เปิดแผนกก.อ้อยและน้ำตาล

ส่งเสริมชาวไร่ชูแก้PM2.5

เปิดแผนกก.อ้อย – เปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2563/64 อย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 10 ..2563 ที่ผ่านมา

นับเป็นปีแห่งการรณรงค์ตัดอ้อยสดลดการเผาอ้อยเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (พีเอ็ม 2.5) ที่กำลังวิกฤตในไทย

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ตั้งเป้าหมายฤดูการผลิตปี 2563/64 นี้จะมีปริมาณอ้อยสดเข้าหีบตลอดระยะเวลาเปิดหีบอ้อยประมาณ 100 วัน ไม่น้อยกว่า 80% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด

ที่ปีนี้คาดว่าจะมีปริมาณอยู่ที่ 67.04 ล้านตัน น้อยกว่าปี ที่ผ่านมามี 75 ล้านตัน

สำนักงาน กอน. เตรียมมาตรการจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยหันมาตัดอ้อยสดก่อนส่งโรงงาน

ทั้งในเรื่องของการส่งเสริมให้ราคาอ้อยสดสูงกว่าอ้อยไฟไหม้ การสนับสนุนเครื่องสางใบอ้อยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยยืมฟรี และในกรณีมีนโยบายการช่วยเหลือจากภาครัฐ จะช่วยเหลือเฉพาะเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังกำชับและคาดโทษแก่คณะทำงานควบคุมการผลิตประจำโรงงาน ให้ตรวจสอบอ้อยเข้าหีบว่าเป็นอ้อยสดหรืออ้อยไฟไหม้ โดยใช้เกณฑ์ตัดสินว่าหากมีอ้อยไฟไหม้แม้เพียงลำเดียว ให้ถือว่าเป็นอ้อยไฟไหม้ทั้งคัน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหามลพิษ พีเอ็ม 2.5

หากพบว่ามีการทุจริตในการตรวจสอบอ้อยสดและอ้อย ไฟไหม้ จะดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อป้องกันการร้องเรียนเรื่องอ้อยสดเทียม

นายเอกภัทรกล่าวว่า คาดแนวโน้มราคาอ้อยในฤดูการผลิตปี 2563/64 เกษตรกรชาวไร่อ้อยจะมีรายได้รวมตันละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทแน่นอน

สำหรับนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ในปี 2564 ที่จะทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีความมั่นคง มีรายได้ที่เพียงพอไม่เป็นภาระของรัฐบาล

สอน.ได้เตรียมความพร้อมและแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย ประกอบด้วย

1.การนำอ้อยไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อการเพิ่มมูลค่า และการแบ่งปันผลประโยชน์ เนื่องจากพระราชบัญญัติ (...) อ้อยและน้ำตาลทราย พ..2527 ยังไม่สามารถนำน้ำอ้อยไปผลิตสินค้าอื่นที่ไม่ใช่น้ำตาลทรายได้

ปรับปรุงประกาศสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เรื่อง กำหนดชนิดและคุณภาพน้ำตาลทรายที่ให้โรงงานผลิต พ..2562 ลงวันที่ 25 ..2562 ให้สามารถต่อยอดนำน้ำเชื่อมความ เข้มข้นต่ำที่ผ่านการต้มระเหย (Evaporation) ที่ค่าความเข้มข้นของแข็งที่ละลาย (%Brix) ไม่น้อยกว่า 20% เป็นวัตถุดิบผลิตเอทานอลได้

ในปี 2563 มีโรงงานที่ขออนุญาตจำหน่ายน้ำเชื่อมเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล 175,462 ตัน สามารถรองรับการผลิตเอทานอลได้ประมาณ 34.9 ล้านลิตร และในปี 2564 คาดว่าจะมีการใช้น้ำเชื่อมความเข้มข้นต่ำเป็นวัตถุดิบผลิตเอทานอลประมาณ 500,000 ตัน คาดว่าจะผลิตเอทานอลได้ประมาณ 100 ล้านลิตร

2. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพในกลุ่มพลาสติกชีวภาพ, เคมีชีวภาพ และเวชภัณฑ์ชีวภาพ/เครื่องสำอาง และเชื้อเพลิงชีวภาพ และผลักดันให้มีการนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์รวมถึงการพัฒนาบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ

3.จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพที่ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ ปีงบประมาณ พ..2563-2565 จำนวน 70.40 ล้านบาท ก่อสร้างอาคาร คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2565

หากต้องการให้เกษตรกรมีความมั่นคงในอาชีพในระยะยาว จำเป็นต้องมีการหารือร่วมกันระหว่างโรงงานและชาวไร่อ้อยในการแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อให้สามารถนำน้ำอ้อยไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่น และนำผลพลอยได้อื่นนอกจากกากน้ำตาลมาเข้าสู่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับชาวไร่อ้อยต่อไป

นอกจากนี้ สอน.ยังเตรียมความพร้อมและแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้แก่ชาวไร่อ้อย โดย 1.การนำใบอ้อยและยอดอ้อยที่เกิดจากนโยบายการตัดอ้อยสดนำส่งให้กับโรงงานเพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถจำหน่ายใบอ้อยและยอดอ้อยให้แก่โรงงานได้ในราคาตันละ 800-1,000 บาท

เมื่อหักค่าใช้จ่ายใน 1 ไร่ จะมีใบอ้อยที่ขายได้ประมาณ 1 ตัน ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายใบอ้อยเพิ่มขึ้นอีกไร่ละ 500 บาท หากคิดพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกอ้อยได้ 10 ตัน จะทำให้ได้ราคาอ้อยเพิ่มอีกตันละ 50 บาท

สอน. ยังจัดตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ใบอ้อย และยอดอ้อยในการผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ชีวมวลอื่น เช่น แผ่นกั้นเสียง และอาหารสัตว์ เป็นต้นจะเป็นแนวทางเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยอีกทางหนึ่ง

ปรับโครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยการส่งเสริมให้มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมชีวภาพอย่างจริงจัง เช่น การลงทุนสร้างไบโอคอมเพล็กซ์ที่ จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเอทานอลจากอ้อย และการส่งเสริมให้นำน้ำตาลชนิดต่างๆ ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพในรูปแบบต่างๆ เช่น กรดแลกติก พลาสติกชีวภาพ

ปัจจุบันมีผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมนี้แล้วมากกว่า 40,000 ล้านบาท มีการใช้น้ำตาลในประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 300,000 ตัน และคาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นการลดการพึ่งพาการส่งออกน้ำตาลทราย และส่งผลต่อการกดดันราคาน้ำตาลในตลาดโลกให้เพิ่มสูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่องอีกทางหนึ่งด้วย

ส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตตันต่อไร่ด้วยการแจกจ่ายอ้อยพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกรที่ตอบสนองในเรื่องผลผลิต ต่อไร่ และคุณภาพความหวานให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เป็นต้นกล้าอ้อย 1.8 ล้านต้นกล้า และท่อนพันธุ์ไม่น้อยกว่าปีละ 3,000 ตัน

ส่งเสริมชาวไร่อ้อยทำเกษตรแปลงใหญ่ รองรับเครื่องจักรกลการเกษตรและการใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยว ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถลดต้นทุนการผลิต ตัดอ้อยได้ทันภายในฤดู เก็บเกี่ยวและลดการเผาอ้อย

การรวมกลุ่มโดยมีเกษตรกรหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยที่มีความพร้อมในเรื่องรถแทรกเตอร์รถตัดอ้อยรถบรรทุกอ้อยช่วยบริหารจัดการตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมแปลงการปลูกอ้อยการบำรุงรักษาระหว่างปลูกการเก็บเกี่ยวการตัดอ้อยและบรรทุกเข้าสู่โรงงาน

การสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตรภายใต้โครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ปีงบประมาณ 2562-2564 วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท

มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย จัดซื้อรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถแทรกเตอร์ รถบรรทุกอ้อย และเครื่องจักรกลการเกษตรอื่นๆ โดยผู้กู้รายบุคคล คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7% ต่อปี ผู้กู้จ่ายอัตรา 2% ต่อปี รัฐบาลชดเชย 3% ต่อปี และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) รับภาระ 2% ต่อปี

ผู้กู้กลุ่มเกษตรกร/สถาบัน คิดดอกเบี้ย 5% ต่อปี ผู้กู้จ่ายในอัตรา 2% ต่อปี รัฐบาลชดเชย 2% ต่อปี และธ...รับภาระ 1% ต่อปี ณ วันที่ 30 ..2563 ให้สินเชื่อกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยไปแล้ว ทั้งสิ้นจำนวน 1,047 ราย เป็นเงิน 2,410.66 ล้านบาท คงเหลือวงเงินให้กู้ในปี 2564 ประมาณ 3,589.34 ล้านบาท จากกรอบวงเงิน 6,000 ล้านบาท

ถือเป็นมิติใหม่ของชาวไร่อ้อยที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นไปพร้อมกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน