ผู้ว่าฯปทุมฯ สั่งปิดสถานศึกษา 14 วัน ปิดตลาดเพิ่มอีก 4 แห่ง สกัด ‘โควิด’ ฝ่าฝืนโทษหนัก ห้ามแรงงานต่างด้าวย้ายเข้า-ออกจากพื้นที่ โดยไม่ได้รับอนุญาต

เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี มีหนังสือจำนวน 2 ฉบับ ออกคำสั่งลงนาม เกี่ยวกับมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยฉบับแรก ระบุว่า ประกาศจังหวัดปทุมธานี เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ตามที่จังหวัดปทุมธานี มีประกาศเรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติตเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) ฉบับลงวันที่ 23 ธันวาคม 2563 ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ถือปฏิบัติไปแล้วนั้น โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ปรากฏการระบาดขึ้นใหม่ในพื้นที่บางจังหวัดของประเทศไทย

รวมถึงในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีขยายเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563

และประกาศเรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานกรณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราขอาณาจักร (คราวที่ 8) ฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการจังหวัดปทุมธานี ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2564 วันที่ 25 ธันวาคม 2563 จึงกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มเติม ดังนี้

1.การเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดใหม่ของโควิด-19 โดยแบ่งพื้นที่เฝ้าระวังของจังหวัดปทุมธานี ออกเป็น 2 โซน ประกอบด้วย

1.1 พื้นที่เฝ้าระวังสูง คือ พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดและพบผู้ติดเชื้อไม่เกิน 10 ราย ทั้งนี้สถานที่ใดเป็นไปตามนัยข้อดังกล่าว ให้นายแพทย์สาธารณสุขประกาศเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงโดยให้ดำเนินการ ดังนี้

ก.เร่งรัดการตรวจหาผู้ติดเชื้อในพื้นที่ที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลที่เสี่ยง และกิจกรรม/กิจการที่เสี่ยง

ข.ให้มีมาตรการป้องกันโรค-สวมหน้ากากอนามัย 100% ทำความสะอาดมือ สถานที่ หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสบ่อยๆ, หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก, ลงทะเบียนเข้าพื้นที่หรือร่วมกิจกรรมผ่าน Application ไทยชนะ หรือ โดยระบุชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์

ค.ห้ามแรงงานต่างด้าวเคลื่อนย้ายเข้า-ออกจากพื้นที่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

ง.ให้พิจารณาใช้มาตรการ Work From Home ตามความเหมาะสม

จ.หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมากทุกรูปแบบ

1.2 พื้นที่เฝ้าระวัง คือพื้นที่ที่ไม่พบการแพร่ระบาดและไม่มีผู้ติดเชื้อเกินกว่า 14 วัน นอกเหนือตามข้อ 1.1 ให้ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้มีการตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่ที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลที่เสี่ยง และกิจกรรมกิจการที่เสี่ยง

2.ให้มีมาตรการป้องกันโรค สวมหน้ากากอนามัย 100%, ทำความสะอาดมือ สถานที่ หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสบ่อยๆ, หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก, ลงทะเบียนเข้าพื้นที่หรือร่วมกิจกรรมผ่าน Application ไทยชนะ หรือ โดยระบุชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์

3.ห้ามแรงงานต่างด้าวเคลื่อนย้ายเข้า-ออกจากพื้นที่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

4.หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมากหากมีความจำเป็นต้องดำเนินการ ให้ยื่นแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรค ต่อ ศปก.อำเภอ/เทศบาล ก่อนจัดงาน โดยให้ลดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม หรือลดความหนาแน่นของผู้ร่วมกิจกรรมลง

2.ให้ปิดสถานที่การดำเนินการกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ตามความเหมาะสม เบีนระยะเวลา 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2563 ถึง 8 มกราคม 2564 ดังนี้

2.1 สถาบันอุดมศึกษา (ภาครัฐและเอกชน) ทั้งในระบบและนอกระบบ

2.2 โรงเรียน (ภาครัฐ-เอกชน-นานาขาติ)

2.3 สถานที่กวดวิชา

2.4 สถานรับเลี้ยงเด็ก/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สำหรับสถานที่ตามข้อ 2.1 ถึง 2.4 ที่มีความพร้อมในการเรียนการสอนสามารถยื่นแผนการจัดการเรียนการสอนและมาตรการควบคุมโรต ต่อ ศปก.อำเภอ/เทศบาล เพื่อขอเปิดดำเนินการ

คณะกรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี จึงขอให้ทุกภาคส่วน ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ โดยเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม อาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องะวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในบรรดาประกาศที่ได้ออกไว้ก่อนหน้านี้ไห้มีผลบังคับใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง แก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2639

สำหรับประกาศฉบับที่ 2 เรื่อง ปิดสถานที่ ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระบุว่า ด้วยได้ปรากฏสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้นใหม่ในพื้นที่บางจังหวัดของประเทศไทยรวมถึงในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค โดยพบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ประกอบอาชีพค้าขายในตลาดน้ดในขตพื้นที่ อำเภอเมืองปทุมธานึ อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอหนองเสือ

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) ในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดชองโรค อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2548

ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉึกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และประกาศเรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 8) ฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี

โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2564 วันที่ 25 ธันวาคม 2563 จึงให้ปิดสถานที่ตลาดนัด จำนวน 4 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ดังนี้

1.ตลาดสดอินเตอร์มาร์ท ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี

2.ตลาดคลองสี่เมืองใหม่ ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง

3.ตลาดชุมชนเคหะรังสิต คลอง 6 ตำบลรังสิต อำกอธัญบุรี

4.ตลาดนัดวัดปทุมนายก ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ

โดยขอให้ ศปก.อำเภอ ศปก.ตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ร่วมกันดำเนินการทำความสะอาด ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในสถานที่เสี่ยงดังกล่าว และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามแนวหางของประกาศจังหวัดปทุมธานี และมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด สำหรับตลาดใดที่ได้ถูกสั่งปิดก่อนหน้านี้ หรือตามคำสั่งนี้ครบจำนวน 3 วัน หากได้ดำเนินการเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสอบสวนโรคที่กระทรวง

สาธารณสุขกำหนดแล้ว และมีความพร้อมในการเปิดดำเนินการสามารถยื่นแผนการจัดการและมาตรการควบคุมโรค ต่อ ศปก.อำเภอ/เทศบาล เพื่อขอเปิดดำเนินการต่อไป

ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม อาจมีความผิดตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับ ไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2563 ถึง 8 มกราคม 2564

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน