โรงไฟฟ้าเอกชนป่วน ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยให้กฟผ.ต้องผลิตไฟฟ้าเกิน 51% ของทั้งระบบ ตามรธน.2560 แต่ปัจจุบันกำลังการผลิตมีเพียง37% ของทั้งหมด ที่เหลือเป็นเอกชนที่ผลิต แนะทบทวนแผนยุทธศาสตร์ไฟฟ้าใหม่ โดยกฟผ.ต้องผลิตเกิน51% ภายใน 10 ปี

จากกรณีนายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล ยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดินให้ตรวจสอบกรณีกระทรวงพลังงานกำหนดนโยนบายและแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าในการให้เอกชนเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า ทำให้สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของรัฐ ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 51 อันขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 56 วรรคสอง

ล่าสุดผู้ตรวจการแผ่นดิน ออกคำวินิจฉัยในกรณีดังกล่าวว่า รัฐบาลส่งเสิรมภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการผลิตไฟฟ้าตั้งวแต่ปี 2532 ได้แก่ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่, รายเล็ก และขนาดเล็กมาก ต่อมากระทรวงพลังงานมีคำสั่งกระทรวงพลังงานที่ 25/2559 เรื่องยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน มีแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ.2558-2579(PDP 2015) ต่อมาปรับแผนใหม่เป็นแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศพ.ศ.2561-2580(PDP 2018)

โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลตไฟฟ้า กระทั่งพบว่าปัจจุบันการไฟฟ่าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) มีสัดส่วนการผลิตเพียงร้อยละ 37 และลดลงเรื่อยๆ

พิเคราะห์แล้วเห็นว่าตามรัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ว่า “…โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ อันจำเป็นต่อการดำเรงชีวิตของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ รัฐจะกระทำด้วยประการใดให้ตกเป็นของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของร้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดมิได้…” ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 56 วรรคสอง

ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าปัจจุบันรัฐส่งเสริมเอกชนเข้ามามีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนกำลังการผลิตของกฟผ.ลดเหลือเพียงร้อยละ37 ถึงแม้ว่าโครงข่ายไฟฟ้าหมายถึงกระบวนการผลิต ระบบการส่ง และระบบการจำหน่าย ก็ตาม แต่การพิจารณาว่ารัฐต้องเป็นเจ้าของไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้นั้น ต้องพิจารณาแยกส่วนจากกัน แม้ว่ารัฐจะเป็นเจ้าของระบบการส่งและจำหน่าย แต่เมื่อไม่ได้เป็นเจ้าของระบบการผลิตย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคง

เพราะคำว่ารัฐเป็นเจ้าของนั้น รัฐต้องมีอำนาจเข้าไปควบคุมและบริการจัดการด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือหากป็นบริษัทเอกชนหรือบริษัทมหาชน รัฐจะต้องถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด เช่นนั้นไม่ถือว่ารัฐเป็นเจ้าของเนื่องจากรัฐไม่มีอำนาจตัดสินใจ

ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอแนะต่อกระทรวงพลังงานทบทวนและปรับแผน PDP 2015 และ PDP 2018 เพื่อกำหนดแนวทางให้รัฐมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่าร้อยละ51 ให้แล้วเสร็จใน 120 วัน และทำให้รัฐมีสัดส่วนผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่าร้อยละ51 ภายใน10ปี นับจากปีพ.ศ.2562

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าหลังมีคำวินิจฉัยออกมา ทำให้หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าซื้อขายจำนวนมากแต่อยู่ในแดนลบ กระทั่งปิดตลาดวันที่ 4 ก.ค. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือGULF ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด มูลค่าการซื้อขาย 4,821.23 ล้านบาท ลดลง -3.00 บาท คิดเป็น -2.33% ตามาด้วยอันดับ2 บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือGPSC มูลค่าการซื้อขาย 4,198.29 ล้านบาท ลดลง -2.50 บาท คิดเป็น -3.48%

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน