สคร. เบรครถไฟความเร็วสูง กทม.-หัวหิน!

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า อนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ด PPP) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้ส่งเรื่องโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทางราว 210 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 94,673.15 ล้านบาท กลับมาให้กระทรวงคมนาคมทบทวนแนวเส้นทางและรูปแบบการร่วมทุน (PPP) ใหม่ เนื่องจากสาระสำคัญของโครงการได้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่มีปัญหาหลายจุด ส่งผลให้วงเงินก่อสร้างต้องเปลี่ยนแปลง

เพิ่มเพื่อนไม่พลาดทุกข่าวสาร เพิ่มเพื่อนกับไลน์ข่าวสด!
เช่น กรณีกรมทางหลวง (ทล.) ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่เกาะกลางทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) บริเวณตำบลธงชัย จ.เพชรบุรี ในการก่อสร้าง โดยให้เหตุผลว่าถนนเพชรเกษมเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ และภาคใต้ จึงเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัย ส่งผลให้ต้องเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นถนนเลี่ยงเมืองเพชรบุรีแทน

นอกจากนี้ยังต้องทบทวนแนวเส้นทางช่วงที่ผ่านสะพานพระราม 6 ที่ก่อสร้างตั้งแต่ปี 2465 โดยอาจจะต้องมีการออกแบบแนวเส้นทางและออกแบบสะพานพระราม 6 ใหม่ รวมถึงต้องหารือเรื่องการใช้แนวเส้นทางร่วมกับรถไฟทางคู่ อีกด้วย คาดว่าจะไม่สามารถเสนอโครงการให้รัฐบาลขุดปัจจุบันอนุมัติโครงการได้

รายงานข่าวจาก รฟท กล่าวว่าขณะนี้ รฟท อยู่ระหว่างการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาโครงการรถไฟไฮาปีดเทรน กทม-หัวหิน เฟส 2 ช่วงหัวหิน-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 426 กม สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงภาคใต้มีทั้งหมด 2 เฟส เฟสแรกช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 209 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง 10 นาที การลงทุนเป็นรูปแบบพีพีพีและให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 12.07% ในระยะเวลา 50 ปี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน