นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่าซีพีเอฟ ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ หรือดีเจเอสไอ ในกลุ่ม Emerging Markets หรือกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ประจำปี 2559 ในหมวดอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 หลังจากเมื่อปี 2558 บริษัทได้เข้าไปประเมินด้านความยั่งยืนกับทางดีเจเอสไอเป็นครั้งแรก และได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกในปีแรก อย่างไรก็ดีในปีนี้เอง ซีพีเอฟ เป็นหนึ่งใน 4 บริษัท จาก 33 บริษัทในกลุ่มผู้ผลิตอาหาร ที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกดีเจเอสไอ โดยในปีนี้ได้รับคะแนนรวม 75 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ได้ 65 คะแนน ซึ่งคะแนนสูงขึ้นในทุกมิติ และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร

ทั้งนี้ซีพีเอฟ อยู่ในธุรกิจอาหาร ซึ่งขับเคลื่อนอยู่บนพื้นฐานของทรัพยากรด้านผลผลิตทางการเกษตร ดิน น้ำป่า ที่มีความสำคัญกับการผลิตอาหารของโลก อีกทั้งซีพีเอฟ ได้มีส่วนในการผลิตอาหารให้ผู้บริโภคทั่วโลกราว 3,000 ล้านคน ดังนั้นจึงมีพันธกิจในการผลิตอาหารที่ดี ปลอดภัยให้กับโลก ขณะที่การขยายธุรกิจเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนก็เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ซีพีเอฟ ต้องมองและเดินไปในทิศทางของความยั่งยืนให้ได้ เพื่อสร้างความมั่นใจและสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับโลก ทำให้เป็นที่มาที่ไปของการที่ซีพีเอฟเข้าไปสู่ในกระบวนการความยั่งยืนของดีเจเอสไอด้วย

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c-%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%9e%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%9f-anuga

นายวุฒิชัย กล่าวอีกว่าทิศทางการดำเนินธุรกิจของซีพีเอฟในปีนี้และอนาคต ยังคงวางกลยุทธ์และแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืน ภายใต้ 3 เสาหลัก คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ โดยผ่านโครงการต่างๆ ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ การดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” และต่อยอดโครงการซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต” การยกระดับห่วงโซ่อุปทานให้มีคุณภาพมากขึ้น การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบโรงงานและสถานประกอบการของบริษัทไปตั้งอยู่ประมาณ 400 แห่ง ด้วยการเสริมสร้างอาชีพและรายได้เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้ และ 2 เป้าหมายสุดท้ายคือ การบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าหมายลดการใช้พลังงานรวม 9% น้ำ 10% ของเสีย 7% ก๊าซเรือนกระจก 4% ต่อตันการผลิต รวมถึงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านโครงการ ซีพีเอฟปลูก-ปัน-ป้องป่าชายเลน เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 จังหวัด กว่า 2,600 ไร่ อาทิ สมุทรสาคร ชุมพร สงขลา และระยองเป็นต้น

สำหรับดัชนีดีเจเอสไอ จะมีส่วนทำให้เกิดการสร้างความตระหนักในการลงทุนมากขึ้น และยังเป็นดัชชี้วัดความยั่งยืนของกิจการต่างๆ ทั้งยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้นักลงทุนและกองทุนระดับโลก ใช้ในการตัดสินใจลงทุนด้วย อย่างไรก็ดีปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จากทั่วโลกจำนวน 3,000 บริษัท ที่ได้รับคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกดีเจเอสไอ โดยประเทศไทยมีบริษัทได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกถึง 14 บริษัท สูงสุดในอาเซียน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน