ไทม์ไลน์ปลดใบเหลือง‘ไอยูยู’ บนวิบากกรรม 4 ปีประมงไทย : รายงานพิเศษ

ไทม์ไลน์ปลดใบเหลือง‘ไอยูยู’หลังจากที่สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศให้ใบเหลืองกับไทย ฐานะประเทศที่ทำการประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู) เมื่อ 21 เม..2558 สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการประมงทั้งระบบ ไม่เว้นกระทั่งอุตสาหกรรมการส่งออกสินค้าประมงของไทย ที่มีมูลค่ามหาศาลมากกว่าแสนล้านบาทในแต่ละปี

ใบเหลืองประมงไทยส่งผลให้ผู้ประกอบการ นำเข้าของอียู แสดงอาการไม่อยากรับซื้อสินค้าประมงจากไทย พร้อมตราหน้าว่าไทยคือประเทศที่ทำประมงผิดกฎหมาย ใช้แรงงานเถื่อน แรงงานผิดกฎหมาย ในการจับสัตว์น้ำ

ไทม์ไลน์ปลดใบเหลือง‘ไอยูยู’

พล.อ.ฉัตรชัย นายเคอเมนู ร่วมแถลงข่าวปลดใบเหลือง

ดังนั้นเป้าหมายของการแก้ปัญหาไอยูยู ไทยมีอียูเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเป้าหมายลดการทำประมงแบบทำลายล้าง ตามกติกาที่อียูกำหนดสู่ เป้าหมายการทำประมงแบบยั่งยืน

การแก้ไขปัญหาไอยูยู เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องดำเนินการทั้งองคาพยพ เมื่อวันที่ 20 เม..2559 พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบให้พล..ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ที่ขณะนั้นเป็น รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาไอยูยู

แม้ต่อมาปรับคณะรัฐมนตรี พล..ฉัตรชัย เป็นรองนายกรัฐมนตรี พล..ประยุทธ์ยังมอบหมายให้พล..ฉัตรชัย เป็นประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาไอยูยู เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง

2 ปีครึ่งของการทำงานภายใต้การกุมบังเหียนของพล..ฉัตรชัย หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกวันจันทร์ต่อเนื่อง 130 สัปดาห์ ไม่รวมลงติดตามในพื้นที่ พบปะหารือกับชาวประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์อีกนับไม่ถ้วน

พร้อมออกพระราชกำหนดเรือไทยของกรมเจ้าท่า เพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย สามารถใช้บริหารจัดการกองเรือประมงทั้งระบบ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มี..2561 โดยแยกเรือออกเป็น 7 ประเภท คือ เรือสำหรับทำการประมง เรือขนถ่ายเพื่อการประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น เรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น เรือบรรทุกน้ำมันเพื่อการประมง เรือบรรทุกน้ำจืดและเรือสนับสนุนการประมง

ปัจจุบันเรือประมงที่ถูกต้องมีจำนวน 38,495 ลำ แยกเป็นเรือประมงพาณิชย์ 10,565 ลำ หรือพื้นบ้าน 27,930 ลำ จากก่อนหน้าที่ไทยมีเรือจำนวนมากกว่า 50,000 ลำ ของเรือประมงพื้นบ้าน จะบริหารจัดการให้แล้วเสร็จในช่วงปี 2562 เพื่อให้ทุกลำเป็นระบบสากล เป็นการยืนยันข้อมูลชาวประมงพื้นบ้านเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

ไทม์ไลน์ปลดใบเหลือง‘ไอยูยู’

การเพิ่มขีดความสามารถการตรวจโดยยกระดับศูนย์วีเอ็มเอส จากทำหน้าที่เป็นเพียงติดตามเรือประมง เป็นศูนย์เอฟเอ็มซี ที่ควบคุมและเฝ้าระวังการทำการประมงทั้งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตั้งแต่การติดตามวิเคราะห์พฤติกรรมเรือ และบังคับใช้กฎหมาย กระดับความสามารถและประสิทธิภาพของ PIPO 30 ศูนย์ โดยการทำประมงที่ถูกต้องยังต้องตรวจสอบย้อนกลับได้อีกด้วย ตั้งแต่ท่าเรือจนถึงโรงงานผลิต โดยจัดประเภทของถ้าเทียบเรือประมงทั้งหมด 1,314 ท่า

ไทม์ไลน์ปลดใบเหลือง‘ไอยูยู’

แยกเป็นท่าเทียบเรือที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐเจ้าท่า 22 ท่า ท่าเทียบเรือประมงที่มีสัตว์น้ำที่จับได้บางส่วนส่งออก 284 ท่า ท่าเทียบเรือที่มีเรือประมงขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอส 227 ท่า ท่าเทียบเรือที่มีเรือประมงต่ำกว่า 30 ตันกรอสเข้าใช้บริการและสัตว์น้ำบริโภคภายในประเทศ 316 ท่า ท่าเทียบเรือที่ใช้ขนถ่ายสัตว์น้ำเพื่อนำไปผลิตอาหารสัตว์จำนวน 4 ท่าเทียบเรือประมงสำหรับจอดเรือประมง 446 ท่า ฯลฯ

ด้านแรงงานที่ถูกต้องนั้น ได้ปรับปรุงกฎหมายโดยการออก พระราชกำหนดบริหารแรงงานต่างด้าว ...ปราบปรามแรงงาน ...แรงงานประมงทะเลอยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์ตามรัฐธรรมนูญ การแก้ไขพ...แรงงานสัมพันธ์ ส่งเสริมอนุสัญญา องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลแรงงานประมงด้วย IRIS SCAN จํานวน 171,128 คน เฉพาะในเรือประมง 58,322 คน และใช้เครื่อง IRIS SCAN ที่ศูนย์เข้าออก เรือประมง (PIPO) ส่งเสริมการนําระบบแรงงานสัมพันธ์ในภาคประมงมาใช้

ไทม์ไลน์ปลดใบเหลือง‘ไอยูยู’

พล.อ.ฉัตรชัย และเจ้าหน้าที่จากไทย ร่วมชี้แจง

โดยแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานพร้อมด้วย NGOs นักวิชาการ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของแรงงานประมงไทย และข้ามชาติ

หลังจากที่มีการแก้ไขปัญหาแรงงานที่ถูกต้อง ส่งผลให้ไทยได้ปรับเลื่อนอันดับจาก TIER 2 WATCHLIST เป็น TIER 2

ใช้ระบบไอทีบันทึกข้อมูลสัตว์น้ำทุกขั้นตอนตั้งแต่ปลาขึ้นท่า ทั้งปลาในประเทศและปลานำเข้า ตรวจสอบความถูกต้องบันทึกข้อมูลในล็อกบุ๊กของไต๋เรือ กรอกใบรับรองการจับสัตว์น้ำที่ถูกต้อง

ไทม์ไลน์ปลดใบเหลือง‘ไอยูยู’

พล.อ.ฉัตรชัย ชี้แจงผู้นำเข้าสินค้าประมงไทย ในทวีปยุโรป

การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายศาลอาญา ตั้งคณะ ผู้พิพากษาคดีประมงแยกเป็นการเฉพาะเมื่อวันที่ 29 ..2561 และกำหนดให้พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

จัดประชุมสัมมนาร่วมกันระหว่างตำรวจ อัยการ ศาล เพื่อสร้างระบบที่ชัดเจน มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการพิจารณา ปัจจุบันใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 16 วัน

ปัจจุบันคดีประมงที่ผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ภาคการประมง ตั้งแต่ ..2558-2561 รวมทั้งสิ้น 4,448 คดี พบเรือประมงไม่ติดตั้งระบบการติดตามเรือประมง วีเอ็มเอส 2,054 คดี ไม่แจ้งจุดจอดรับเรือภายในเวลาที่กำหนด 171 คดี เรือสนับสนุนการประมงไม่ติดตั้งระบบวีเอ็มเอส 38 คดี

ไทม์ไลน์ปลดใบเหลือง‘ไอยูยู’

ไม่นำเรือมาทำอัตลักษณ์ 719 คดี เรือประมงนอกน่านน้ำไทย 80 คดี เรือประมงในน่านน้ำไทย 1,001 คดี เรือต่างชาติในน่านน้ำไทย 220 คดี โรงงานและสถานแปรรูปสัตว์น้ำ 77 คดี ค้ามนุษย์ในภาคประมง 88 คดี ปัจจุบันคดีแล้วเสร็จจำนวน 3,958 คดีคิด เป็น 89%

จัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการทำประมงและสินค้าปลอดไอยูยู (ไอยูยู ฟรี)

การดำเนินแก้ไขปัญหาทั้งหมดพบว่าการจับปลาในน่านน้ำไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2550-2558 จากที่จับปลาได้ลำละ 90 ตันต่อปี 2559 เพิ่มเป็น 113 ตันต่อปี และ 2560 เพิ่มเป็น 125 ตันต่อปี เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 35 ตันต่อลำ

ไทม์ไลน์ปลดใบเหลือง‘ไอยูยู’

บ๊อบ มิลเลอร์ ผู้อำนวยการ ซีพีฟู้ด สหราชอาณาจักร

ด้านนายบ๊อบ มิลเลอร์ ผู้อำนวยการ ซีพีฟู้ด สหราชอาณาจักร และผู้ก่อตั้ง Seafood Task Force กล่าวว่า หลังจากอียูปลด ใบเหลืองให้ประมงของไทย เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของสินค้าประมงไทย และความต้องการสั่งซื้อสินค้าประมงไทยจะเพิ่มแน่นอน

ส่งผลให้สินค้าประมงของไทยเป็นที่ยอมรับของตลาดโลกมากขึ้น จากที่ผ่านมา การตัดสินใจสั่งซื้อยังมีข้อกังขาเรื่องไอยูยู ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การสั่งซื้อสินค้าประมงจากไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง

การค้าประมงระหว่างไทยกับอียูหลังจากนี้ จะเห็นภาพที่เปลี่ยนไปประมาณ 6 เดือน – 1 ปี จากปัจจุบันยังมีออร์เดอร์เก่าค้างอยู่ ทำให้ต้องยึดตามข้อต่อรองเดิมไปก่อน

ไทม์ไลน์ปลดใบเหลือง‘ไอยูยู’

European Commission Building

สิ่งที่อยากเห็นต่อไปคือไทยต้องมุ่งมั่นแก้ไขปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญกับไอยูยูมาก Seafood Task Force ได้ทำงานร่วมกับ เวียดนาม และอินเดีย ที่มีปัญหาไอยูยู ในขั้นวิกฤต และจะใช้แนวทางของไทยเป็นตัวอย่างเพื่อประกระบวนการทำประมงของอาเซียน

ขณะที่สมาคมผู้นำเข้าอาหารแปรรูปและประมง อียู มองว่าอียูต้องการสินค้าประมงมากถึงปีละ 12 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 60% ผลิตได้ในอียู ที่เหลือ 40% ต้องนำเข้า สินค้านำเข้าจากไทยคือ ทูน่า กุ้งและหมึก แต่ใน 4-5 ปีที่ผ่านมา ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะปัญหาไอยูยู และค่าเงิน

แนวโน้มความต้องการสินค้าของอียูในอนาคต ผู้บริโภคหันมาใส่ใจด้านสุขภาพมากขึ้น และต้องการสินค้าสดเพื่อนำมาปรุงเอง เปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมที่บริโภคอาหารพร้อมรับประทานหรือ โฟรเซ่น ทำให้ผู้ประกอบการเล็งส่งสินค้าในแถบอียู เพื่อให้ได้สินค้าที่มีความสด

ในส่วนของโรงแรม ที่มีความจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบโฟรเซ่น ต้องใช้กระบวนการจัดเก็บใหม่เป็นซูเปอร์โฟรเซ่น เพื่อให้สินค้าสดมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องพัฒนาตามแนวโน้มดังกล่าวด้วย

ทั้งหมดนั้นคือความพยายามอย่างต่อเนื่องของทางการไทย กระทั่งสามารถปลดใบเหลืองไอยูยูได้สำเร็จ

โดย : พัทธ์ธีรา วงษ์อัศวกรณ์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน