สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรชี้จีดีพีเกษตรทั้งปีหดเหลือไม่เกิน 1.5% จากเป้า 3.5% หลังพายุถล่ม-แล้งในฤดูฝน-ไตรมาส 3 ขยายตัวแค่ 1.1%

สศก. ชี้จีดีพีเกษตรทั้งปีหด – นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก. ประเมินสถานการณ์การเติบโตภาวะเศรษฐกิจการเกษตร (จีดีพีเกษตร) ปี 2562 จะขยายตัวอยู่ในช่วง 0.5-1.5% เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ขยายตัวได้ 4.6% ซึ่งภาวะเศรษฐกิจการเกษตรลดลงจากการประเมินไว้ในช่วงต้นปี 3.0-3.5% จากนั้นในเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ภาคการเกษตรได้รับผล กระทบจากพายุโพดุลและพายุคาจิกิ ประกอบกับสถานการณ์ภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วง สศก. จึงได้ปรับประมาณการลงมาเหลือการขยายตัวที่ 2.0-2.3% จากปี 2561

ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2562 (ก.ค-ก.ย. 2562) พบว่า ขยายตัว 1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2561 เนื่องจากผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญมีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด เงาะ และมันสำปะหลัง สำหรับสาขาบริการทาง การเกษตรและสาขาป่าไม้ยังขยายตัวได้ ขณะที่สาขาปศุสัตว์และสาขาประมงหดตัวลง

“การปรับลดแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2562 ลงมาอยู่ในช่วง 0.5-1.5% มาจากสาขาพืช สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ มีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดและกุ้งทะเล เพาะเลี้ยงมีทิศทางเพิ่มขึ้น ส่วนสาขาปศุสัตว์มีแนวโน้มชะลอตัวจากผลผลิตสุกรที่ลดลง โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากการดำเนิน นโยบายด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสม การส่งเสริมการรวมกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร การบริหารการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการส่งเสริมการใช้สินค้าเกษตรในประเทศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศทั้งภาวะแห้ง แล้งและการเกิดพายุฝนที่อาจส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร“

ด้านนายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สศก. กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคเกษตร ในไตรมาส 3 ปี 2562 ที่ขยายตัวได้ 1.1% มาจาก สาขาพืชขยายตัว 1.6% ปศุสัตว์ หดตัว 0.5% ประมง หดตัว0.3% บริการทางการเกษตร 2.5% และ ป่าไม้ 1.8% สามารถแยกย่อย ได้คือ สาขาพืชที่ขยายตัว1.6% มาจากพืชสำคัญ ที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากเนื้อที่กรีดได้เพิ่มขึ้นจากพื้นที่ปลูกใหม่ในปี 2556 ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจาก เนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง

ขณะที่ทุเรียนมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูก ในปี 2557 ที่เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ด้านมังคุด มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น ส่วนเงาะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจ ให้เกษตรกรมีการบำรุงและดูแลต้นให้มีความสมบูรณ์ และมันสำปะหลัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น และเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเร่งขุดมันสำปะหลังขายก่อนกำหนด ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น

สำหรับพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี สับปะรดโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มี, ส่วนทางด้านราคาสินค้าพืชที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ราคาข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง แต่ยังมีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาสับปะรดโรงงาน และทุเรียน เพิ่มขึ้นจากปริมาณผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของ แราคาลำไยเพิ่มขึ้นจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง และ ส่วนพืชที่ราคาลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมันลดลง มังคุดและเงาะลดลง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน