กรมวิทย์เผยเหลือ 6 จังหวัดยังไม่พบโอมิครอนเตรียมปรับวิธีสุ่มตรวจให้รู้สถานการณ์สายพันธุ์จริงในไทย หลังสัดส่วนโอมิครอนสูงเกินจริง แจงเดลตาครอน” 24 ตัวอย่างที่ไซปรัสไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ แต่เป็นเดลตาที่ปนเปื้อนเชื้อโอมิครอน

เมื่อวันที่ 10 ..65 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เราตรวจโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมาเกือบ 2 เดือน ตรวจล่าสุดวันที่ 9 ..พบเพิ่มขึ้น 715 ราย ตัวเลขสะสม 5,397 ราย กระจายพบใน 71 จังหวัด เหลือเพียง 6 จังหวัดที่ยังตรวจไม่พบ คือ น่าน ตราด ชัยนาท อ่างทอง พังงา และนราธิวาส

ส่วนที่พบโอมิครอนเกิน 100 ราย มี 10 จังหวัด คือ กทม. 1,820 ราย, ชลบุรี 521 ราย, ภูเก็ต 288 ราย, กาฬสินธุ์ 249 ราย, ร้อยเอ็ด 237 ราย, สมุทรปราการ 222 ราย, สุราษฎร์ธานี 199 ราย, มหาสารคาม 163 ราย, อุดรธานี 149 ราย และขอนแก่น 136 ราย

โดยกลุ่มจังหวัดภาคอีสานเป็นการติดเชื้อในพื้นที่เกือบทั้งหมด ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ติดจากคนเดินทางมาจากต่างประเทศส่วนใหญ่

ทั้งนี้ การตรวจโอมิครอนยังเป็นการตรวจในผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศทั้งหมด และผู้สัมผัสเสี่ยงโอมิครอน ทำให้ตัวเลขสัดส่วนอมิครอนอาจสูงเกินจริง โดยจะมีการปรับวิธีการสุ่มตรวจ โดยให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 ศูนย์สุ่มตรวจสัปดาห์ละ 140 ตัวอย่างของผู้ติดเชื้อว่าเป็นสายพันธุ์อะไร เพื่อจะได้สัดส่วนสถานการณ์จริง

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า สำหรับเรื่องเดลตาครอนกรมวิทย์พูดคุยกับ GISAID ที่เป็นระบบฐานข้อมูลกลางโลกเป็นระยะ ซึ่งกรณีรายงานของนักวิทยาศาสตร์ประเทศไซปรัส ส่งข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวเข้ามา 24 ตัวอย่าง พบมีการกลายพันธุ์ทั้งส่วนที่เป็นเดลตาและโอมิครอนอยู่ด้วยกัน

ซึ่งเมื่อเอาข้อมูลมาดูพบว่าเป็นอย่างนั้นจริง มีทั้งส่วนของเดลตาและโอมิครอน แต่ส่วนที่เป็นโอมิครอนเหมือนกันทั้งหมด ส่วนที่เป็นเดลตามีความแตกต่างกันไป ซึ่งถ้าเป็นเชื้อตัวใหม่จริงจะต้องตรวจทั้งสองฟากเหมือนกัน ไม่ใช่ตรวจแล้วฟากหนึ่งแตกต่าง เพราะตอนนี้เชื้อเดลตามีสายพันธุ์ย่อยถึง 127 สายพันธุ์แล้ว

กรณีของไซปรับที่คนติดเดลตามีรหัสพันธุกรรมแตกต่างกันไป แต่โอมิครอนเหมือนกันหมด นำมาสู่ข้อสรุปว่า GISIAD ยังจัดชั้นให้การค้นพบทั้ง 24 รายเป็นเดลตา ไม่ได้เป็นสายพันธุ์ใหม่ โดยโอกาสที่จะเกิดมากสุด คือ การปนเปื้อน หมายความว่าคนติดเชื้อเดลตา ซึ่งเดลตามีหลากหลายสายพันธุ์ย่อย แต่ไปปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อโอมิครอนในตัวอย่างเหล่านั้น จึงพบ 2 สายพันธุ์ในตัวอย่างเดียวกัน หรืออาจเป็น Mix Infection คือ ติดทั้งสองตัวในคนเดียวกัน แต่มีโอกาสน้อยมาก ยิ่งพบถึง 24 คน ที่จะติด 2 สายพันธุ์ จึงมีโอกาสน้อย ส่วนที่จะบอกว่าเป็นไฮบริดตัวใหม่แทบจะเป็น 0 แต่จะติดตามต่อไปนพ.ศุภกิจกล่าว

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ดำเนินการสุ่มทดสอบชุดตรวจ ATK จำนวน 8 ยี่ห้อ มาทดลองตรวจเชื้อโอมิครอน ซึ่งทางกรมฯ เพาะเชื้อได้นั้น เมื่อเทียบกับการตรวจด้วย RT-PCR พบว่า หากเชื้อปริมาณมาก หรือค่า CT น้อย ประมาณ 20 กว่า ATK ทุกตัวสามารถตรวจเจอทั้งหมด แต่หากค่า CT มากคือเชื้อน้อยลง คือมากกว่า 25-26 ขึ้นไป RT-PCR ยังตรวจเจอ แต่ ATK ตรวจไม่เจอ เพราะไม่ได้ขยายสารพันธุกรรมแบบ RT-PCR

ดังนั้น ATK ที่ผ่านอนุญาต อย.แล้ว ไม่มีอะไรแตกต่าง ยังตรวจโควิดสายพันธุ์โอมิครอนได้เหมือนปกติธรรมดากับสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ และย้ำว่าไม่มี ATK ตัวไหนที่ตรวจแล้วบอกว่าเป็นโอมิครอนโดยเฉพาะหากเห็นใครโฆษณาตรวจแยกสายพันธุ์ได้คือของเก๊

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน