กกร. เปิดทางห้ามส่งออกไข่นาน30 วัน

จุรินทร์ สั่งลุยจับ กลุ่มฉวยโอกาส ขายไข่แพงเกินราคา-ซ้ำเติมวิกฤต กกร. เปิดทางห้ามส่งออกไข่ เพิ่มได้ 30 วัน สั่งเข้มลักลอบตามชายแดน

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.)ว่าที่ประชุมหารือกันถึงสถานการณ์ไข่ไก่ที่จากแคลน จนทำให้ประกาศห้ามส่งออกไข่ไก่ไปนอกราชอาณาจักรเป็นเวลา 7 วันนับตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 มี.ค. เป็นต้นมาว่า

ในการประชุมกกร. เห็นชอบในประกาศดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานกกร. สามารถใช้ดุลพินิจในการที่จะขยายเวลาไปได้ รวมทั้งหมดตั้งแต่วันประกาศไม่เกิน 30 วัน หากว่ามีความจำเป็นต้องห้ามส่งออกนานกว่านั้น ก็จะต้องกลับมาขออนุมัติที่ประชุมใหม่

อย่างไรก็ตาม สำหรับปริมาณการผลิตไข่ไก่จะมีการผลิตวันละประมาณ 41,000,000 ฟองและบริโภคในประเทศประมาณ 39,000,000 ฟองในภาวะปกติ

เพราะฉะนั้นมาตรการที่กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการ คือทำอย่างไรที่จะให้ไข่ไก่ที่ผลิตได้วันละ 41,000,000 ฟองซึ่งผลิตได้ในแต่ละวันสามารถสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด

ซึ่งเป็นประเด็นที่มาของมาตรการห้ามส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมีข้อมูลบางส่วนว่าอาจจะมีการลักลอบส่งออกตามบริเวณชายแดนซึ่งจะทำให้ปริมาณขายในประเทศไม่เพียงพอต่อการบริโภคและประการ

รวมทั้งการแก้ไขการกักตุนไข่ไว้ ก็จะถูกดำเนินคดีอย่างเคร่งครัดในข้อหากักตุนและค้ากำไรเกินควรซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 7 ปีปรับไม่เกิน 140,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับปัญหาที่ไข่ในตลาดในขณะนี้ยังมีไม่เพียงพอ เนื่องจากว่าผู้บริโภคจำนวนมากมีความต้องการที่จะซื้อไข่ไปเก็บไว้เพื่อบริโภคที่บ้านในปริมาณที่มากกว่าปกติซึ่งตัวเลขที่กรมการค้าภายในได้ติดตามในช่วงนี้ในเวลาไม่กี่วันมานี้พบว่ามีความต้องการสูงขึ้นถึงสามเท่าจากภาวะปกติ

ที่ปริมาณการผลิตไข่วันละ 41,000,000 ฟองมีเพียงพอและบางช่วงเหลือส่งออกด้วยซ้ำ ซึ่งมีบางช่วงรัฐบาลเคยช่วยส่งเสริมการส่งออกและช่วยอุดหนุนการส่งออกฟองละ 46 สตางค์ ดังนั้นหลายห้างสรรพสินค้าในขณะนี้จึงใช้มาตรการจำกัดปริมาณการซื้อไม่ให้ซื้อไปเก็บไว้สำหรับคนๆ เดียวมากเกินไป ทำให้คนอื่นไม่มีโอกาสได้ซื้อและเท่าที่ติดตามจะมีไข่ชุดใหม่ออกมาสู่ตลาดทุกๆวัน

นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ที่กักตุนทำให้ไข่ขาดตลาดและพวกที่คิดจะลักลอบนำไข่ออกไปบริเวณชายแดนรวมทั้งผู้ที่ขายเกินราคา จะต้องถูกดำเนินคดีโดยเด็ดขาดโดยคณะกรรมการป้องกันการกักตุนสินค้าและการค้ากำไรเกินควร โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

ซึ่งถึงขณะนี้ได้มีการดำเนินคดีในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ยกตัวอย่างเช่น นอกจากคดีที่ จังหวัดพิษณุโลกที่ค้ากำไรเกินควร และยังมีที่เขตราชเทวีคือร้านไข่ไก่สวนฟาร์มกิตติคุณ ซึ่งขายไข่ไก่เบอร์ศูนย์ราคา 200 บาทต่อแผง และได้ส่งดำเนินคดีที่สน. ดินแดงแล้ว

และร้านเจ๊ใหญ่ที่อำเภอเมืองปทุมธานี ขายไข่ไก่แผงละ 170 บาท ซึ่งถือเป็นการค้ากำไรเกินควรและร้านข้างตลาดบ่อนไก่อำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งขายไข่ไก่เบอร์สามแผงละ 130 บาท เบอร์สองแผงละ 145 เบอร์หนึ่งแผงละ 150 บาท ซึ่งโดนข้อหาค้ากำไรเกินควร

หรือในกรณีที่ร้านตลาดเทศบาลสามอำเภอหล่มสักจังหวัดเพชรบูรณ์และตลาด ณ ท่าศาลา อำเภอท่าใหม่ ไม่ปิดป้ายแสดงราคาถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกันสำหรับตลาดท่าใหม่

นอกจากไม่ติดป้ายราคาแล้วยังมีการจำหน่ายไข่ไก่เบอร์ศูนย์แผงละ 180 บาทเบอร์หนึ่งแผงละ 170 บาทเบอร์สองแผงละ 160 บาทจึงโดนข้อหาค้ากำไรเกินควรด้วย สำหรับที่ตลาดเลิศนิมิต อำเภอบางใหญ่ แผงชื่อก.ขายไข่ขายไข่ไก่เบอร์ศูนย์แผงละ 180 บาท ถูกดำเนินคดีค้ากำไรเกินควร

และร้านทวีทรัพย์จังหวัดอ่างทองซึ่งค้ากำไรเกินควรขายไข่ไก่เบอร์ศูนย์ 180 บาทต่อแผง โดยในโยบายได้มีการสั่งการให้ทุกจังหวัดดำเนินคดีโดยเคร่งครัดรวมทั้งสกัดกั้นการลักลอบส่งออกตามบริเวณชายแดนด้วย

และล่าสุดวันนี้ที่บางเลน จังหวัดนครปฐม กำลังดำเนินคดีกับฟาร์มซึ่งขายไข่ไก่หน้าฟาร์มในราคา 3.80 บาทจากราคาที่สมาคมประกาศฟองละ 2.80 บาท ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็กำลังดำเนินคดีอยู่ ณเวลานี้เช่นกัน ซึ่งขายขายหน้าฟาร์มราคาฟองละเฉลี่ย 3.20 บาท จากราคาที่ประกาศ 2.80 บาท ที่ อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ชื่อฟาร์มกนกวรรณ

สิ่งหนึ่งที่จะขอเน้นย้ำคือ ขอฝากเตือนผู้ที่กระทำการช่วยโอกาสซ้ำเติมความทุกข์ของประชาชนในขณะนี้ซึ่งนอกจากทุกคนจะต้องร่วมกันในการประสบภัยโควิดแล้ว ไม่อยากเห็นการแสวงหาประโยชน์ที่เท่ากับเป็นการซ้ำเติมความทุกข์ของประชาชนในภาพรวม

เกาะติดข่าวโควิด กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account
เพิ่มเพื่อน

เพราะว่าเมื่อถูกดำเนินคดีแล้วศาลพิพากษาจำคุกจริงๆเพราะฉะนั้นจึงไม่คุ้มกันกับการเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะหน้าที่ได้รับมาสำหรับพี่น้องประชาชนผู้บริโภคอยากขอให้ช่วยซื้อเท่าที่รับประทานได้ในช่วงเวลาไม่นานและออกไปซื้อใหม่ซึ่งจะช่วยให้หลายหลายท่านจะมีใครนำไปบริโภคได้หลายรายมากขึ้น

เร่งแก้ปัญหาติดขัดซื้อเอทานอลผลิตเจลล้างมือ

สำหรับเจลล้างมือ ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศที่กำหนดว่าเจลล้างมือที่วางขายตามท้องตลาดจะต้องมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่า 70%ทำให้เจลสวนหนึ่งที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ไม่ถึง 70 %จะต้องถูกเก็บออกจากตลาดไป

ช่วงรอยต่อนี้ทำให้เจลขาดตลาดมากขณะเดียวกันการผลิตเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไปจะมีความจำเป็นต้องนำแอลกอฮอล์ที่ผลิตเป็นเอทานอลออกมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแต่ขณะนี้แม้ว่ากรมสรรพากรสามิตจะได้ผ่อนคลายกฎระเบียบว่าให้สามารถนำเอทานอลมาใช้ในการผลิตเจลล้างมือได้แล้วโดยให้สามารถซื้อได้ไม่เกิน 5,000 ลิตรต่อหนึ่งใบอนุญาต

แต่ในขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติอย่างค่อนข้าง ซับซ้อนอยู่ยกตัวอย่างเช่นผู้ที่จะขอซื้อเอทานอลเพื่อไปผลิตเจลนั้นอาจจะต้องไปขออนุญาตจากสรรพสามิตในจังหวัดที่ตนเองมีภูมิลำเนา หรือเมื่อได้ใบอนุญาตแล้วจะต้องไปขออนุญาตที่จะซื้อเอทานอลในจังหวัดที่โรงงานเอทานอลตั้งอยู่ด้วย และในการที่จะขนเอทานอลหลังจากซื้อจากโรงงานแล้วก็จะต้องมีขั้นตอนกระบวนการใบขับขี่ของคนขับหลายขั้นตอนซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคในเรื่องของการปฎิบัติ

โดยให้ประชุมกรรมการโควิดฯได้รับทราบข้อเท็จจริงในการปฏิบัติอยู่ทางกระทรวงการคลังก็รับที่จะไปช่วยคลี่คลายปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งกรมการค้าภายในได้เสนอว่าถ้าเป็นไปได้น่าจะมีการตั้งศูนย์วันสต็อปเซอร์วิสที่โรงงานผลิตเอทานอล เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเพื่อนำมาผลิตเจล ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น

หรืออีกวิธีหนึ่งคือการให้เจลที่ออกสู่ตลาดมีการปรับเปลี่ยนแพคเกจจิ้งจากขวดที่มีหัวปั๊มมาเป็นในรูปแบบของถุง ก็จะช่วยให้สามารถผลิตและออกสู่ตลาดได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งกรมการค้าภายในจะได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เจลออกสู่ตลาดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ส่วนผู้ที่ขายเกินราคาเกินควรก็จะต้องถูกดำเนินคดีต่อไปเช่นกัน

 

 

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน