รฟม.เตรียมเปิดประมูล รถรางภูเก็ต 3 หมื่นล้าน! เคาะค่าโดยสารสูงสุด 137 บาท

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเปิดงานสัมมนาการทดสอบความสนใจของภาคเอกช โครงการรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม) ภูเก็ตวานนี้ (11ม.ค.) ว่ารัฐบาลเร่งรัดให้ รฟม.ดำเนินโครงการรถแทรมภูเก็ต เพื่อสนับสนุนและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน โดยจะดำเนินการเฟส 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลองก่อน วงเงินลงทุน 34,827 ล้านบาท ระยะทาง 41.7กม

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างปรับแบบแนวเส้นทางร่วมกับกรมทางหลวง(ทล.)ซึ่งเป็นเจ้าของถนนเกาะกลาง เพื่อไม่ให้ส่งผลกับการจราจรบนถนนเพราะบางส่วนมีการใช้รางบนถนนร่วมกับรถยนต์ เบื้องต้นจะ รฟม.อาจจะปรับเส้นทางบนดิน ให้เป็นอุโมงค์ใต้ดิน เพิ่มอีก 2 จุดเพื่อรถผลกระทบจราจรบริเวณสี่แยกและจุดกลับรถบนถนนของกรมทางหลวง ส่งผลทำให้งบลงทุนเพิ่มขึ้น จากเดิมอีก1,000-1,600ล้านบาท ซึ่งจะทำให้วงเงินลงทุนภาพรวมเพิ่มขึ้นเป็น 35,821-36,427 ล้านบาท

 

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

 

นายธีรพันธ์ กล่าวถึงรูปแบบลงทุนว่าจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐในรูปแบบพีพีพี สัมปทานระยะ 30 ปี โดยรัฐจะสนับสนุนค่างานโยธาและการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน รวมทั้งสิ้นประมาณ 19,318 ล้านบาท โดยเอกชนจะต้องรับภาระค่างานระบบรถไฟฟ้า จัดหาขบวนรถ และบริหารโครงการเอง คาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(อีไออาร์อาร์)อยู่ที่ 12.5% คาดว่าจะนำเสนอโครงการให้ คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการได้ช่วงกลางปีนี้ เปิดประมูลช่วงไตรมาส3ปีนี้ เริ่มก่อสร้างกลางปี 2563และเปิดให้บริการในปี 2566”

สำหรับค่าโดยสารนั้นจะจัดเก็บตามระยะทางและมีค่าแรกเข้า จากการศึกษาคาดว่าค่าโดยสารสูงสุดตลอดระยะทางจะอยู่ที่ 100-137บาท/คน/เที่ยว ระยะทางรวม 42 กม. ใช้ระยะเวลาในการเดินทางรวมประมาณ 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ภายหลังการเปิดให้บริการในปีแรกคาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร(ไป-กลับ)รวมประมาณ 33,190 คน /วัน คิดเป็นรายได้รวม 165 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็นประมาณ120,420 คน/วัน ในปี 2596 โดยคาดว่าจะมีรายได้จากการเดินรถตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี เท่ากับ 74,576ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีนักลงทุนสนใจเข้าร่วมลงทุน จำนวนมาก ทั้งนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนไทย อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมันนี จีน ส่วนนักลงทุนไทยได้แก่กลุ่ม บีทีเอส, บีอีเอ็ม รวมทั้งบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่เช่น กลุ่ม ช การช่าง ,อิตาเลียนไทย รวมถึงบริษัทท้องถิ่นคือบริษัทภูเก็ตพัฒนาเมืองจำกัดเป็นต้น

สำหรับแนวเส้นทางจะเริ่มจากสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตเป็นโครงสร้างยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 4031 จากนั้นลดระดับสู่ระดับดิน เพื่อเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ต โดยจะมีแนวเสน้ทางลอดใต้ดิน5จุด บริเวณถนนที่เป็น4แยก หรือจุดกลับรถเพื่อลดปัญหาจราจร ผ่านเทศบาลเมืองภูเก็ต ข้ามสะพานเทพศรีสินธุ์ เข้าสู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก และไปสิ้นสุดที่ห้าแยกท่าฉลอง มีสถานีรวมทั้งสิ้น 21 แห่ง

นายธีรพันธ์ กล่าวความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาศึกษาออกแบบรายละเอียดคาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2563 ส่วนรถไฟฟ้าโคราชภายใน 3 เดือน จะได้ตัวที่ปรึกษาศึกษาออกแบบ ส่วนรถไฟฟ้าพิษณุโลกคาดว่า จะเสนอให้ที่ประชุมบอร์ดรฟม. ในวันที่ 25ม.ค. พิจารณาอนุมัติให้ รฟม. มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน