พลเมืองไม่พอใจ! สิงคโปร์ให้ตำรวจมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลการ ติดตามตัว จากแอพพลิเคชั่นติดตามตัวบุคคล ซึ่งถูกใช้โดย 80 เปอร์เซ็นต์ของคนในสิงคโปร์

The Straits Times

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2564 สำนักข่าว The Guardian รายงานว่า พลเมืองสิงคโปร์มีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวเนื่องจากโครงการ “เทรซ ทูเกเตอร์ ติดตามไปด้วยกัน” (TraceTogether) ถูกใช้โดยเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรในประเทศ

ทั้งนี้ สิงคโปร์ประกาศว่าตำรวจจะสามารถใช้ข้อมูลที่ได้รับจากเทคโนโลยีการติดตามที่ทำขึ้นเพื่อรับมือกับโควิด-19 ในการสืบสวนคดีอาชญากรรมเช่นกัน ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวของรัฐบาล ทำให้พลเมืองมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของระบบ

The Straits Times

เจ้าหน้าที่กล่าวว่าเทคโนโลยีที่ใช้ อยู่ในรูปแบบของแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์และอุปกรณ์ โทเคน หรืออุปกรณ์พกพาเป็นทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุและเด็กที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ เป็นเทคโนโลยีติดตามตัวโดยบลูทูธ ซึ่งถูกใช้โดยประชากรมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ของประเทศ หรือเกือบ 6 ล้านคน ซึ่งเมื่อกฎดังกล่าวประกาศใช้ จะทำให้ระบบเก็บข้อมูลนี้จะถูกบังคับใช้ให้ติดตั้งในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น ห้างสรรพสินค้า และจัดเก็บข้อมูลแม้กระทั่งเมื่อผู้ใช้งานอยู่ในบริเวณเดียวกับผู้ใช้งานคนอื่น ๆ โดยระบบบลูทูธ

โครงการ TraceTogether ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะของโครงการติดตามการเดินทางของพลเมืองถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น ในประเทศไทย คือแอพพลิเคชั่น “ไทยชนะ” ซึ่งทำให้พลเมืองเกิดความกลัวและกังวลในด้านความเป็นส่วนตัว แต่เจ้าหน้าที่สิงคโปร์ได้ระบุว่า ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสจัดเก็บไว้ในเครื่องและตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เฉพาะในกรณีที่บุคคลตรวจพบผลโควิด-19 เป็นบวกเท่านั้น

SG Gov

“กองกำลังตำรวจสิงคโปร์มีอำนาจ ในการแสวงหาและเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงข้อมูล TraceTogether สำหรับการสืบสวนคดีอาชญากรรม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดส มอนด์ตัน กล่าว เมื่อวันจันทร์ (4 ม.ค.64) ในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลบนเว็บไซต์ TraceTogether ระบุเพียงว่า “ข้อมูลจะถูกใช้สำหรับการติดตาม ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เท่านั้น”

ความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวที่มาพร้อมกับการบังคับใช้แอพพลิเคชั่นลักษณะเดียวกันนี้ของรัฐ ไม่ได้เกิดขึ้นแต่ประเทศสิงคโปร์เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศ เช่น อิสราเอล เกาหลีใต้ รวมถึงไทย เป็นต้น ขณะที่ แอพฯลักษณะเดียวกันของรัฐบาล ญี่ปุ่น และ ฮ่องกง ประชาชนกลับไม่ใช้งาน เนื่องจากกังวลในการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ซึ่งความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ จะเป็นตัวชี้วัดในการใช้แอพพลิเคชั่นในลักษณะดังกล่าวอย่างสนิทใจของประชาชน

ทั้งนี้ ความกังวลของพลเมืองสิงคโปร์ ได้เพ่งเล็งไปที่ปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูล” บริษัท กฎหมาย นอร์ตัน โรส ฟูลไบรท์ (Norton Rose Fullbright) ได้กล่าวถึงความน่ากังวลของแอพพลิเคชั่นนี้ในสิงคโปร์และแอพพลิเคชั่นในลักษณะเดียวกันในประเทศอื่นๆ เช่นกัน

ไทยชนะ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน