ปัจจุบันมีการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูงออกมาสำเร็จแล้ว ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเริ่มมีการจัดสรรและจัดซื้อเพื่อนำวัคซีนที่ประสบผลสำเร็จมาใช้ภายในประเทศ

ทั้งนี้ทั่วโลกมีการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในมนุษย์จำนวน 291 ชนิด โดยการพัฒนาวัคซีนนั้นแบ่งเป็นระยะก่อนทดสอบในมนุษย์ 223 ชนิดและระยะที่ทดสอบในมนุษย์ 63 ชนิด แต่มีวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 5 ชนิดที่ทดสอบประสิทธิภาพเสร็จแล้ว ได้แก่ 1. BioNTech-Pfizer: BNT162b2 2. Moderna: mRNA-1273 3. Oxford/Astrazeneca-ChAdoX1 4. Sinopharm: BBIBP-CorV และ 5. Gamaleya: Sputnik V

โควิด

สามารถสรุปข้อมูลของความก้าวหน้าของวัคซีน โควิด-19 ได้ดังต่อไปนี้

วัคซีน BNT162b2 จากบริษัท BioNTech-Pfizer ใช้เทคนิค mRNR ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาวัคซีน 95% โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 21 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น -70 องศาเซลเซียส

วัคซีน mRNA-1273 จากบริษัท Moderna ใช้เทคนิค mRNR ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาวัคซีน 94.1% โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 28 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น -20 องศาเซลเซียส

วัคซีน ChAdoX1 จากบริษัท Oxford/Astrazeneca ใช้เทคนิคไวรัส adenovirus พาหะ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาวัคซีน 60-90 % โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 21-28 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียส

วัคซีน CoronaVac จากบริษัท Sinovac ใช้เทคนิควัคซีนตัวตาย แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนในระยะที่ 3 จากการฉีดวัคซีน ซึ่งมีรายงานประสิทธิภาพจากประเทศตรุกี 91.25% และประเทศบราซิล น้อยกว่า 50 % โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 14-28 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียส

อย่างไรก็ตามข้อมูลทั้งหมดเกิดจากการติดตามผลจากข้อมูล ซึ่งเป็นข้อสังเกตจากผู้วิจัยโดยข้อมูลทั้งหมดใช้ระยะเวลาในการติดตามผล 2-3 เดือน ยกเว้นของ Sinovac ที่ยังไม่มีผลรายงานการวิจัยในวารสารทางการแพทย์ระยะที่ 3 ทั้งนี้ผลข้างเคียงที่พบบ่อยในวัคซีนทุกชนิดคือ มีอาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีดยา ปวดศีรษะ เพลีย หรือไข้ แต่ยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากวัคซีนดังกล่าว เนื่องจากอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ได้รับวัคซีนนั้นไม่พบว่าเกี่ยวกับการใช้วัคซีนแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามวัคซีนที่อาจนำมาใช้ในประเทศไทย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คือ วัคซีน CoronaVac จากบริษัท Sinovac ซึ่งวัคซีนชนิดนี้ มีความคล้ายคลึงมากกับวัคซีน BBIBP-CorV ที่ทดสอบประสิทธิภาพแล้ว และได้รับอนุญาตใช้ในหลายประเทศแล้ว โดยรัฐบาลได้มีข้อตกลงในการจัดหาวัคซีนจำนวน 26 ล้าน และในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 จะได้รับวัคซีน ChAdoX1 ของบริษัท Astrazeneca อีก 26 ล้านโดส รวมถึงจัดหาจากผู้ผลิตอื่น ๆ อีก 13 ล้านโดส ซึ่งทางประเทศไทย วางแผนที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ครอบคลุมร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศภายในปี พ.ศ.2564

Covid vaccine: CDC should warn people the side effects from shots won't be 'walk in the park'

ที่มา : ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ แห่งประเทศไทย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน