แบงก์ชาติ รับบทเงียบ ปม ม็อบราษฎร ใช้แบงก์เป็ดขัดกฎหมายหรือไม่ หลังโดนจี้ถามตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. แต่จนถึงขณะนี้ไม่มีใครตอบคำถาม
วันที่ 26 พ.ย.2563 จากกรณี นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ระบุว่า ตามที่กลุ่มคณะราษฎร หรือ ม็อบ 25 พฤศจิกา นัดรวมตัวชุมนุมกันบริเวณหน้าสำนักงานใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ถนนรัชดาภิเษก โดยมีการผลิตธนบัตร หรือ แบงค์เป็ด หรือ คูปองเป็ดเหลือง 3,000 ใบ แจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมในกิจกรรมดังกล่าว อาจจะกระทำผิดกฎหมาย
เกาะติดข่าวม็อบ กดติดตามไลน์ ข่าวสด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในกลุ่มไลน์ ที่ทางสื่อสารองค์กร ธปท. ได้เปิดไว้ให้สื่อมวลชน ฝากคำถามไปถึงผู้บริหาร ซึ่งที่ผ่านมาให้ความร่วมมือในการตอบเป็นอย่างดีนั้น โดยผู้สื่อข่าวได้สอบถามประเด็นดังกล่าวไปตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่า “แบงก์เป็ดในทางกฎหมาย สามารถทำได้หรือไม่” เนื่องจากมีการนำมาใช้แลกเปลี่ยนเสมือน ธนบัตร แต่มีการจำกัด มีมูลค่าเฉพาะพื้นที่ในการใช้ หรือ ตามความเห็น ธปท. พิจารณาว่า แบงก์เป็น เข้าข่ายเป็น การปลอมแปลงธนบัตร หรือไม่อย่างไรนั้น
แต่ปรากฏว่า จนถึงเวลา 12.30 น.ของวันที่ 26 พ.ย. ไม่มีเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้บริหาร ธปท. ในฐานะกำกับดูแลเรื่องนี้ ออกมารับคำถามหรือให้ความเห็นแต่อย่างใด จึงทำให้สังคมเกิดความสับสนว่า การกระทำลักษณะนี้ ทำได้หรือไม่ หรือ ขัดกฎหมายหรือไม่
- ศรีสุวรรณบอกคูปองเป็ดเหลือง ผิดฐานปลอมเงินตรา มีโทษจำคุกตลอดชีวิต
- มาม็อบต้องอิ่ม! แจกคูปองเป็ดเหลือง 3 พันใบ ไว้เติมพลังกับซีไอเอ ใช้ได้แค่วันนี้ เผยที่มา
สำหรับแบงก์เป็ด มีลักษณะคล้ายคูปองเป็ดเหลือง มีมูลค่าใบละ 10 บาท หน้าคูปองประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย, ลูกชิ้นทอดนกพิราบขาว, หมุดราษฎร และเป็ดยาง โดยสามารถใช้ได้เฉพาะวันที่ 25 พ.ย.2563 และใช้ได้กับร้านค้าที่ร่วมรายการประมาณ 10 ร้านเท่านั้น
โดย นายศรีสุวรรณ ระบุว่า การผลิต การจ่ายแจก หรือนำออกมาใช้ ซึ่งธนบัตรเป็ดดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งผู้ผลิต ผู้จ่ายแจก ผู้นำไปใช้ และร้านค้าผู้รับธนบัตรดังกล่าว เนื่องจากประเทศไทยมีกฎหมายที่ควบคุมเรื่องดังกล่าวไว้ คือ พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501
เช่น ในมาตรา 9 ได้บัญญัติไว้ว่า ห้ามผู้ใดทำ จำหน่าย ใช้หรือนำออกใช้ซึ่งวัตถุหรือเครื่องหมายใดๆ แทนเงินตรา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมีการดำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ คือ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น