กระทรวงแรงงาน เล็งเพิ่มเงินช่วยเหลือลูกจ้าง ม.33 ให้ได้เกิน 5 พันบาท

วันที่ 29 มี.ค. The Reporter รายงานว่า ที่กระทรวงแรงงาน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน เรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นการเร่งด่วน โดยมี นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) พร้อมด้วยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ กรมสรรพากร เพื่อหารือมาตรการช่วยเหลือแรงงานซึ่งเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19

เกาะติดข่าวโควิด กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account
เพิ่มเพื่อน

โดยที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงแรงงาน โดยสปส.แก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่ถึง 5,000 บาท มีสิทธิได้รับเงินไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5,000 บาท

โดยให้มีผลตั้งแต่ 1 มี.ค.63 เพื่อให้สอดคล้องและเท่าเทียมกันกับการช่วยเหลือแรงงานลูกจ้างที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม โดยจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 31 มีนาคมจะถึงนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเร่งด่วนในครั้งนี้เนื่องจาก มาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตนในมาตรา 33 ซึ่งได้รับผลกระทบจากพิษโควิด-19 นั้น ได้รับเพียง 50% ของการจ่ายเงินสมทบ

แต่เนื่องจากมีผู้ใช้แรงงานจำนวนมากมีเงินเดือนไม่ถึง 1 หมื่นบาท ดังนั้นจึงจะได้รับเงินช่วยเหลือไม่ถึง 5 พันบาท ดังนั้นจึงมีการร้องเรียนและบอกว่าจะไปใช้สิทธิเหมือนแรงงานนอกระบบคือได้รับ 5 พันบาทต่อเดือน ทำให้ม.ร.ว.จัตุมงคลต้องเรียกผู้บริหารกระทรวงและผู้ที่เกี่ยวข้องมาหารือโดยเร่งด่วน เพื่อหาช่องทางให้ผู้ประกันตนได้รับเงินช่วยเหลือไม่ต่ำกว่า 5 พันบาท แต่ทั้งนี้ต้องมีการแก้ไขกฎกระทรวง

ทั้งนี้ นิยามของ ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน