนี้ มีข่าวดีที่น่าตื่นเต้นอีกอีกข่าวหนึ่ง

นั่นก็คือประเทศจีนและประเทศไทยได้ร่วมจัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “จินซี ฮ่องเต้ : จักรพรรดิองค์แรกของแผ่นดินจีนกับกองทัพทหารดินเผา” (Qin Shi Huang: The First Emperor of China and Terracotta Warriors) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

 

View this post on Instagram

 

พิธีเปิดนิทรรศการ “จิ๋นซีฮ่องเต้: จักรพรรดิองค์แรกของแผ่นดินจีนกับกองทัพทหารดินเผา” โดยมี วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เป็นประธานกดปุ่ม ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อช่วงเย็นวันที่ 15 ก.ย. ทั้งนี้นิทรรศการได้นำโบราณวัตถุ 86 รายการ 133 ชิ้น อายุกว่า 2,200 ปีมาจัดแสดง ไฮไลต์คือกองทัพทหารดินเผาที่เชื่อกันว่าสร้างจากบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง ชุดเกราะหินที่ร้อยด้วยแผ่นหินเล็กๆกว่า 400 ชิ้น รถม้าสำริด ประตูเมือง เครื่องประดับทองและหยกของแท้ที่ถูกฝังไปพร้อมกับสุสาน ฯลฯ เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นพิเศษ 16-17 ก.ย. จากนั้นจะเปิดวันพุธ–อาทิตย์ จนถึง 15 ธ.ค. เวลา 09.00–16.00 น. ค่าเข้าชมคนไทย 30 บาท ต่างชาติ 200 บาท #ข่าวสด #จิ๋นซี

A post shared by หนังสือพิมพ์ข่าวสด (@khaosod) on

โดยมีโบราณวัตถุอันล้ำค่าของจีนจำนวน 86 ชิ้น/ชุดได้ เดินทางไกลจากเมืองซี อาน มายังกรุงเทพฯ เพื่อจัดการแสดงเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อมาทบทวนประวัติศาสตร์ 44 ปีแห่งความสัมพันธ์จีน-ไทย จะพบว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้จัดนิทรรศการโบราณวัตถุของจีน

กล่าวได้ว่าเหมือนเปิดหน้าใหม่ที่เต็มไปด้วยสีสันในประวัติศาสตร์การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทยอย่างไม่ต้องสงสัย เชื่อว่าหลายท่านคงรู้สึกตื่นเต้นและรอคอยเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าคิดว่านิทรรศการพิเศษครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง

นิทรรศการดังกล่าวได้บอกเล่าถึงเรื่องราวสำหรับมิตรภาพอันลึกซึ้งแบบ “ จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” เพราะสุสานทหารม้าดินเผาจินซี ฮ่องเต้ขึ้นชื่อเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกลำดับที่ 8 เป็นหนึ่งในโครงการรุ่นแรกของประเทศจีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 การอนุรักษ์และวิจัยทหารม้าดินเผาในช่วงแรกๆ ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากวงการต่าง ๆ โดยเฉพาะจากพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศไทย

ทหารม้าดินเผาจินซี ฮ่องเต้เริ่มขุดสำรวจในปี พ.ศ. 2517 ก่อนที่พิพิธภัณฑ์ทหารม้าดินเผาจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2522 เพียงสองปีถัดไป สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองซี และทอดพระเนตรกองทัพทหารดินเผาในปี พ.ศ. 2524

ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2530 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่ เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศจีนเป็นครั้งแรก และได้ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์กองทัพทหารดินเผามณฑล ส่านซี

เมื่อปีพ.ศ. 2543 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้เสด็จพระราชดำเนิน เยือนประเทศจีนในฐานะผู้แทนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก็ได้เสด็จเยือนพิพิธภัณฑ์กองทัพทหารดินเผาเป็นการพิเศษเช่นกัน

มิตรภาพจีน-ไทยที่เรียกกันว่า “จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” นั้น ได้ฝังลึกเข้าสู่ในหัวใจของประชาชนทั้งสองประเทศ ไม่เพียงแต่เชื่อมโยงมิตรภาพระหว่างสองประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเท่านั้น ยังมีบทบาทในการชี้นำการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือฉันมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลจีนและรัฐบาลไทยได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม

ต่อจากนั้น ได้มีการลงนามในแผนปฏิบัติการประจำปีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมรวม 8 ฉบับ ซึ่งนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “จินซี ฮ่องเต้ฯ” ในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการสำคัญในการปฏิบัติตาม แผนปฏิบัติการฉบับล่าสุด นับตั้งแต่ประเทศจีนและประเทศไทยได้ร่วมจัดงานเฉลิมฉลอง เทศกาลตรุษจีนในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ซึ่งงานเทศกาลตรุษจีนได้จัดติดต่อกันมาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว

สำหรับนิทรรศการพิเศษครั้งนี้ ไม่เพียงจัดแสดงให้ผู้ชมเห็นคุณค่าทางศิลปะของทหารดินเผาเท่านั้น หากยังใช้เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสําริด เครื่องหยก ฯลฯ จากสถาบันวัฒนธรรม 14 แห่ง มาอธิบายการพัฒนาทางสังคมและสุนทรียศาสตร์ในสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่นของจีน ร่วมทั้งร่องรอยทางวัฒนธรรมที่่สืบทอกกันมาถึงปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าชมเข้าใจถึงอิทธิพลของประวัติศาสตร์จีนที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมจีนสมัยใหม่ได้อย่างลึกซึ้ง

การอนุรักษ์โบราณวัตถุทหารดินเผาเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรมของจีนใหม่ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา โดยคณะรัฐมนตรีจีนได้ผ่านมติให้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์บนโบราณสถานแห่งทหารดินเผาตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 เมื่อถึงปี พ.ศ.2521 รอบพื้นที่โบราณสถานนี้ยังคงรกร้าง เป็นพื้นที่ดินแดงที่ปกคลุมด้วยดินโคลน ดูคล้ายพื้นที่ขุนสำรวจทางโบราณคดีมากกว่า ไฟฟ้าที่ใช้ในสถานที่ขุดสำรวจจะดับเป็นประจำ

กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2522 หลังการปฏิรูปและเปิดประเทศ หลุมหมายเลข 1 ของพิพิธภัณฑ์ทหารดินเผาได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก ทำให้หุ่นทหารดินเผาเหล่านี้ได้ปรากฏโฉมอีกครั้งหลังจากการวางแผนเตรียมการมาเป็นเวลา 4 ปี

ในช่วงเวลา 70 ปีตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนได้สถาปนาขึ้นมา ประเทศจีนได้บุกเบิกวิธีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์โบราณวัตถุที่สอดคล้องกับสภาพความเป็น จริงของประเทศ โดยการพัฒนาระบบกฎหมายที่สอดคล้องกับสภาพของประเทศ สร้างระบบการบริหารจัดการในการอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมก้าวหน้าต่อเนื่อง

ยกตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ.2525 ประเทศจีนได้ออกกฎหมายอนุรักษ์โบราณวัตถุฉบับแรก และมีการปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเมื่อไม่กี่ปีผ่านมา พิพิธภัณฑ์ในประเทศจีนได้เพิ่มจำนวนจาก 21 แห่งในปี พ.ศ. 2492 เป็นกว่า 5,000 แห่งในปี พ.ศ.2561 มีชาวจีนเข้าชมในพิพิธภัณฑ์ปีละเกือบ 1,000 ล้านคน ทำให้การเข้าชมพิพิธภัณฑ์กลายเป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่งของชาวจีน

อีกข้อคิดที่น่าสนใจคือ สถานที่ขุนพบทหารดินเผานี้เดิมชื่อ ฉาง อัน (ปัจจุบันชื่อ ซีอาน) จุดเริ่มต้นฝั่งตะวันออกของเส้นทางสายไหมในประวัติศาสตร์อีกด้วย

ดังนั้น บทหนึ่งในนิทรรศการพิเศษครั้งนี้จะใช้โบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของการสืบทอดอารยธรรมในสมัยราชวงศ์ฉินสู่ราชวงศ์ฮั่น และจะแนะนำถึงการเชื่อมต่อเส้นทางสายไหมทางบก ซึ่งเริ่มจากเมืองฉาง อัน ผ่านกาน ซู่ ซินเจียง สู่ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันตก และประเทศต่างๆ รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งการเชื่อมต่อกับเส้นทางสายไหมทางทะเล

วันนี้ หากเรามองย้อนกลับไปในอดีต ไม่เพียงทำให้รู้สึกถึงความรุ่งเรืองของ “เส้นทางสายไหม” ในอดีต ยังสามารถรับรู้ได้ถึงความชีวิตชิวาของ “เส้นทางสายไหม” ยุคใหม่ รวมถึงขยายวิสัยทัศน์ในการพัฒนา “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ระหว่างจีน-ไทยนั่นเอง

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ข้าพเจ้ามีโอกาสไปต้อนรับนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสุดยอดความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ครั้งที่ 2 ที่ประเทศจีน ระหว่างการประชุม จีนและไทยได้ร่วมกันลงนามในเอกสารความร่วมมือต่างๆ โดยมีผู้นำของทั้งสองประเทศร่วมเป็นสักขีพยาน

ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมโดยมีนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “จินซี ฮ่องเต้ฯ”เป็นตัวแทนนั้น ได้ช่วยขยายความร่วมมือด้านวัฒนธรรมภายใต้ความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จนปรากฏขอบเขตใหม่ๆ และโอกาสใหม่ๆ ของความร่วมมือระหว่างสองประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงกล่าวว่า ร่วมพัฒนา “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ทำให้ความสัมพันธ์จีน-ไทยลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้น ใกล้ชิดยิ่ง ๆ ขึ้น

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่ ก็ทรงมีพระราชดำรัส ว่า มิตรถาพไทย-จีนควรสืบทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป

ข้าพเจ้าหวังว่า นิทรรศการพิเศษเรื่อง “จินซี ฮ่องเต้ฯ” จะมีบทบาทพิเศษในการเชื่อมโยงหัวใจระหว่างประชาชนจีน-ไทย และเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ภายใต้การชี้นำและผลักดันของผู้นำทั้งสองประเทศ ประชาชนจีน-ไทยจะจับมือก้าวหน้าไปด้วยกัน อนาคตของความสัมพันธ์จีน-ไทยจะสดใสยิ่งๆขึ้นอย่างแน่นอน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน