กทม.เจอ 5 คลัสเตอร์ใหม่ ตลาดเทเวศร์ เพชรบุรีซอย 10 แคมป์ซิโนไทยลาดพร้าว และ 2 ชุมชนเขตวัฒนา ด้านสมุทรปราการพบคลัสเติร์ใหม่โรงงานฟอกหนัง ส่วนสมุทรสาครเจอติดในโรงงานผลิตสินค้าเด็กอื้อ 224 ราย ตรวจแคมป์ก่อสร้าง 367 แห่ง ไม่ผ่าน 97 แห่ง จี้ปรับปรุงด่วนหลายเรื่อง

วันที่ 6 มิ.ย. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) กล่าวว่า การติดเชื้อโควิด 19 ในจังหวัดต่างๆ นั้น สมุทรสาคร เจอโรงงานผลิตสินค้าเด็ก รายใหม่ 224 ราย สะสม 433 ราย เพชรบุรีพบในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เดิทอีก 183 ราย สะสม 5,598 ราย นนทบุรีเจอแคมป์ก่อสร้าง 112 ราย สะสม 1,113 ราย สมุทรปราการ พบคลัสเตอร์ใหม่ที่เขตอุตสาหกรรมฟอกหนัง 16 ราย ตรัง เป็นโรงงานผลอตถุงมือเจออีก 55 ราย เรามีการติดตามคลัสเตอร์ต่างๆ ขอให้จังหวัดต่างๆ ติดตามรายละเอียดจากสำนักงานาาธารณสุขจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดต่อไป

กองระบาดวิทยานำเสนอภาพว่า จังหวัดที่มีรายงานประปราย แต่ปรากฏว่ามีการเชื่อมโยงในเขตที่มีการติดเชื้ออยู่แล้ว คือ มีประวัติเสี่ยงจากการสัมผัสผู้ติดเชื้อของบางจังหวัด เช่น หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ บึงกาฬ สุรินทร์ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ ที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วยมาจาก กทม. ทำให้เห็นว่า การควบคุมโรค โรคไม่ได้อยู่ที่พื้นที่ แต่มาจากบุคคลที่เคลื่อนย้าย เมื่อมีการสั่งปิดที่หนึ่งก็กลับภูมิลำเนา การทำด้านหนึ่งมีผลต่ออีกด้านหนึ่งเสมอ มาตรการใดๆ ในแห่งหนึ่งมีผลต่อคนและสังคมจังหวัดต่างๆ ตามมา

ส่วน กทม.พบคลัสเตอร์เฝ้าระวังรวม 63 คลัสเตอร์ ซึ่งเพิ่มตามระยะเวลาที่ผ่านไป พบคลัสเตอร์ใหม่ 5 คลัสเตอร์ ได้แก่ ตลาดเทวราช (เทเวศร์) เขตดุสิต , ชุมชนเพชรบุรีซอย 10/ซอยหลังโรงเรียนกิ่งเพชร เขตราชเทวี , แคมป์ก่อสร้าง บ.ซิโน ไทย เขตลาดพร้าว , ชุมชนมาซิม เขตวัฒนา และชุมชนเฉลิมอนุสรณ์ เขตวัฒนา ยืนยันว่าทั้งหมดไม่มีการปกปิดข้อมูล

“เมื่อวานที่รายงานว่าตลาดผ่านการตรวจประเมิน 97 แห่ง วันนี้ผ่านประเมินเพิ่ม 3 แห่ง เป็น 102 แห่ง โดยรายชื่อขอให้ติดตามจากเว็บไซต์ของ กทม.ว่าที่ไหนควรไปเดินจับจ่ายใช้สอย” นพ.ทวีศิลป์กล่าว

นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ส่วนแคมป์ก่อสร้างใน กทม.ที่มี 409 แห่ง เป็นเป้าหมายเช่นเดียวกับตลาดที่ต้องเข้าไปตรวจ วันนี้ตรวจแล้วทั้งหมด 367 แห่ง ผ่าน 270 แห่ง ไม่ผ่าน 97 แห่ง ประเมินทั้งผู้ประกอบการ นายจ้าง มาตรการคนงาน บุคคลในครอบครัว เพราะบางแห่งบ้านและที่ทำงานเป็นที่เดียวกัน โดยพบว่ามาตรการของนายจ้างที่ต้องทำเพิ่ม คือ การวางแผนเตรียมความพร้อมเมื่อพบผู้ป่วย และการสื่อความรู้ข้อมูลข่าวสาร เพราะเป็นแรงงานต่างด้าว อาจคุยภาษาไทยไม่รู้เรื่องต้องปรับปรุงโดยทางนายจ้าง ที่นั่งรับประทานอาหารในแคมป์ไม่มี ทำให้ไปเกิดการจับกลุ่ม ส่วนคนงานที่เห็นคืออาบน้ำรวมกัน กิจกรรมสังสรรค์ ว่างงานมีการดื่มสูบ ทำอาหาร ความสะอาดห้องน้ำยังไม่เหมาะสม จึงต้องปรับปรุงแก้ไข

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน