ติดโควิดไม่ล้มตายกลางถนน! รพ.ธรรมศาสตร์ฯแจงดับรายแรกของปทุมฯ

วันที่ 3 เม.ย.ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี ดร.พินิจ บุญเลิศ ผวจ.ปทุมธานี พร้อมด้วย นพ.สุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการบริหาร รพ.ธรรมศาสตร์ฯ รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผอ.รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ร่วมประชุม ระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารักษาต่อที่รพ.ธรรมศาสตร์ฯ และรพ.สนามธรรมศาสตร์ฯ พร้อมมอบอุปกรณ์ทางแพทย์มาตรฐานสูง หน้ากาก N99 และ ชุดPPE ให้โรงพยาบาลทุกแห่งในจ.ปทุมธานี

โดยการประชุมแนวทางการดูแลผู้ป่วย โควิด-19 ของรพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เมื่อมีผู้ป่วยมีผลบวกเชื้อโควิด-19 รพ.จะมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้ผู้ป่วยโควิด-19พักรักษาตัวที่รพ.ธรรมศาสตร์ฯ หากมีอาการหนักหรือรุนแรงจะให้การดูแลรักษาผู้ป่วยภายในห้องความดันลบ (Negative Pressure) ส่วนผู้ป่วยอาการที่ไม่รุนแรงจะอยู่ในห้อง Cohort ward ซึ่งเป็นห้องรวมกับผู้ป่วยโควิดท่านอื่น 2. เมื่อผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาและสังเกตอาการพบว่าอาการดีขึ้นแล้ว รพ.จะส่งผู้ป่วยไปที่รพ.สนามธรรมศาสตร์ 3. รพ.สนามรับเฉพาะผู้ป่วยที่ผ่านการดูแลกับทางรพ.มาแล้วอย่างน้อย 7 วัน โดยผู้ป่วยมีอาการคงที่ (ส่งไปพักรักษาตัวหรือกักกันตัวต่อที่รพ.สนามจนครบ 14 วัน)

4. รพ.ธรรมศาสตร์ฯ มีบริการทางการแพทย์เพื่อดูแลผู้ป่วยภายในรพ.สนามตามมาตรฐาน (มีการติดตามอาการผ่านจอมอนิเตอร์วงจรปิด เพื่อดูอาการและใช้ติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย โดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วย 5. หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง จะรับคนไข้กลับมารักษาต่อที่รพ.ธรรมศาสตร์ฯ อีกครั้งหนึ่ง

กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

สำหรับการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการโควิด-19 ประกอบด้วย 1. ด้านบุคลากร ได้รับการสนับสนุนบุคลากรจากศูนย์สุขศาสตร์ ดังนี้ คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2. ด้านสถานที่ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ มีเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด 60 เตียง ห้องความดันลบ 4 เตียง และรพ.สนาม 308 เตียง 3. ด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์

รพ.ธรรมศาสตร์ฯแจงตายรายแรก

ปัจจุบันรพ.ธรรมศาสตร์ฯ มีการสำรองวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้สำหรับป้องกันบุคลากรไม่ให้ติดเชื้อจากผู้ป่วยไว้เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอพร้อมใช้ 4. ด้านการงบประมาณ รพ.รับบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของรพ.สนาม ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนวิกฤตในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น หน้ากาก N95 , ชุด PPE เครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ รวมถึงเครื่องมอนิเตอร์ที่ใช้ดูแลคนไข้ที่มี 308 เตียง

ในส่วนของการรับริจาค 1. บริจาคผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี : รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ , ธ.กรุงเทพ 091-0-20188-8 สาขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ธ.ทหารไทย 050-2-00002-9 สาขา ธรรมศาสตร์-รังสิต , 2. ผ่านระบบ E-donation คลิก https://bit.ly/3dkCPLF หรือ ทางริชเมนู Line@ : https://lin.ee/C9QBk04 (ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า) โอนผ่านเลขบัญชีธนาคารติดต่อขอรับใบเสร็จได้ที่..https://lin.ee/C9QBk04

รพ.ธรรมศาสตร์ฯแจงตายรายแรก

แนวทางการรับผู้ป่วย COVID-19 ของ “โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์” ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์จะต้องมีการยืนยันครบ 5 ข้อดังนี้ 1. ผู้ป่วยได้รับการรักษาในรพ.มาแล้วไม่น้อยกว่า 7 วัน มีผลภาพถ่ายรังสี (X-Ray) และสัญญาณชีพปกติ (อุณหภูมิไม่เกิน 75 องศาเซลเซียส และ Oxygen saturation มากกว่า 95%) 2. ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ สามารถสื่อสารรู้เรื่อง ไม่ก้าวร้าว และไม่มีความเสี่ยงทางจิตเวช 3. ผู้ป่วยแข็งแรงไม่มีปัจจัยเสี่ยง กลุ่มอาการไม่รุนแรง (Mind symptoms) ไม่มีไข้ 4. ต้องมีการเบิกยารักษา COVID-19 สำหรับให้ผู้ป่วยรับประทานด้วยตัวเองจนครบแผนการรักษาของแพทย์ 5. รพ.ต้นทางยินดีมารับผู้ป่วยกลับเข้ารักษาในรพ.ต้นทาง หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้กรณีไม่เข้าเกณฑ์ให้อายุรแพทย์โรคติดเชื้อเป็นผู้พิจารณา

รพ.ธรรมศาสตร์ฯแจงตายรายแรก

ผอ.รพ.ธรรมศาสตร์ฯ กล่าวว่า กรณีผู้ป่วยอายุ 59 ปี ได้มาทางรถฉุกเฉินของรพ.ธรรมศาสตร์ฯ ที่ได้ไปรับผู้ป่วยมาจากที่บ้านวันที่ 1 เม.ย. ระหว่างทางมีภาวะไม่รู้สึกตัว เมื่อมาถึงรพ.ได้ช่วยเหลือกู้ชีพภายในห้องความดันลบของห้องฉุกเฉิน หลังจากนั้นประมาณ 30 นาทีผู้ป่วยได้เสียชีวิตในวันที่ 1 เม.ย. เรายังไม่ทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แต่ฝ่ายการแพทย์ต่าง ๆ ได้สงสัยเนื่องจากผู้ป่วยมีอาการไข้ และมีโรคประจำตัวมีอาการทรุดอย่างรวดเร็ว จึงตรวจเชื้อพบว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลออกมาเมื่อวันที่ 2 เม.ย.

รพ.ธรรมศาสตร์ฯแจงตายรายแรก

เท่าที่ได้ชักประวัติทราบว่า ผู้เสียชีวิตได้รับการตรวจจากรพ.แห่งหนึ่งในจ.ปทุมธานีเมื่อ 3-4 วันก่อน จากอาการมีไข้และไอ แต่ไม่ได้รับการตรวจในเรื่องของโควิด-19 ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตรายนี้ต้องรอผลการตรวจจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ว่าเสียชีวิตเพราะโควิด-19 หรือโรคประจำตัวของผู้ป่วยเอง ในส่วนของผู้เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต เราแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เนื่องจากเรามีความสงสัยอยู่แล้ว บุคลากรที่เกี่ยวข้องจำนวน 9 ราย ได้สวมใส่ชุดตามมาตรฐาน ถือว่าไม่มีความเสี่ยงในกรณีนี้ มีการเฝ้าดูอาการ 14 วัน โดยมาทำงานตามปกติสวมใส่หน้ากากอนามัย แต่บุคลากรด้านอื่น

รพ.ธรรมศาสตร์ฯแจงตายรายแรก

ได้แก่ ญาติของผู้เสียชีวิต และผู้ที่ไปรับผู้เสียชีวิตซึ่งไม่ได้อยู่ในรพ.ธรรมศาสตร์ฯ สำนักงานสาธารณสุขจ.ปทุมธานี ได้ทำการสอบสวนโรค เบื้องต้นอยู่ในการดำเนินการ โดยผู้ใกล้ชิดเมื่อตรวจแล้วผลเป็นบวก รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ก็ยินดีที่จะรับเข้ามาดูแลรักษาต่อไป อยากชี้แจงว่าโรคโควิด-19 ไม่ได้ทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว อย่างเช่นเดินอยู่ในตลาดแล้วล้มลงเสียชีวิต หรือนั่งอยู่บนรถไฟแล้วเสียชีวิต เป็นการดำเนินโรคที่ไม่ปกติ ในส่วนของการเสียชีวิตจะต้องมีโรคอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคหัวใจล้มเหลว โรคเลือดออกในสมอง

รพ.ธรรมศาสตร์ฯแจงตายรายแรก

ดังนั้นลักษณะของโรคโควิด-19 ไม่ได้มีอาการที่รุนแรงและรวดเร็วจนทำให้เสียชีวิตอย่างทันทีทันใด ปัจจุบันทุกคนมีความเสี่ยงกันทุกคน เพียงแต่ว่าทรัพยากรในการตรวจเชื้อโควิด-19 ยังไม่สมบูรณ์หรือมีพร้อม การตรวจจึงเฉพาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น ดังนั้นเราจึงมีการคัดแยกด้วยแอพพลิเคชั่นช่วย โดยรพ.ธรรมศาสตร์ฯ ได้ร่วมกับ สวทช. ในการนำแอพพลิเคชั่น DDC CARE มาใช้เพื่อติดตามท่าน 14 วัน แม้ท่านจะมีความเสี่ยงสูง หรือความเสี่ยงต่ำ หรือแม้แต่ไม่แน่ใจ เราก็สามารถติดตามดูแลท่านและสามารถรับการตรวจเชื้อโควิด-19 ได้อย่างทันท่วงที

รพ.ธรรมศาสตร์ฯแจงตายรายแรก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน