รัฐแก้ปัญหาราคาตกต่ำ ให้ห้องเย็นรับซื้อหมึก เชื่อ 2 เดือนราคาสูงขึ้น ‘บิ๊กฉัตร’ ยันไม่กระทบแก้ปมไอยูยู

ให้ห้องเย็นรับซื้อหมึก – พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการแรงงานประมง และรับฟังข้อเสนอและการแก้ปัญหาราคาสินค้าสัตว์น้ำตกต่ำ ร่วมกับตัวแทนประมงทั่วประเทศกว่า 40 สมาคม ว่า รับทราบและเห็นด้วยกับมาตรการแก้ปัญหาราคาสัตว์น้ำ โดยเฉพาะหมึกตกต่ำ โดยสมาคมแช่เยือกแข็งจะดำเนินการระยะเร่งด่วน 2 เรื่อง ดังนี้คือ ให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง สมาคมประมงแห่งประเทศไทย รับซื้อหมึกกล้วยเก็บไว้ในห้องเย็น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ และจัดประชุมแพปลา ตลาดปลา เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องการจัดทำเอกสารตามระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมง เพื่อให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมง และจะต้องจัดประชุมภายในวันที่ 15 พ.ย.

ทั้งนี้ ในที่ประชุม สมาคมประมงแห่งประเทศไทย ได้เสนอการแก้ปัญหาในระบะสั้น กลาง และยาว โดยการแก้ปัญหาระระยะสั้น คือการที่ภาครัฐจะพิจารณามาตรการนำเข้าสินค้าด้านการทำการประมงผิดกฏหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู) โดยการหารือกับฝ่ายเมียนมา ให้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมในแบบฟอร์มของฝ่ายเมียนมา เช่น เลขที่ใบอนุญาตทำการประมง พื้นที่ทำการประมง ข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมง เป็นต้น โดยจะต้องได้ข้อยุติภายในวันที่ 30 พ.ย. 2561

“การนำเข้าสัตว์น้ำจากเมียนมา เป็นการนำเข้าเพื่อบริโภคภายในประเทศ เชื่อไม่กระทบกับการแก้ปัญหา ไอยูยู และการส่งออกของไทย ซึ่งการนำเข้าสัตว์น้ำจากเมียนมาหรือเพื่อนบ้านเป็นหน้าที่ของกรมประมง ที่จะคุมเข้มสุขอนามัยด่านก่อนเข้ามาในไทย ทุกวันนี้ก็ดำเนินการอยู่แล้ว ส่วนราคาหมึกที่ตกต่ำ เป็นไปตามวัฏจักรของสินค้า เชื่อว่าอีประมาณ 2 เดือน ราคาจะดีขึ้น เพราะเป็นแบบนี้มา 3 ปีแล้ว ส่วนการเข้ามาตรวจการแก้ปัญหาไอยูยู อียู แสดงความพอใจกับการแก้ปัญหาของไทย”

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ส่วนการแก้ปัญหาระยะกลาง ภาครัฐจะพิจารณามาตราการการนำเข้าสินค้า ด้านสุขอนามัย มอบรมช.เกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดให้กรมประมงจัดการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติภายในวันที่ 15 ธ.ค. 2561

สำหรับการแก้ปัญหาระยะยาว จะมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อจำทำข้อมูลประกอบด้วย 1. ข้อมูลการตลาดสินค้าสัตว์น้ำห่วงโซ่อุปทาน 2. ข้อมูลต้นทุนการจับสัตว์น้ำของชาวประมงตามชนิด เครื่องมือ และขนาดเรือประมง เพื่อเป็นฐานข้อมูลประกอบการแก้ไข้ปัญหาหากเกิดขึ้นในอนาคต แต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วย หน่วนงานที่เกี่ยวข้อง กรมประมง กรมการค้าภายใน องค์การสะพานปลา ภาคเอกชน นักวิชาการ และกำหนดให้แล้วเสร็จ ภายใน 6 เดือน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน