กรมวิทย์ เผย โควิด BA.4/BA.5 ครองไทย เจอใน กทม. 90% พบเป็น BA.5 มากกว่า BA.4 ส่ส่วน BA.2.75 เจอป่วยในไทย 5 ราย พบ 1 รายอาการหนักเข้าไอซียู

วันที่ 8 ส.ค.2565 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาวันที่ 30 ก.ค.-5 ส.ค. 2565 มีการตรวจเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 จำนวน 382 ตัวอย่าง พบว่า เป็นสายพันธุ์โอมิครอน BA.1 จำนวน 1 ราย คิดเป็น 0.26%, สายพันธุ์ BA.2 จำนวน 58 ราย คิดเป็น 15.18%, สายพันธุ์ BA.4/BA.5 จำนวน 322 ราย คิดเป็น 84.29% และสายพันธุ์ BA.2.75 จำนวน 1 ราย คิดเป็น 0.26% สำหรับสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ภายในประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดย กทม.พบเป็น BA.4/BA.5 ถึง 91.5% ส่วนภูมิภาคเพิ่มขึ้นเป็น 80%

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า เมื่อถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวสัปดาห์ก่อนพบสัดส่วน BA.5 ต่อ BA.4 คือ 75% และ 25% สัปดาห์นี้พบ BA.5 เพิ่มขึ้นเป็น 77.13% และ BA.4 เป็น 21.9% คิดเป็นอัตราส่วน 4:1 จึงถือว่า BA.5 แพร่เร็วกว่า BA.4 สอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ส่วนความรุนแรงของ BA.4/BA.5 ยังสรุปไม่ค่อยได้ว่ารุนแรงกว่า BA.1/BA.2 มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากผู้ติดเชื้อทั้งหมดแทบเป็น BA.4/BA.5 ไปทั้งหมดแล้ว การเปรียบเทียบความรุนแรงกับสายพันธุ์เดิมก่อนหน้านี้จึงยากขึ้น แต่เบื้องต้นคิดว่าไม่น่าแตกต่างกันมาก

กรมวิทย์ เผย โควิด BA.4/BA.5 ครองไทย เจอใน กทม. 90% พบเป็น BA.5 มากกว่า BA.4 ส่ส่วน BA.2.75

กรมวิทย์ เผย โควิด BA.4/BA.5 ครองไทย เจอใน กทม. 90% พบเป็น BA.5 มากกว่า BA.4 ส่ส่วน BA.2.75

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับสายพันธุ์ BA.2.75 ทั่วโลกมีการรายงานใน GISAID จำนวน 1,434 ราย ส่วนประเทศไทยพบ 5 ราย ได้แก่ 1.ชายไทย อายุ 53 ปี จ.ตรัง 2.ชายไทย อายุ 62 ปี จ.แพร่ 3.ชายไทยอายุ 18 ปี จ.น่าน 4.ชายไทยอายุ 62 ปี จ.สงขลา เป็นผู้ป่วยติดเตียง ไม่เคยได้รับวัคซีนโควิดเนื่องจากระบุว่าแพ้ง่าย ทำให้มีอาการหนักต้องเข้ารักษาในไอซียู ใส่ท่อช่วยหายใจ และ 5.หญิงไทย อายุ 85 ปี กทม. เป็นผู้ป่วยติดเตียง

ทั้งนี้ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาและจากนี้ไปสามารถตรวจ BA.2.75 ได้ในพื้นที่ จะทำให้เห็นอย่างแท้จริงว่า ในบ้านเรามี BA.2.75 เยอะขึ้นหรือไม่ ถ้าแพร่เร็วจริงจะเห็นจำนวนสูงขึ้น แต่ถ้าไม่เร็วก็จะโผล่ขึ้นมาแล้วหายไป

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ส่วนกรณีโควิดสายพันธุ์ BA.4.6 นั้น ย้ำว่าการกลายพันธุ์เรื่องปกติ และเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เป็นสายพันธุ์ย่อยของ BA.4 เกิดมาตั้งแต่ปี 2020 มีการรายงาน 6,819 ตัวอย่าง และเจอหลายประเทศ แต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เจอตัวเลขที่สูงขึ้นในบางประเทศ คือ อังกฤษ สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่ได้จัดลำดับชั้นอะไร

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า เพียงรับรู้ข้อมูลว่ามีการกลายพันธุ์ ตำแหน่งคล้ายกับเดลตา เบตาบางส่วน แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าจะหลบภูมิมากน้อยแค่ไหน แพร่เร็วกว่าเดิมจริงหรือไม่ ถ้าแพร่เร็วจริง ตัวนี้มาตั้งแต่ปี 2020 ก็น่าจะเห็นหน้าเห็นหลัง ทั้งนี้ ก็ต้องจับตา ซึ่งประเทศไทยยังไม่มี เรื่องความรุนแรงยังไม่มีข้อมูล ก็จะตามดูต่อไป

“ทุกวันนี้โรคโควิด 19 ยังอยู่ เรามียาและวัคซีน ซึ่งคนฉีดจำนวนมากแล้ว มาตรการส่วนใหญ่ คนยังใส่หน้ากากจำนวนมาก ใช้ชีวิตเท่าที่มีความปลอดภัยก็ไม่ต้องกังวลมาก เราไม่กลับไปล็อกดาวน์ แต่อยากย้ำคนฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายนานแล้ว 3-4 เดือน ก็มาฉีดกระตุ้นให้มากพอป้องกัน ซึ่งจะเห็นว่าผู้ป่วยรายหนึ่งของสายพันธุ์ BA.2.75 อยู่ในไอซียูเพราะไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย และอายุมากก็เข้าข่ายมีอันตราย” นพ.ศุภกิจ กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน