การละเลยเว้นระยะห่างทางสังคมกับเพื่อนฝูงดูไม่อันตรายเมื่อเทียบกับคนแปลกหน้า แท้จริงแล้วเป็นความโน้มเอียงทางความคิดที่ไปช่วยแพร่การระบาดของโควิด-19

United Nations COVID-19 Response

สำนักข่าว ดอยเช่อ เวลเล่อ นำเสนอ มุมมองทางจิตวิทยาของมนุษย์ที่ดันไปช่วยแพร่ระบาดของโควิด-19

การเดินผ่านคนแปลกหน้าที่กำลังไอจาม กับ การไปดื่มกาแฟกับเพื่อนร่วมงานตอนพัก แบบไหนดูเสี่ยงจะได้สัมผัสเชื้อโควิด-19 มากกว่ากัน สำหรับคนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่า การดื่มกาแฟกับเพื่อนร่วมงานดูจะปลอดภัยกว่า

เนื่องจากคุณรู้จักเพื่อนร่วมงาน และพวกเขาก็รู้จักคุณ พวกเขาก็ดูปกติสบายดี ไม่ได้ดูป่วยสักนิด คุณเองก็เช่นกัน ทั้งพวกเขาและคุณก็ไม่ได้มีท่าที่ว่าจะป่วยเลย ทำให้แม้แต่การนั่งใกล้กันโดยไม่สวมหน้ากาก ก็ดูไม่อันตรายมากนัก อย่างน้อย ๆ ก็ดูไม่อันตรายเท่าเดินผ่านคนแปลกหน้าที่ไอจามอยู่เป็นแน่

แต่เชื่อหรือไม่ว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก มักได้รับเชื้อมาจากเพื่อน คนใกล้ชิด หรือ ครอบครัว ซึ่งเป็นภัยอันตรายที่เราอาจมองข้ามและไม่ได้ตระหนักถึงมันเลย

วิธีคิดเกี่ยวกับความเสี่ยงของมนุษย์

United Nations COVID-19 Response

เราจะไม่ค่อยรู้สึกถูกคุกคามจากโรคติดต่อ เมื่อเราอยู่กับคนที่เรารู้จักและคนที่เราชื่นชอบ ไม่ใช่ว่าเราชอบอยู่กับพวกเขา แต่แค่เพราะเรามักจะคิดไปเองว่าเพื่อนของเรานั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าคนแปลกหน้า

มนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตทางสังคม เราระบุตัวตนของเราผ่านสังคมชุมชนที่เราอยู่ ดังนั้นเราจึงรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและมองว่าคนในสังคมที่เราอยู่นั้นน่าเชื่อถือและทำเรื่องที่ดีต่อสังคมของเรา
นั่นหมายความว่า เราไม่ค่อยได้มองพวกเขาเป็นภัยคุกคาม

เรามักจะใจกว้างกับอาการเจ็บป่วยของเขา และคิดว่าอาการไอจามต่าง ๆ ของพวกเขาที่เกิดขึ้น คงไม่ใช่โรคติดต่อ ผลลัพธ์ก็คือ เราก็จะมีโอกาสเสี่ยงได้รับเชื้อโควิด-19 มากขึ้น โดยไม่ได้ระมัดระวังและเข้าไปนั่งใกล้พวกเขา แบ่งปันอาหารแก่กัน และสัมผัสตัวกัน

แต่แค่เพราะการที่เราคิดว่าพวกเขาปลอดภัย ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะปลอดเชื้อ เพราะโรคติดต่อ ไม่ได้เคารพขอบเขตของคนในกลุ่ม เหมือนกับการคุกคามเชิงกายภาพแบบอื่น ๆ และเรามักจะประเมินคนสนิทของเราในทางที่ดีกว่าความเป็นจริง และประเมินคนไม่รู้จักในทางที่แย่กว่าความเป็นจริงอยู่บ่อย ๆ

เราจะห่างหายไปจากญาติสนิท มิตรสหาย หรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่

Freepik

โรคระบาดคอยย้ำเตือนว่า การพบปะของมนุษย์ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้โควิด-19 แพร่กระจาย มันจึงดูเป็นเหตุเป็นผลมากกว่า หากเราจำกัดการติดต่อทางสังคมกับคนอื่น ๆ เพื่อที่จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามความเหงา และรู้สึกโดดเดี่ยว อาจทำให้เกิดโรคอย่างอื่นที่ตามมาได้

ไม่ใช่แค่ความเสี่ยงในโรคติดต่อเท่านั้นที่เราควรจะให้ความสำคัญ แต่เรื่องอย่าง สุขภาพจิตก็ต้องได้รับการดูแลป้องกันให้สุขภาวะทางจิตยังคงดีอยู่เสมอ

ผลกระทบเชิงลบที่มีต่อสุขภาพจิตที่เป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้มีคนจำนวนมากรู้สึกโดดเดี่ยว และเกิดความทุกข์ทางจิตใจ มีงานวิจัยหนึ่งระบุว่า ผู้ที่รู้สึกเชื่อมโยงกับสังคมน้อย มักจะมีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา เสียอีก

เราต้องคิดหาวิธีป้องกันตนเองจากความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันตนเองจากภาวะที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพจิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน

การสร้างสมดุลความเสี่ยงกับความจำเป็นในการเชื่อมต่อกับคนอื่นๆในสังคม

Markus Spiske

แทนที่จะบอกให้ผู้คนอยู่แต่บ้าน และหลีกเลี่ยงการติดต่อทางสังคมทั้งหมด ซึ่งฟังดูจะเป็นไม้แข็งเกินไปและอาจทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่ลง ลองคิดว่า ในเมื่อเราไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงได้เสมอไป เรามาหาทางเลือกที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าแต่ปลอดภัยน่าจะดีกว่า

วารสารวิชาการเนเจอร์ ระบุว่า การลดวงทางสังคมและพบปะเฉพาะกลุ่มเพื่อนสนิทจนกว่าสถานการณ์การระบาดจะดีขึ้น มีประสิทธิภาพที่ดีมากในการลดการระบาดของโควิด-19 การลดวงทางสังคม เป็นพฤติกรรมที่ทำได้ไม่ยาก ทั้งยังสามารถช่วยลดอัตราการผู้ติดเชื้อ

แม้จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยที่รัฐประกาศอย่างเป็นทางการจะค่อนข้างต่ำ แต่อาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อแฝงจำนวนมากที่ไม่ได้รับการตรวจโควิด-19 เนื่องจากค่าบริการตรวจมีราคาที่ค่อนข้างสูง โดยผู้ที่ได้รับการตรวจแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายก็มีเงื่อนไข ทำให้มีคนจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงการตรวจ

ดังนั้นเราจึงต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อที่เราจะสามารถออกไปพบปะทำกิจกรรมทางสังคมกับชุมชน และ เพื่อนฝูงได้อย่างเต็มที่และปลอดภัย

NPR

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน