หุ้นไทยดิ่ง 90 จุดหลังน้ำมันตลาดโลกทรุดกว่า 30% เข็นมาตรการอุ้มบริษัทจดทะเบียน-บลจ.

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2563 ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงทันทีกว่า 90 จุด หลังเปิดการซื้อขายช่วงเช้า ก่อนที่จะปิดตลาดภาคเช้า ที่ระดับดัชนี 1,272.20 จุด ลดลง -92.37 จุด หรือ -6.77% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 56,468 ล้านบาท

โดยนายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหุ้นที่ปรับลงแรงกว่า 90 จุด เป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลงจาก 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เหลือ 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้มีผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจทั่วโลก และส่งผลต่อตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับลงตั้งแต่ 5-6% ไม่ว่าจะเป็นออเตรเลีย และตลาดในเอเชีย ส่วนตลาดยุโรป ต้องรอดูในช่วงบ่าย 3 วันนี้

สำหรับตลาดหุ้นไทย หลังเปิดทำการซื้อขายภาคเช้า ดัชนีปรับลงทันทีก็ว่า 5% ได้มีการรายงานให้ทางหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ซึ่งก็รับทราบในทิศทางเดียวกันว่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมามีเหตุการณ์ใหญ่และถ้ามองตั้งแต่ต้นปีจะพบว่าปีนี้มีเหตุการณ์ไม่ปกติค่อนข้างมาก

ดังนั้น เมื่อเปิดการซื้อขายในวันที่ 9 มีนาคม ทางตลาดหลักทรัพย์ก็ได้มีการมอนิเตอร์ข้อมูลการซื้อขายหุ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดีคงต้องจับตาดูต่อไปว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตจริงของไทยอย่างไร แต่สิ่งที่จะชี้แจงให้เห็นคือตลาดหุ้นไทยไม่ได้ถูกผลกระทบในทุกหุ้นอุตสาหกรรมโดยมีบางกลุ่มอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบมากและบางอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบน้อยแตกต่างกันไป

ความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทยรายสาขาในวันที่ 9 มีนาคม 2563 ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าดัชนีหุ้นในแต่ละอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงไม่เท่ากันคนที่กระทบจากน้ำมันซึ่งสามารถแยกได้อย่างชัดเจนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงคือกลุ่มทรัพยากรธรรมชาติจะกระทบค่อนข้างเยอะโดยปรับลดลงมามากกว่า 15% ขณะเดียวกันกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันจะเห็นได้ว่าลง 2-3% เท่านั้นดังนั้นผลกระทบจากตลาดหุ้นที่ปรับตัวลงแรงในวันนี้มาจากราคาน้ำมันชัดเจน

อย่างไรก็ดีได้มีการศึกษาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงแรง ทำให้มีผลต่อดัชนีหุ้นในกลุ่มน้ำมันและปิโตรเลียมที่ปรับลงจากการตีราคามูลค่าสินค้าคงคลัง โดย ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 6.6 แสนล้านบาท ดังนั้นการปรับลดราคาน้ำมันถือเป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจในภาพใหญ่ แต่สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีน้ำมันและปิโตรเลียมเป็นสินค้าคงคลัง จะได้รับผลกระทบจากการตีราคามูลค่าสินค้าคงคลังในระยะสั้น

ดังนั้นพบว่าดัชนีหุ้นไทยที่ปรับลงในวันที่ 9 มีนาคม 2563 เป็นการลดลงจากการตีราคามูลค่า สินค้าคงคลังเป็นหลัก โดย ณ สิ้นปี 2562 บริษัทจดทะเบียนที่มีน้ำมันและปิโตรเลียม เป็นสินค้าคงคลัง คิดเป็นมูลค่า 4.247 แสนล้านบาท ขณะที่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลง 32% ส่งผลให้การตีมูลค่าสินค้าคงคลังน้ำมันและปิโตรเลียม มีมูลค่าลดลง 1.359 แสนล้านบาท และมีผลทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ของบริษัทจดทะเบียนในหลุ่มน้ำมันและปิโตรเลียม ลดลง 1.09 แสนล้านบาท ในช่วงเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2563 บ

“วันนี้ที่ตลาดหุ้นปรัลงแรง ทำให้มาร์เก็ตแคปหายไป ถือเป็นผลกระทบค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับผลกระทบทั้งปี ซึ่งหลังจากนี้เราจะให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ดูด้านผลกระทบจากเหตุการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงแรงในครั้งนี้อย่างละเอียดต่อไปเพื่อจะแสดงให้เห็นว่า 1.ตลาดหลักทรัพย์มีหุ้นที่ถูกกระทบจากราคาน้ำมัน โดยตัวที่ถูกกระทบน้อยราคาปรับลงไม่มาก ส่วนหุ้นที่ถูกกระทบมากก็ถูกผลกระทบอย่างมากมายเกินขนาดที่จะถูกกระทบทั้งปี โดยวันนี้วันเดียวราคาหุ้นในกลุ่มน้ำมันและปิโตรเลียมถูกผลกระทบถึง 60% ของราคาทั้งปี ดังนั้นนักลงทุนควรพิจารณาว่าการปรับลงครั้งนี้สมเหตุสมผลหรือไม่”

อย่างไรก็ดีภาพรวมตลาดหุ้นไทยในขณะนี้ แตกต่างจากที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนมกราคมก่อนหน้า แต่วันนี้วันเดียวดัชนีปรับลดลง 5-6% สำหรับการประกาศหยุดการซื้อขาย หรือเซอร์กิตเบรคเกอร์ ก็มีเกณฑ์กำกับดูแลของตลาดอยู่แล้ว ส่วนการปรับลงของราคาหุ้นในแต่ละตัวก็มีเกณฑ์การหยุดซื้อขายเมื่อราราปรับลงนามเกณฑ์ที่ตลาดกำหนดไว้อยู่แล้ว ดังนั้นขณะนี้ยังมีการซื้อขายตามปกติ

อย่างไรก็ดีมีคำถามว่าทำไมตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงหนักกว่าตลาด ซึ่งจะเห็นว่ามีหุ้นที่ปรับลงแรงๆ เกินกว่า 15% เพียง 2-3 อุตสาหกรรม คือ พลังงาน ธนาคารพาณิชย์ ที่เหลือปรับลงประมาณ 2-3% เท่านั้น ประกอบกับหุ้นกลุ่มพลังงานมีน้ำหนักในตลาดหลักทรัพย์ไทยประมาณ 20 – 30% ของตลาดหุ้นไทยทั้งหมด อีกกลุ่มคือ ธนาคารพาณิชย์ ที่ปรับลง 5-6% ดังนั้น 2 ส่วนนี้ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงไปค่อนข้างมาก ขณะที่หุ้นกลุ่มสุขภาพปรับลงไปเพียง 2-3%

นายภากรกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ยังไม่มีความจำเป็นที่จะออกมาตรการใดมาดูแลเรื่องการซื้อขาย ขณะเดียวกันสิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์กำลังพยามทำ คือ ทำงานร่วมกับกระทรวงการรลังว่าจะทำอย่างไรที่จะเกิดเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดหุ้นทซึ่งล่าสุดกระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะ ให้ กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF) (กองทุน SSF) ที่ลงทุนในหุ้น ออกมา และกระทรวงการคลังมีมาตรการช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และช่วยผู้บริโภค ส่วนตลาดหลักทรัพย์กำลังจะเร่งออกมาตราการต่างๆ เพื่อช่วยสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน